บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   น่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฏก   พระสุตตันตปิฏก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฏก ๔๕ เล่ม   คำค้นหาพระไตรปิฎก  ชาดก  ธรรมปฏิบัติ  



ข้อความน่ารู้
จาก
พระไตรปิฎก

อะไรเป็นแก่นสาร

ส่วนแห่งความรู้

ฐานะ ๕

เงื่อนไขแก่ภิกษุณี

อาสวะที่พึงละ

การรักษาสาธารณสมบัติ

อานาปานาสติ

ถามตอบธรรม

ความทุกข์ของสตรี

วิชาดูดาว

การทำให้สุข

 

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก

๑๙๒. เหตุ ๙ มีอะไรบ้าง ?

              เหตุ ๙ คือเหตุที่เป็นกุศล (ฝ่ายดี) ๓ ; เหตุที่เป็นอกุศล (ฝ่ายชั่ว) ๓ ; เหตุที่เป็นอัพยากฤต (ไม่ชี้ลงไปว่าดีหรือชั่ว) ๓ คือ

              ก. เหตุทื่เป็นกุศล (ฝ่ายดี) ๓
              ๑. อโลภะ ความไม่โลภ
              ๒. อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย
              ๓. อโมหะ ความไม่หลง

        ข. เหตุที่เป็นอกุศล (ฝ่ายชั่ว) ๓
              ๑. โลภะ ความโลภ
              ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
              ๓. โมหะ ความหลง

        ค. เหตุที่เป็นอัพยากฤต (ไม่ชี้ลงไปว่าดีหรือชั่ว) ๓
             ๑. อโลภะ
             ๒. อโทสะ
             ๓. อโมหะ
} ซึ่งเกิดจากวิบากคือผลของกุศลธรม
หรือซึ่งเกิดในอัพยากฤตธรรมที่เป็นกิริยา

              นี้เรียกว่าเหตุ ๙.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓

๑๙๓. อาหาร ๔ มีอะไรบ้าง ?

              อาหาร ๔ คือ

              ๑. อาหารเป็นคำ ๆ (กวฬิงการาหาร อาหารที่รับประทานทั่วไป)
              ๒. อาหารคือผัสสะ (ผัสสาหาร อาหารคือการถูกต้องทางตา หู เป็นต้น เช่น อาหารตา อาหารหู ฯลฯ)
              ๓. อาหารคือความจงใจ (มโนสัญเจตนาหาร ความจงใจทำกรรมดีกรรมชั่ว ย่อมเป็นอาหารหล่อเลี้ยงให้เวียนว่ายตายเกิด)
              ๔. อาหารคือวิญญาณ (วิญญาณาหาร หมายถึงความรู้อารมณ์ว่า เห็นรูป ฟังเสียง เป็นต้น)
              นี้เรียกว่าอาหาร ๔.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓

๑๙๔. ผัสสะ (ความถูกต้อง) ๗ มีอะไรบ้าง ?

              ผัสสะ (ความถูกต้อง) ๗ คือ

              ๑. ความถูกต้องทางตา (จักขุสัมผัส)

              ๒. ความถูกต้องทางหู (โสตสัมผัส)

              ๓. ความถูกต้องทางจมูก (ฆานสัมผัส)

              ๔. ความถูกต้องทางลิ้น (ชิวหาสัมผัส)

              ๕. ความถูกต้องทางกาย (กายสัมผัส)

              ๖. ความถูกต้องทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัส)

              ๗. ความถูกต้องทางธาตุคือความรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัส)

              นี้เรียกว่าผัสสะ ๗.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓

๑๙๕. เวทนา (ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ) ๗ มีอะไรบ้าง ?

              ๑. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางตา (จักขุสัมผัสสชา เวทนา)
              ๒. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางหู (โสตสัมผัสสชา เวทนา)
              ๓. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางจมูก (ฆานสัมผัสสชา เวทนา)
              ๔. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น (ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา)
              ๕. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางกาย (กายสัมผัสสชา เวทนา)
              ๖. ความรู้สึกสุขทกุข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัสสชา เวทนา)
              ๗. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือความรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา เวทนา)
              นี้เรียกว่าเรียกว่า เวทนา ๗.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓

๑๙๖. สัญญา (ความจำ) ๗ มีอะไรบ้าง ?

              สัญญา (ความจำ) ๗ คือ
              ๑. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางตา (จักขุสัมผัสสชา สัญญา)
              ๒. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางหู (โสตสัมผัสสชา สัญญา)
              ๓. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก (ฆานสัมผัสสชา สัญญา)
              ๔. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น (ชิวหาสัมผัสสชา สัญญา)
              ๕. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางกาย (กายสัมผัสสชา สัญญา)
              ๖. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัสสชา สัญญา)
              ๗. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา สัญญา)
              นี้เรียกว่าสัญญา ๗.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔

๑๙๗. เจตนา (ความจงใจ) ๗ มีอะไรบ้าง ?

              เจตนา (ความจงใจ) ๗ คือ
              ๑. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางตา (จักขุสัมผัสสชา เจตนา)
              ๒. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางหู (โสตสัมผัสสชา เจตนา)
              ๓. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก (ฆานสัมผัสสชา เจตนา)
              ๔. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น (ชิวหาสัมผัสสชา เจตนา)
              ๕. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางกาย (กายสัมผัสสชา เจตนา)
              ๖. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัสสชา เจตนา)
              ๗. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา เจตนา)
              นี้เรียกว่าเจตนา ๗.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔

๑๙๘. จิต ๗ มีอะไรบ้าง ?

              จิต ๗ คือ
              ๑. ความรู้อารมณ์ทางตา (จักขุวิญญาณ)
              ๒. ความรู้อารมณ์ทางหู (โสตวิญญาณ)
              ๓. ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ฆานวิญญาณ)
              ๔. ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณ)
              ๕. ความรู้อารมณ์ทางกาย (กายวิญญาณ)
              ๖. ธาตุคือใจ (มโนธาตุ)
              นี้เรียกว่าจิต ๗.

วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔

              (หมายเหตุ : การแบ่งจำนวนหรือหัวข้อธรรมะที่นำมาแปลนี้ เป็นวิธีจัดจำนวนโดยนัยหนึ่งของอภิธัมมปิฎก ในที่อื่นอาจะแบ่งหรือจัดจำนวนแตกต่างออกไปตามความประสงค์ในการแสดงธรรมให้เหมาะสมแก่โอกาสที่ต้องการ)


๑. พึงสังเกตว่า ผัสสะ หรือสัมผัส ใช้แทนกันได้

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   น่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฏก   พระสุตตันตปิฏก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฏก ๔๕ เล่ม   คำค้นหาพระไตรปิฎก  ชาดก  ธรรมปฏิบัติ