บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   น่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฏก   พระสุตตันตปิฏก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฏก ๔๕ เล่ม   คำค้นหาพระไตรปิฎก  ชาดก  ธรรมปฏิบัติ  



ข้อความน่ารู้
จาก
พระไตรปิฎก

อะไรเป็นแก่นสาร

ส่วนแห่งความรู้

ฐานะ ๕

เงื่อนไขแก่ภิกษุณี

อาสวะที่พึงละ

การรักษาสาธารณสมบัติ

อานาปานาสติ

ถามตอบธรรม

ความทุกข์ของสตรี

วิชาดูดาว

การทำให้สุข

 

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก

เรื่องของสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
(อานาปานสติ)

๑๘๐. กายไม่หวั่นไหว จิตไม่หวั่นไหว

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอบรมทำให้มากซึ่งสมาธิ มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ (อานาปานสติสมาธิ) กายย่อมไม่หวั่นไหว จิตย่อมไม่หวั่นไหว."

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๐๐

๑๘๑. เมื่อก่อนตรัสรู้ ทรงเจริญอานาปานสติมาก

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตัวเรา ในสมัยก่อนจะตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ ก็อยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) นี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายของเราก็ไม่ลำบาก ตาของเราก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็พ้นจากอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน) ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า กายของเราไม่พึงลำบาก ตาของเราไม่พึงลำบาก จิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เธอก็พึงทำไว้ในใจซึ่งสมาธิอันมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์นี้ให้ดี."

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๐๑

๑๘๒. เมื่อตรัสรู้แล้ว ทรงอยู่ด้วยอานาปานสติโดยมาก

              ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอออกจากที่เร้น (ในป่าอิจฉานังคละ) เมื่อล่วงเวลา ๓ เดือนแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชเจ้าลัทธิอื่น พึงถามอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก ท่านทั้งหลายพึงตอบว่า พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิ มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ (อานาปานสติสมาธิ) โดยมาก."

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๒

๑๘๓. อริยวิหาร, พรหมวิหาร, ตถาคตวิหาร

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกล่าวถึงธรรมใด ๆ โดยชอบ พึงกล่าวว่า อริยวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า) บ้าง พรหมวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม) บ้าง ตถาคตวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคต) บ้าง. ผู้นันเมื่อกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิโดยชอบ ก็พึงกล่าวว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสกขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ยังมิได้บรรลุอรหัตตผล เมื่อปรารถนาธรรมอันยอดเยี่ยม อันปลอดโปร่งจากโยคะ (เครื่องผูกมัด) อยู่ สมาธิที่มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ อันภิกษุเหล่านันเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน)."

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓

๑๘๔. พระอรหันต์เจริญอานาปานสติทำไม ?

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ." อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีสิ่งควรทำอันได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีประโยชน์ส่วนตนอันได้บรรลุแล้ว สิ้นกิเลสเป็นเหตุมัดไว้ในภพแล้ว พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ."

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓

๑๘๕. เจริญธรรมอย่างเดียว ชื่อว่าเจริญธรรมอย่างอื่นอีกมาก

              "ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คืออานาปานสติสมาธิ (สมาธิ ซึ่งมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์) อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน (การตั้งสติ) ๔ อย่างให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำให้โพชฌงค์ (องค์ประกอบแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้) ๗ อย่างให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชา (ความรู้) วิมุติ (ความหลุดพ้น) ให้บริบูรณ์."

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๗


๑. อญฺญติตฺถิยา ปริพฺพาชกา
๒. ขีณาสพมากจากคำว่า ขีณ+อาสวะ แปลว่า สิ้นกิเลสที่ดองสันดานแล้ว

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   น่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฏก   พระสุตตันตปิฏก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฏก ๔๕ เล่ม   คำค้นหาพระไตรปิฎก  ชาดก  ธรรมปฏิบัติ