บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑. นิสสัคคิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยจีวร
...๒.ว่าด้วยไหม
...๓.ว่าด้วยบาตร

๒.ปาจิตติยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยการพูดปด
...๒.ว่าด้วยพืชพันธุ์ไม้
...๓.ว่าด้วยการให้โอวาท
...๔.ว่าด้วยการฉันอาหาร
...๕.ว่าด้วยชีเปลือย
...๖.ว่าด้วยการดื่มสุรา
...๗.ว่าด้วยสัตว์มีชีวิต
...๘.ว่าด้วยว่ากล่าวถูกต้อง
...๙.ว่าด้วยนางแก้ว

๓.ปาฏิเทสนียกัณฑ์

๔.เสขิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยความเหมาะสม
...๒.ว่าด้วยการฉันอาหาร
...๓.ว่าด้วยการแสดงธรรม
...๔.หมวดเบ็ดเตล็ด

 

              ๗. สัปปาณกวรรค วรรคว่าด้วยสัตว์มีชีวิต เป็นวรรคที่ ๗ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฆ่าสัตว์)

              พระอุทายีเกลียดกา จึงยิงกา ตัดศีรษะเสียบไว้ในหลาว พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจงใจฆ่าสัตว์ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๒ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์)

              ภิกษุพวก ๖ รู้อยู่ ใช้น้ำมีตัวสัตว์ เป็นที่ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ใช้น้ำมีตัวสัตว์ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๓ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว)

              ภิกษุพวก ๖ รู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระถูกต้องตามธรรมแล้ว เพื่อให้ชำระใหม่ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ รื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ชำระถูกต้องตามธรรมแล้ว เพื่อให้ชำระใหม่ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๔ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วบอกกับภิกษุอื่นขอให้ช่วยปกปิดด้วย ภิกษุนั้นก็ช่วยปกปิด พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๕ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐)

              ภิกษุทั้งหลายให้เด็ก ๆ บรรพชาอุปสมบท เด็ก ๆ เหล่านั้น ลุกขึ้นร้องไห้ขออาหารกินในเวลากลางคืน เพราะทนหิวไม่ไหว พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ให้บุคคลมีอายุต่ำกว่า ๒๐ อุปสมบท ผู้นั้นไม่เป็นอันอุปสมบท ภิกษุทั้งหลาย (ที่นั่งเป็นพยาน) ต้องถูกติเตียน และในข้อนั้น ภิกษุ (ผู้เป็นอุปัชฌายะให้บวช) ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน)

              ภิกษุรูปหนึ่งรู้อยู่ ชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ชวนพ่อค้าผู้หนีภาษี ชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางไกลร่วมกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๗ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน)

              ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางในโกศลชนบท จะไปสู่กรุงสาวัตถี ถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง สตรีคนหนึ่งทะเลาะกับสามีขอเดินทางร่วมไปกับภิกษุนั้นด้วย สามีติดตามทำร้ายภิกษุ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุชวนผู้หญิงเดินทางไกลร่วมกัน แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๘ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย)

              ภิกษุอริฏฐะผู้เคยฆ่าแร้งมาก่อน มีความเห็นผิด กล่าวตู่พระธรรมวินัย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า เมื่อมีภิกษุกล่าวตู่พระธรรมวินัย ภิกษุทั้งหลายพึงห้ามปราม ถ้าไม่เชื่อฟังสงฆ์พึงสวดประกาศ เพื่อให้เธอละเลิกเสีย สวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่เชื่อฟัง ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๙ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ยังคบหาพระอริฏฐะผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย ผู้ยังไม่ยอมละทิ้งความเห็นผิดนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามคบ ห้ามอยู่ร่วม ห้ามนอนร่วมกับภิกษุเช่นนั้น ทรงปรับอาบัติปาจีตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.

สิกขาบทที่ ๑๐ สัปปาณกวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย)

              สามเณรชื่อกัณฑกะ มีความเห็นผิด กล่าวตู่พระธรรมวินัย สงฆ์จึงขับเสียจากหมู่ ภิกษุฉัพพัคคีย์กลับคบหา พูดจา ร่วมกินร่วมนอนกับสามเณรนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามพูดด้วย ห้ามใช้สอย ห้ามใช้ของร่วม หรือนอนร่วมกับสามเณรเช่นนั้น ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด.


๑. คำว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ กับคำว่า ภิกษุพวก ๖ ใช้หมายความอย่างเดียวกันในหนังสือนี้
๒. ศัพท์บาลีว่า สมฺภุญฺเชยฺย มีคำอธิบายในท้ายสิกขาบทว่า การร่วมใช้อามิส เช่น ให้อามิส หรือรับของกับอีกอย่างหนึ่ง การใช้ธรรมร่วม เช่น แสดงธรรมหรือให้แสดงธรรมร่วมกันโดยบท โดยอักขระ

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ