บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑. นิสสัคคิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยจีวร
...๒.ว่าด้วยไหม
...๓.ว่าด้วยบาตร

๒.ปาจิตติยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยการพูดปด
...๒.ว่าด้วยพืชพันธุ์ไม้
...๓.ว่าด้วยการให้โอวาท
...๔.ว่าด้วยการฉันอาหาร
...๕.ว่าด้วยชีเปลือย
...๖.ว่าด้วยการดื่มสุรา
...๗.ว่าด้วยสัตว์มีชีวิต
...๘.ว่าด้วยว่ากล่าวถูกต้อง
...๙.ว่าด้วยนางแก้ว

๓.ปาฏิเทสนียกัณฑ์

๔.เสขิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยความเหมาะสม
...๒.ว่าด้วยการฉันอาหาร
...๓.ว่าด้วยการแสดงธรรม
...๔.หมวดเบ็ดเตล็ด

 

              ๓. โอวาทวรรค วรรคว่าด้วยการให้โอวาท เป็นวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท คือ

สิกขาบทที่ ๑ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์เห็นภิกษุอื่น ๆ สอนนางภิกษีณีแล้วได้ของถวายต่าง ๆ อยากจะมีลาภบ้าง จึงแจ้งความประสงค์แก่นางภิกษุณีทั้งหลาย เมื่อนางภิกษุณีไปสดับโอวาทก็สอนเพียงเล็กน้อย แล้วชวนสนทนาเรื่องไร้สาระโดยมาก พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุที่ไม่ได้รับสมมุติจากสงฆ์ สอนนางภิกษุณีต้องปาจิตตีย์. ภายหลังภิกษุฉัพพัคคีย์หาทางสมมติกันเองในที่นอกสีมา (เพราะจำนวน ๖ รูป พอที่จะเป็นจำนวนสงฆ์) พระผู้มีพระภาคจึงทรงกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมสำหรับภิกษุที่จะสอนนางภิกษุณีถึง ๘ ข้อ โดยกำหนดให้มีพรรษาถึง ๒๐ หรือเกินกว่าเป็นข้อสุดท้าย.

สิกขาบทที่ ๒ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว)

              พระจูฬปันถกสอนนางภิกษุณีจนค่ำ มนุษย์ทั้งหลายติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า เมื่ออาทิตย์ตกแล้ว ภิกษุสอนนางภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๓ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่ นางภิกษุณีทั้งหลายติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่ ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงผ่อนผันให้เมื่อนางภิกษุณีเจ็บไข้.

สิกขาบทที่ ๔ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสนอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พระเถระทั้งหลายสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุพูดว่า ภิกษุทั้งหลายสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส ต้องปาจิตตีย์ (ห้ามประจานกันเอง แม้เห็นแก่อามิสจริง ถ้าเที่ยวพูดไป ก็ต้องอาบัติทุกกฏ).

สิกขาบทที่ ๕ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ)

              ภิกษุรูปหนึ่งให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ)

              พระอุทายีเย็บจีวรให้นางภิกษุณี มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเย็บเอง หรือใช้ผู้อื่นให้เย็บจีวร เพื่อให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๗ โอวาทวรรค ในปาจิตตียกัณฑ์

(ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ชวนนางภิกษุณีเดินทางไกลร่วมกัน มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุชวนนางภิกษุณีเดินทางไกลร่วมกัน แม้ชั่วระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังผ่อนผันให้เดินทางร่วมกันได้ เมื่อทางนั้นมีภัย ต้องไปเป็นคณะ.

สิกขาบทที่ ๘ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางร่วมเรือร่วมกัน)

              ภิกษุฉัพพัคคีย์ชวนนางภิกษุณีไปในเรือลำเดียวกัน มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุชวนนางภิกษุณีลงเรือลำเดียวกันขึ้นหรือล่อง ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงผ่อนผันให้ข้ามฟากได้.

สิกขาบทที่ ๙ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีเที่ยวไปสู่ตระกูล แนะนำให้เขาถวายอาหารแก่พระเทวทัตกับพวก มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่นางภิกษุณีแนะให้เขาถวาย ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงผ่อนผันให้ ว่าถ้าคฤหัสถ์เขาเริ่มไว้เองก่อน ฉันได้.

สิกขาบทที่ ๑๐ โอวาทวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับนางภิกษุณี)

              พระอุทายีนั่งในที่ลับสองต่อสองกับนางภิกษุณีผู้เป็นอดีตภริยาของตนเสมอ มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์.


๑. สตฺถคมนีโย แปลได้สองอย่าง คือเป็นทางที่ต้องไปด้วยหมู่เกวียน ซึ่งถือเอาความว่า ต้องไปเป็นคณะอีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ต้องไปด้วยศัสตรา คือต้องมีศัสตราวุธ

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ