พระมโหสถ ๒

 
  
เรื่องเนี้อ

      วันหนึ่งเจ้ามโหสถกำลังเล่นอยู่ในสนามกับเด็ก ๆ ด้วยกัน เผอิญเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบชิ้นเนื้อที่เขาวางไว้ที่เขียงแล้วบินผ่านมา ด้วยความคะนองเด็ก ๆ ก็อยากได้เนื้อนั้น แม้ว่าจะทำอะไรไม่ได้ ก็พากันโห่ร้องวิ่งตามเหยี่ยวหกล้มหกลุกไปตาม ๆ กันได้แผลแต่ไม่ได้เนื้อ ได้แต่ความฟกช้ำดำดำเขียว หัวโน แขนเคล็ดไปตาม ๆ กัน เจ้ามโหสถจึงได้ไล่เหยี่ยวไปด้วยกำลังเร็ว และตวาดเสียงดัง เหยี่ยวตกใจก็เลยปล่อยชิ้นเนื้อลงมา เด็ก ๆ พากันชอบใจ ราชบุรุษก็เอาความเป็นไป ไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช ได้ถูกเสนกะคัดค้านอย่างเดิมอีก จึงได้ให้ราชบุรุษสะกดรอยคอยดูเหตุการณ์ต่อไป
 
  
เรื่องวัว

      ชายชาวนานำโคไปเลี้ยงในทุ่งนา ปล่อยให้โคกินหญ้าตามสบาย ตัวเองหลบเข้ามานอนอยู่ใต้ต้นไม้ เผอิญหลับไป ชายคนหนึ่งเดินมาพบโคไม่ไม่มีเจ้าของกำลังกินหญ้าอยู่ก็จูงโคออกเดินไป ชายชาวนาลุกขึ้นมาไม่เห็นโคก็ออกเดินตามพบโจรนั้นกำลังจูงโคไปอยู่ จึงเข้ายื้อแย่งและว่าเป็นของตน แต่โจรไม่ยินยอมให้ อ้างว่าเป็นของตนเช่นกัน ต่างคนก็ยื้อแย่งและทุ่มเถียงกันไปมาไม่เป็นที่ตกลงกัน เลยต้องพากันหามโหสถ ณ ศาลาเด็กเล่น เพื่อให้ตัดสิน

   มโหสถจึงถามชายทั้งสองถึงความเป็นมาของโค ชายเจ้าของกล่าวว่า “นาย....โคผมซื่อมาจากบ้านโน้น มีคนรู้เห็นเป็นพยายนำไปไว้ที่บ้านแล้วนำไปเลี้ยงที่ทุ่งนา เผอิญหลับไป ชายคนนี้จึงมาลักไป”

   ชายคนนั้นกล่าวว่า “นายอย่าไปเชื่อเขา ไม่เป็นความจริงเช่นนั้น เพราะว่าไม่โคตัวนี้เป็นลูกคอกในบ้านของข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้ากำลังจะนำมันไปให้ต่างบ้านของข้าพเจ้า คนนั้นโกหกหน้านายเสียแล้วล่ะ”

  “ท่านทั้งสองที่มาให้เราตัดสินนั้น ท่านจะยอมอยู่ในถ้อยคำของเราล่ะหรือ” เมื่อทั้งสองได้ให้ถ่อยคำว่าจะอยู่ในถ้อยคำแล้ว จึงให้คนทั้งสองออกไป แล้วเรียกเข้ามาถามทีละคน ครั้งแรกเรียกชายเจ้าของโคเข้ามาถามก่อนว่า
  “โคของท่านอ้วนพี ท่านเลี้ยงด้วยอะไรจึงได้อ้วนพีอย่างนี้”
   “โอ ? นาย ข้าพเจ้าเป็นคนจนจะไปมีอะไรให้โคกินนอกจากหญ้า ตอนเช้าข้าพเจ้าจะนำโคออกมาเลี้ยงให้กินหญ้าเท่านั้น”

   มโหสถก็ให้ชายเจ้าของออกไป แล้วเรียกคนลักโคมาถาม
   “โคตัวนี้มีลักษณะดี อ้วนงามดีเหลือเกิน ท่านคงจะให้อะไรมันกินล่ะสิ จึงได้อ้วนดีอย่างนี้”
   “โอ้? นาย ข้าพเจ้าให้โคตัวนี้กินงา กินแป้งและนมสดบ้าง หญ้าบ้าง หลายอย่างด้วยกัน”

   เท่านั้นเจ้ามโหสถก็ให้ชายผู้นั้นออกไป แล้วให้คนไปนำใบประยงค์มาผสมกันน้ำ กรอกปากโค โคก็สำรอกหญ้าออกมา เจ้ามโหสถจึงชี้ให้ประชาชนที่มาฟังดูและว่า
   “พวกท่านจงดูว่าโคสำรอกอะไรออกมา”
   “มีแต่หญ้าทั้งนั้น” ประชาชนตอบ มโหสถจึงหันไปถามคนที่ลักโคว่า
   “ท่านจะยอมรับหรือไม่ ถ้ามิฉนั้นจะต้องส่งเจ้าหน้าที่จัดการไปตามความผิด”
   " ท่านขอรับ กระผมรับผิด อย่าส่งตัวผมให้เจ้าหน้าที่เลยครับ ผมเดินทางผ่านมาเจ้าของนอนหลับอยู่ จึงจูงเอาโคตัวนี้มาเสีย ผมขอคืนให้อย่าเอาโทษกระผมเลย” มโหสถ จึงสั่งสอนให้ประพฤติอยู่ในศีลธรรม และปล่อยตัวไป พร้อมกับคืนโคให้เจ้าของไปด้วย

   ราชบุรุษได้ติดตามดูพฤติการณ์ตั้งแต่ต้นจนสุดท้าย และได้นำเอาความนั้นไปกราบทูลจอมคนแห่งเทวิรัฐ
   “ควรจะรับเจ้ามโหสถมาได้หรือยัง” ทรงตรัสถามเสนกะ
   “อย่าเพิ่งก่อนพระเจ้าค่ะ เพราะแสดงปัญญาเพียงเท่านั้นยังไม่พอจะเป็นบัณฑิตได้ ดูไปก่อนอีกสักหน่อย คำโบราณ ช้าเป็นการนานเป็นคุณพระเจ้าค่ะ”

   เมื่อถูกคัดค้านท้าวเธอก็ได้แต่นิ่งอึ้ง และได้สั่งให้ราชบุรุษกลับไปดูเหตุการณ์ต่อไปอีก..


 
  
เรื่องเครื่องประดับ

      หญิงยากจนคนหนึ่งเดินทางมาไกล เหนื่อยเข้าพอมาถึงสระน้ำก็จัดแจงถอดสร้อยคอที่ทำด้วยด้ายถักสีต่าง ๆ ไว้บนผ้าแล้วตัวเองก็ลงไปในสระเพื่อจะลูบตัวและล้างตา

   หญิงรุ่นคนหนึ่งแลเห็นเคื่องประดับนั้นก็เกิดความโลภอยากได้สร้อยคอคอถักสายนั้น จึงเดินเข้าไปหยิบดู และถามหญิงเจ้าของว่า
  “นี่แน่ะเธอ สร้อยคอของเธอสวยจัง ฉันอยากจะทำบ้าง ราคาสักเท่าไหร่นะ”
  “ไม่มีค่าดอกค่ะ เพราะมันเป็นด้ายถักสีต่าง ๆ เท่านั้นเหมาะสำหรับคนยากจนเท่านั้นค่ะ”
  "แต่ฉันว่ามันสวยดีน่ะ ฉันอยากจะชมสักหน่อย” แล้วเอาสร้อยนั้น สวมคอตนเองแล้วถามว่า
  “ดูสิคะ สวยไหมคะ”
  “ก็ดีเหมือนกันเหละคะ”
  “เออ..? สวยจริง ๆ แหละนะ” ว่าแล้วก็เดินหนีไปเสียเฉย ๆ พร้อมทั้งเอาสร้อยนั้นติดคอไปเสียด้วย หญิงผู้เป็นเจ้าของตกใจอ้าปากค้าง พอได้สติก็ร้องออกมาว่า
  “คุณคะ สร้อยคอดิฉันคุณยังไม่ได้คืนมานะคะ”
  “สร้อยคออะไรของแก นี่มีแต่ของฉันเท่านั้น ที่สวมอยู่ในคอของฉันนี่เเหละ”
  “ไม่ยอม ไม่ยอม คุณโกงดิฉันต่อหน้าต่อตาอย่างนี้ไม่ได้”
  “ไม่ได้จะทำยังไง เชิญขี่ม้า ๓ ศอก ๔ ศอก ไปบอกกับใครก็ได้ มันของฉันแท้ ๆ หล่อนจะมาตู่เอาน่ะไม่สำเร็จดอก”
  ว่าแล้วก็วิ่งหนีไป หญิงผู้เป็นเจ้าของ ขึ้นจากสระวิ่งตามไป พร้อมกับร้อง “เอาของฉันมา เอาของฉันมา ฉันไม่ให้”
  “คนขี้ตู่ หน้าด้าน ของตัวก็อยู่ที่ตัวสิ นี่ของฉันต่างหากฉันไปล่ะ อย่ามาหน่วงเหนี่ยวไว้นะ”

   พร้อมกับเดินหนีไป แต่หญิงคนจนไม่ยอมให้ไปก็ดึงไว้ ประชาชนชาวเขาเผ่ามุงก็ล้อมกันเข้ามาสอบถามเรื่อง เมื่อรู้แล้วก็ไม่สามมารถจะจัดการอะไรได้ เพราะต่างไม่มีพยานด้วยกัน
  “ไปหามโหสถให้เขาตัดสินให้เถอะ” เมื่อตกลงกันแล้ว ก็พากันยกขบวนให้ทั้งโจทก์จำเลยเหล่าเผ่ามุงเผ่ามองทั้งหลายไปยังศาลาที่เจ้ามโหสถกำลังเล่นอยู่
  “พ่อมโหสถมีความมาให้ตัดสินอีกแล้ว”
  “เรื่องอะไรกันล่ะ”
  “เรื่องมันเกี่ยวกับเครื่องประดับ ซึ่งต่างคนก็ช่วงชิงกรรมสิทธิ์กัน
  “บอกให้โจทก์และจำเลยเข้ามาซิ”

   เมื่อโจทก์และจำเลยเข้ามาแล้ว มโหสถจึงถามว่า
   “ท่านทั้งสองจะยอมทำตามคำตัดสินของเราแน่ล่ะหรือ”
  “ข้าพเจ้าทั้งสองจะปฎิบัติตามความตัดสินของท่าน”
  “ถ้าเช่นนั้นโจทก์ให้การไปก่อน”

   หญิงผู้เป็นโจทก์จึงเล่าความตั้งแต่ตนเดินทางมาจนกระทั่งถอดสร้อยคอด้ายถักวางไว้บนผ้า แล้วลงไปลูบตัวล้างหน้าล้างตาฝนสระ หญิงจำเลยเดินมาขอดู ตนจึงให้ดู แต่หญิงนั้นไม่ดูเปล่า ๆ กลับเอาสวมใส่คอแล้วเดินหนีไปหน้าตาเฉยเสียอีกด้วย ตนจึงขึ้นจากสระวิ่งไล่ตามมาเพื่อจะเอาของ ๆ ตนคืน แต่หญิงจำเลยไม่ให้ อ้างว่าเป็นของตน ไม่ตกลงกันจึงพากันมาหามโหสถนี่แหละ

   เมื่อมโหสถฟังโจทก์แล้วก็ถามจำเลยบ้าง หญิงนั้นก็ให้การว่า ตนมีธุระเดินทางผ่านมาทางสระซึ่งหญิงคนนั้นในสระ และไม่ทราบว่าอย่างไรผลุนผลันหญิงคนนั้นก็วิ่งขึ้นมาจะเอาสร้อยคอถักซึ่งนางสวมใส่อยู่ อ้างว่าเป็นของเขา ดิฉันจึงไม่ยอมให้ก็เกิดโต้เถียงกันจนคนแนะนำให้มาหามโหสถ

   มโหสถพิจารณาแล้วก็ทราบได้ทันที คนผู้จำเลยฉ้อโกงของเขาจริง ๆ เพราะตามธรรมดาใครจะวิ่งเข้ามาตู่ของ ๆ คนอื่นได้ง่าย ๆ โดยไม่มีเหตุผลอะไร แต่เพื่อจะให้ปรากฎแก่มหาชนทั่วไป มโหสถจึงสั่งให้คนนำเอาอ่างใส่น้ำเข้ามาอ่างหนึ่งพร้อมกับให้นางจำเลยถอดสร้อยคอนั้นแล้วแช่ลงไปในอ่าง พร้อมกับถามนางว่า

  "เครื่องประดับของเธออบด้วยเครื่องหอมอะไร” นางผู้เป็นจำเลยอึกอัก เพราะไม่รู้จะตอบอย่างไร แต่แล้วก็แก้ผ้าเอาหน้ารอดไปทีหนึ่ง โดยตอบว่า
  “ของข้าพเจ้าอบด้วยกำยาน” มโหสถจึงหันไปถามผู้เป็นโจทก์บ้าง
  “เครื่องประดับของท่านอบด้วยเครื่องหอมอะไร” ผู้เป็นโจทก์จึงตอบว่า

  “ท่านผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก ดิฉันเป็นคนจน ไม่สามารถจะหาของหอมอะไรได้ ก็ได้แต่เก็บเอาดอกพยอมมาอบเครื่องประดับนี้”

   เมื่อได้ทราบคำของทั้งสองฝ่ายแล้ว มโหสถก็ให้เอาเครื่องประดับขึ้น แล้วเรียกคนที่ชำนาญในการดมกลิ่นเข้าไปพิสูจน์ดูว่าในน้ำที่แช่เครื่องประดับนั้นมีกลิ่นอะไร ผู้ชำนาญเข้าไปดมแล้วก็หันมาบอกกับมโหสถว่า
  “ท่านผู้เจริญในน้ำมีแต่กลิ่นดอกพยอมเท่านั้น” มโหสถจึงเรียกนางผู้เป็นจำเลยเข้ามาถามว่า
  “เรื่องนี้ท่านจะว่าอย่างไร ถ้าเรื่องนี้ไปถึงเจ้าหน้าที่ ท่านจะต้องลำบาก เพราะเหตุทั้งหลายบอกให้ทราบว่าท่านมิได้เป็นเจ้าของเครื่องประดับสายนั้น ท่านจะยอมคืนให้เขาหรือไม่”

   ด้วยดวงหน้าซีดเผือดเพราะความอาย และเสียงสั่นด้วยความกลัวผิด นางผู้เป็นจำเลยยอมรับ คืนและขอโทษอย่าเอาความผิดอีกเลย มโหสถจึงคืนสร้อยนั้นให้นางผู้เป็นเจ้าของไป พร้อมกับสั่งสอนให้นางผู้เป็นจำเลยตั้งอยู่ในศีลธรรมแล้วให้แยกทางกันกลับไป

  ใครบ้างจะคิดว่าเรื่องยาก ซึ่งหาพยานหลักฐานอะไรมิได้ แต่มโหสถคิดหาหนทางพิสูจน์ตังเองมาตลอด ใครโง่ ใครฉลาด ใครคด ใครโกง ใครซื่อสัตย์ เหตุการณ์และเวลาเท่านั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ได้
  “ท่านอาจารย์ มโหสถได้แสดงปัญญาตัดสินความนี้ได้อย่างลึกซึ้ง สมควรนำมาเลี้ยงดูได้หรือยัง”

  เพราะไม่อยากให้ใครดีเกินหน้าตน เสนกะจึงกลาบทูลว่า “ขอเดชะ เรื่องเล็กน้อยเท่านี้ใคร ๆ ก็ตัดสินได้ อย่าเพื่งเอามาเป็นเครื่องวัดความเป็นบัณฑิตด้วยสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เลยดูไปอีกก่อนดีกว่า เวลาเท่านั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ที่ดีกว่านี้”


หน้า 1   หน้า 2   หน้า 3   หน้า 4   หน้า 5   หน้า 6   หน้า 7
  หน้า 8   หน้า 9   หน้า 10   หน้า 11   หน้า 12   หน้า 13   หน้า 14