บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑. นิสสัคคิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยจีวร
...๒.ว่าด้วยไหม
...๓.ว่าด้วยบาตร

๒.ปาจิตติยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยการพูดปด
...๒.ว่าด้วยพืชพันธุ์ไม้
...๓.ว่าด้วยการให้โอวาท
...๔.ว่าด้วยการฉันอาหาร
...๕.ว่าด้วยชีเปลือย
...๖.ว่าด้วยการดื่มสุรา
...๗.ว่าด้วยสัตว์มีชีวิต
...๘.ว่าด้วยว่ากล่าวถูกต้อง
...๙.ว่าด้วยนางแก้ว

๓.ปาฏิเทสนียกัณฑ์

๔.เสขิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยความเหมาะสม
...๒.ว่าด้วยการฉันอาหาร
...๓.ว่าด้วยการแสดงธรรม
...๔.หมวดเบ็ดเตล็ด

 

๓. ปัตตวรรค วรรคว่าด้วยบาตร เป็นวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามเก็บบาตรเกิน ๑ ลูกไว้เกิน ๑๐ วัน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์สะสมบาตรไว้เป็นอันมาก ถูกมนุษย์ติเตียนว่าเป็นพ่อค้าบาตร พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเก็บบาตรอติเรก (คือที่เกิน ๑ ลูก ซึ่งเกินจำเป็นสำหรับใช้เป็นประจำ) ไว้เกิน ๑๐ วัน ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๒ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามขอบาตรเมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง)

              ช่างหม้อปวารณาให้ภิกษุทั้งหลายขอบาตรได้ แต่ภิกษุทั้งหลายขอเกินประมาณ จนเขาเดือดร้อน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุขอบาตร ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภายหลังมีเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงผ่อนผันให้ขอได้ ในเมื่อบาตรหาย หรือบาตรแตก หรือบาตรเป็นแผลเกิน ๕ แห่ง.

สิกขาบทที่ ๓ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามเก็บเภสัช ๕ ไว้เกิน ๗ วัน)

              มีผู้ถวายเภสัช ๕ สำหรับคนไข้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แก่พระปิลินทวัจฉะ ท่านก็แบ่งให้บริษัทของท่าน (ซึ่งเป็นภิกษุ). ภิกษุเหล่านั้นเก็บไว้ในที่ต่าง ๆ เภสัชก็ไหลเยิ้มเลอะเทอะวิหารก็มากไปด้วยหนู. คนทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้เก็บเภสัช ๕ ไว้บริโภคได้ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าเกิน ๗ วัน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์

สิกขาบทที่ ๔ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามแสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนเกินกำหนด)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝน จึงแสวงหาและทำนุ่ง ก่อนเวลา (จะถึงหน้าฝน) ต่อมาผ้าเก่าชำรุด เลยต้องเปลือยกายอาบน้ำฝน พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ภายใน ๑ เดือนก่อนฤดูฝน ให้ทำนุ่งได้ภายใน ๑๕ วันก่อนฤดูฝน ถ้าแสวงหาหรือทำก่อนกำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๕ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ให้จีวรภิกษุอื่นแล้ว ห้ามชิงคืนในภายหลัง)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร ชวนภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปชนบท เธอว่าจีวรชำรุดมาก เธอไม่ไปพระอุปนนทะจึงให้จีวรใหม่ ภายหลังภิกษุนั้นปลี่ยนใจจะตามเสด็จพระผู้มีพระภาค พระอุปนนทะโกรธ จึงชิงจีวรคืนมา พระผู้พระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว โกรธ ไม่พอใจ ชิงคืนเองหรือใช้ให้ชิงคืนมา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์เที่ยวขอด้ายเขามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ด้วยเหลือก็ไปขอเขาเพิ่ม ให้ช่างหูกทอเป็นจึวรอีก ด้ายเหลืออีก ก็ไปขอด้ายเขาสมทบ เอาไปให้ช่างหูกทอเป็นจีวรอีก รวม ๓ ครั้ง คนทั้งหลายพากันติเตียน พระผู้พระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุขอด้ายเขาด้วยตนเอง เอามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๗ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามไปกำหนดให้ช่างหูกทอให้ดีขึ้น)

              พระอุปนนทะ ศากยบุตร ทราบว่า ชายผู้หนึ่งสั่งภริยาให้จ้างช่างหูกทอจีวรถวาย จึงไปหาช่างหูกสั่งให้เขาทอ ให้ยาว ให้กว้าง ให้แน่น เป็นต้น ด้ายที่ให้ไว้เดิมไม่พอ ช่างต้องมาขอด้ายจากหญิงนั้นไปเติมอีกเท่าตัว ชายผู้สามีทราบภายหลังจึงติเตียน พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ใจความว่า ภิกษุที่เขามิได้ปวารณาไว้ก่อน ไปหาช่างหูให้ทออย่างนั้นอย่างนี้ ตนจะให้รางวัลบ้าง ครั้นพูดกับเขาแล้ว ให้แม้ของเพียงเล็กน้อยสักว่าบิณฑบาต ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๘ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามเก็บผ้าจำนำพรรษไว้เกินกำหนด)

              พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ให้รับผ้าจำนำพรรษา (ที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษา ก่อนออกพรรษา) แล้วเก็บไว้ได้. แต่ภิกษุบางรูปเก็บไว้เกินเขตจีวรกาล พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้รับผ้าจำนำพรรษาได้ก่อนออกพรรษา ๑๐ วัน แต่ให้เก็บไว้เพียงตลอดกาลจีวร เก็บเกินกำหนดนั้น ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๙ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน)

              ภิกษุจำพรรษาแล้ว อยู่ในเสนาสนะป่า พวกโจรรู้ว่ามีจีวร ก็เข้าแย่ง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้านได้. ภิกษุจึงเก็บไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน จีวรหายบ้าง หนูกัดบ้าง จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้ภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้านได้. แต่จะอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ไม่เกิน ๖ คืน ถ้าเกินไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ (คือสงฆ์ประชุมกันสวดประกาศเป็นกรณีพิเศษ).

สิกขาบทที่ ๑๐ ปัตตวรรค ในนิสสัคคิยกัณฑ์

(ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ไปพูดกับคณะบุคคล ซึ่งเตรียมอาหารและจีวรไว้ถวายแก่สงฆ์ เพื่อให้เขาถวายแก่ตน เขาถูกรบเร้าหนัก ก็เลยถวายไป ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.


๑. ถ้าจำพรรษาครบ ๓ เดือน เก็บได้หลังจากออกพรรษา ๑ เดือน ถ้าได้กราลกฐิน เก็บต่อได้อีก ๔ เดือน จึงเป็น ๕ เดือน

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ