พระนางอุทุมพร

       ปิงคุตตระไปเรียนวิชายังเมืองตักสิลา อันนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยอย่างดีเยี่ยมที่สุดในยุคสมัยนั้น เหมือนกับเมืองนอกดูเหมือนว่าจะโผล่พ้นเมืองไทยออกไปการศึกษานับว่าเยี่ยมที่สุด กลับมามีคนนับหน้าถือตาจะเข้าทำราชการงานเมืองใดก็มีแต่คนต้อนรับ เขาเรียนได้ดีเพราะสติปัญญาของเขาใช้ได้ เพียงไม่กี่ปีเขาก็สำเร็จการศึกษา

     เมื่อเขากลับมา เขาก็ได้ของแถมจากอาจารย์ ไม่ใช่แต่วิชาเท่านั้น แต่กลับเป็นหญิงสาวผู้งดงามซึ่งเป็นบุตรคนโตของอาจารย์ของเขาเอง เพราะเป็นกฎที่ถือว่า ถ้าศิษย์คนใดเรียนดี อาจารย์มักจะยกบุตรสาวให้ แต่ความจริงคงเป็นว่าอาจารย์เห็นว่าศิษย์คนใดเรียนดีสามารถจะไปดำเนินกิจการได้ และเห็นว่าศิษย์คนนี้คงจะเลี้ยงธิดาของท่านได้ จึงได้มอบให้ก็อาจเป็นได้

     แต่อย่างไรก็ตามเป็นอันว่าปิงคุตตระจะได้รับมอบธิดาแสนสวยจากท่านอาจารย์ให้พากลับบ้านด้วย แม้เขาจะไม่พอใจแต่ก็ต้องรับ เขารู้สึกว่าหญิงคนนี้ไม่ค่อนชอบมาพากลเสียแล้วเห็นหน้าก็ไม่พอใจเสียแล้ว แถมเข้าใกล้ยังร้อนเสียอีกด้วย     แบบนี้มันคล้าย ๆ กับเรื่องทศกัณฐ์ที่ไปทำความชอบชะลอเขาพระเมรุได้รับพรให้ขอของที่ชอบใจได้ ก็เลยขอเมียพระอิศวรเสียเลย แต่แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ เข้าใกล้ก็ร้อนจะจับจะต้องที่ใดมันก็ร้อนไปหมด จนกระทั่งเดินทางอุ้มก็ไม่ได้ ต้องเทินศีรษะไป เฮ้อ..กรรม ..กรรม       พ่อนี้ก็เช่นเดียวกัน กลางคืนก็นอนร่วมกันไม่ได้ เมื่อขึ้นไปบนที่นอน พ่อปิงคุตตระเป็นต้องกระโดดลงมานอนข้างล่างมันร้อน มันร้อนจริง ๆ ใครจะทนไหว เขาได้แต่ร่ำร้องเช่นนี้

     เรื่องนี้เป็นเพราะว่าเป็นกาลกิณีกับสิริร่วมกันไม่ได้เท่านั้นเอง จึงเป็นเหตุให้ปิงคุตตระกับธิดาอาจารรย์อยู่ร่วมกันไม่ได้ ใครล่ะเป็นกาลกิณีและใครเป็นสิริ เดินทางมาได้ตั้ง   ๗ วัน   ต่างคนต่างเดินจนมากระทั่งถึงกรุงมิถิลา ทางที่เขาเดินผ่านมีต้นมะเดื่อใหญ่ขึ้นอยู่ มีพวงห้อยระย้ากำลังสุกน่ากิน เขาเดินทางมากำลังเหน็ดเหนื่อยหิวโหยพอมาพบมะเดื่อเข้าก็ดีใจ เออ? ได้แก้หิวล่ะ เขานึกอยู่ในใจ พอ มาถึงก็ไม่ฟังเสียง ปีนขึ้นไปบนต้นได้ก็เก็บกินเอา ๆ จะนึกถึงเมียที่อยู่โคนต้นบ้างก็หาไม่ นางเห็นเช่นนั้นจึงร้องขึ้นไปว่า
     “พี่จ๋า โยนมาให้น้องกินแก้หิวบ้างสิคะ”   แทนที่นายปงคุตตระจะโยนลงมาให้อย่างที่นางร้องขอกลับตอบว่า
     “มีตีนมีมือเหมือนกันก็ขึ้นมาเก็บเอาสิ จะหวังกินแรงคนอื่นทำไม ?”

     ถ้าเป็นหญิงสมัยนี้เห็นมีจะร้องไห้หรือไม่นายปิงคุตตระได้ตายคาต้นมะเดื่อแน่นอน แต่นี้เป็นธิดาของอาจารย์ตักศิลา นางไม่ร้องไห้เลย ปีนขึ้นไปบนต้นมะเดื่อเก็บผลที่สุก ๆ มากินแก้หิว เจ้าผู้ชายไร้ความคิด ควรจะเรียกเจ้าปงคุตตระว่าอย่างนี้เพราะไม่เห็นแก่เพศที่อ่อนแอแล้วยังแถมประพฤติสิ่งอันชั่วร้ายส่ออัธยาศัยอันธพาลเสียด้วย เมื่อเขาเห็นนางขึ้นไปบนต้นมะเดื่อเขารีบลงมา เขารีบไปเอาหนามไผ่หนามไม้เเหลมคมมาสะต้นมะเดื่อไว้โดยรอบต้น แล้วบอกกับนางว่า
     “เชิญอยู่ให้สบายเถอะ พี่ไปล่ะ” แล้วเขาก็ออกเดินจนลับตาไป นางลงไม่ได้ก็ต้องนั่งอยู่บนต้นมะเดื่อนั่นเอง

     วันนั้นเผอิญพระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปประพาสราชอุทยานตกเวลาเย็นผ่านมาทางนั้นก็พบนางอยู่บนต้นมะเดื่อ พอเห็นเท่านั้นก็เกิดความรักขึ้นทันที

             พระพุทธเจ้าตรัสว่าความรักมี ๒ อย่าง   คือ เคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน
    ๑   และทำประโยชน์ให้ปัจจุบันอย่าง ๑   จึงจะเกิด ได้

     พระเจ้าวิเทหราชอาจจะเป็นเพราะชาติปางก่อนได้เคยเป็นคู่สมัครรักใคร่กันมาก่อน พอเห็นกันจึงเกิดความรักทันที พระองค์ก็ให้ราชบุรษเข้าไปถามว่า
     “แม่หนู แม่น่ะมีคนหวงแหนบ้างหรือเปล่า” นางได้เล่าความจริงให้ราชบุรษฟังตั้งแต่ต้น พร้อมกับเสริมว่า
     “บัดนี้สามีดิฉันได้หนีไปแล้ว ดิฉันเลยไม่รู้ว่าจะไปไหนจึงนั่งอยู่ที่นี่” เมื่อราชบุรุษกราบทูลความนั้นให้พระเจ้าวิเทหราชทรงทราบพระองค์ก็ตรัสว่า
    “ออ เดี๋ยวนี้นางไม่มีพันธะ เราจะเลี้ยงดูนางเอง” จึงรับนางลงมาจากต้นมะเดื่อแล้วนำไปไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี ท่านคิดดูเอาเองว่า ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายที่เป็นสิริกาลกิณี

     นับแต่นั้นมา ประชาชนก็ขนานนามพระนางว่าพระนางอุทุมพร เพราะได้นางมาจากต้นมะเดื่อ นางได้รับความสำราญอย่างล้นเหลือ และเมื่อพระเจ้าอยู่หัวชอบเสด็จพระพาสพระราชอุทยานพวกข้าราชบริพารจึงแผ้วถางทางที่จะเสด็จผ่านให้เรียบร้อยที่ใดรกรุงรังก็จัดแจงให้เตียนสะอาด ที่ไม่เสมอก็ให้ถมให้เสมอกัน จึงต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอ และก็จะต้องให้งานเสร็จเร็วทันการประพาสครั้งต่อไป จึงต้องมีการจ้างให้บุคคลภายนอกมาทำความสอาดตัดต้นไม้ เกลี่ยถนน ขุดตอออกยั้วเยี้ยไปหมด แต่พระเจ้าวิเทหราชเสด็จเร็วกว่ากำหนด ในขณะเสด็จไปถึงจึงพบเห็นคนงานเหล่านั้นกำลังปฎิบัติงานอยู่ ในพวกคนงานเหล่านั้น มีเจ้าหนุ่มปิงคุตตระผู้ละทิ้งแก้ววิเศษเสีย มารับจ้างเกลี่ยถนนอยู่ด้วย


 
       เมื่อขบวนเสด็จซึ่งมีพระเจ้าวิเทหราชกับพระนางอุทุมพรเทวีเสด็จไปด้วยกันผ่านไป พระนางก็ทอดพระเนตรเห็นนายปิงคุตตระกำลังถางดินอยู่ข้างทาง ก็นึกขำในพระทัยว่า ช่างกระไรเลยหนอ มาทิ้งสิริเสียได้ วิสัยกาลกิณีก็เป็นเช่นนั้นไม่อาจจะทรงสิริได้ นึกขำมากเข้าก็ถึงกับทรงพระสรวลออกมาเบา ๆ พระเจ้าวิเทหราชทรงสนเทห์ในพระทัย จึงตรัสถามว่า
     “น้องหญิง สรวลอะไร?” พระนางจึงกลาบทูลว่า
     “ขอเดชะ ตามที่กระหม่อมฉันเคยได้ทูลไว้ว่า กระหม่อมฉันมีสามี และสามีนั้นได้ทอดทิ้งหนีกระหม่อมฉันไป บัดนี้กระหม่อมฉันได้เห็นเขามาทำงานอยู่ที่ข้างทาง จึงคิดว่าวิสัยคนกาลกิณีไม่อาจจะทรงสิริไว้ได้ จึงได้สรวล”

     พระเจ้าวิเทหราชคิดว่าพระไม่ตรัสตามความเป็นจริงก็กริ้วเพราะไม่เชื่อว่าผู้ชายอะไรจะสละทิ้งหญิงที่สวยงามอย่างพระนางได้ จึงไม่เชื่อว่าสามีของพระนางมาทำงานอยู่จึงตรัสว่า
     “น้องหญิงเธอไม่ตรัสจริงกับพี่ มันเป็นความจริงไปได้อย่างไร ถ้าเธอไม่ตรัสความจริง เธอจะต้องตาย ..ตาย” ทรงคำรามพร้อมกับพระแสงดาบ เออ? อาญานี่มันร้ายจริงหนอ เพียงพูดไม่พอใจก็ถึงกับจะฆ่าแกงกัน แต่ก็ได้เคยแล้วว่า

    มหากษัตริย์ทรงฉัตรไชย ถ้าแม้นใครประมาทอาจตายเอยฯ นี่ก็เช่นเดียวกัน คิดเสียว่านางไม่พูดความจริงทั้งที่นางก็พูดความจริงก็ไม่ยอมเชื่อแถมจะฆ่าเสียด้วย นางกลัวความตายจึงทูลพระราชาว่า “ขอเดชะ ก่อนที่จะทำอะไรลงไปขอทรงตรัสถามพวกนักปราชญ์ก่อน”
     “ก็ได้” แล้วก็หันไปถามเสนกะว่า
     “จริงไหม? ท่านอาจารย์”
     “ไม่น่าเป็นไปได้ ว่าชายจะละทิ้งหญิงเช่นพระนางเสียได้ กระหม่อมฉันยังสงสัยอยู่”
     “นั่นสิ” รับสั่งอย่างเห็นด้วย “ต้องฆ่า” พระนางก็ขอให้ตรัสถามผู้อื่นอีกก่อน พระราชาจึงทรงระลึกได้ว่า ควรถามมโหสถ จึงหันไปถามมโหสถว่า
     “พ่อมโหสถ จริงอย่างพระนางว่าหรือเปล่า?”
     “ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า กระหม่อมฉันว่าจริงพระเจ้าข้า เพราะกาลกิณีกับสิริไกลกันดุจฟ้ากับดิน หรือเหมือนทะเลฟากนี้กับฟากโน้น”
     "เออ จริงสินะ เราเกือบจะผลุนผลันฆ่าฟันนางไปเสียแล้ว” แลัวตรัสกับมโหสถว่า
     “เพราะเจ้า เราจึงไม่เสียนางแก้วประจำใจไป” แล้วพระราชทานเงินทองให้กับมโหสถเป็นอันมาก เมื่อมโหสถได้ลาภก็เป็นที่เขม่นของเสนกะบัณฑิตเจ้าเล่ห์มากขึ้น แต่เมื่อยังไม่สามารถทำอะไรได้ ก็ต้องเงียบไว้ก่อน และนับแต่นั้นมา พระนางได้ขอพรจากพระเจ้าวิเทหราชในการที่จะส่งข้าวของต่าง ๆ ไปให้มโหสถโดยไม่เลือกกาลเวลาและขอพระบรมราชานุญาตตั้งมโหสถไว้ในฐานะน้องของนางซึ่งพระเจ้าวิเทหราชก็ทรงพระราชทาน ให้ตามคำขอของพระนาง


 
  
แพะ กับ สนัข

       วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชประทับอยู่ ณ ที่มุมปราสาท ทอดพระเนตรสิ่งต่าง ๆ ก็ได้แลเห็นสุนัขกับแพะคู่หนึ่งมาอยู่ร่วมกันและเห็นอีกว่าเจ้าสุนัขนั้นไปคาบหญ้ามาให้เจ้าแพะกิน ส่วนเจ้าแพะคาบเอาปลามาให้สุนัขกิน ความเป็นไปของเจ้าสุนัขกับแพะมีอย่างนี้ สุนัขตัวหนึ่งอยู่ในพระราชวังนั้น พวกวิเสทได้ให้อะไรกินอยู่เสมอ จนมันเข้านอกออกในอาศัยอยู่ในโรงครัวนั้นเสมอ วันหนึ่งพวกช่างเครื่องตบแต่งเครื่องแล้วก็ออกไปรับลมข้างนอก

    ส่วนเจ้าแพะคาบเอาปลามาให้สุนัขกิน ความเป็นไปของเจ้าสุนัขกับแพะมีอย่างนี้ สุนัขตัวหนึ่งอยู่ในพระราชวังนั้น พวกวิเสทได้ให้อะไรกินอยู่เสมอ จนมันเข้านอกออกในอาศัยอยู่ในโรงครัวนั้นเสมอวันหนึ่งพวกช่างเครื่องตบแต่งเครื่องแล้วก็ออกไปรับลมข้างนอกปล่อยสำรับไว้บนโต้ะ

     เจ้าสุนัขตัวนั้นกำลังแทะกระดูกอยู่ ได้กลิ่นของกินอันโอชะก็น้ำลายสออยากกินเป็นกำลัง และเห็นเป็นโอกาสเหมาะเพราะคนครัวออกไปข้างนอกก็เลยทิ้งกระดูกที่แทะทิ้งเสีย สูดกลิ่นเข้าไปหาสำรับ เอาปากดุนฝาเพื่อจะกินอาหารในชามนั้น เสียงชามกับฝากระทบกัน คนครัวซึ่งออกไปยืนรับลมอยู่หน้าครัวเกิดสงสัยก็รีบเข้ามาดู

     เจอผู้ร้ายตัวฉกาจเข้าพอดี หน๋อย ให้กินเศษอาหารและกระดูกไม่พอ เอื้อมอาจมากินของเสวย เอ้าเสวยเสีย แล้วเขาก็ฉวยได้ไม้ฟืนแพ่นหลังเจ้าสุนัขตัวนั้นเสียหลังแอ่น วิ่งร้องครวญครางออกไปจากโรงอาหาร ไปแอบอยู่ข้างพระตำหนักหลังหนึ่ง

     ส่วนเจ้าแพะเล่าก็อาการเดียวกัน แต่ไม่ได้ขโมยอาหาร แต่ไปขโมยหญ้าช้าง เลยถูกคนเลี้ยงช้างฟาดเอาเสียหลังแอ่นวิ่งมาหลบมุมอยู่ที่เดียวกัน เจ้าสุนัขเข้ามาหลบอยู่ก่อนเห็นเจ้าแพะหลังแอ่นมาก็ถามว่า
     “สหายเป็นอะไร ไม่สบายไปรึไง”
     “ไม่เป็นอะไรหรอก”
     “แล้วทำไมหลังคด ยังงั้นเล่า”
     “พวกเลี้ยงช้างน่ะสิ”
     “มันทำไมล่ะ”
     “มันไม่ทำไมหรอก แต่มันฟาดด้วยกระบองลงที่กลางหลัง แล้วทำไมหลังเราจะตรงอยู่ได้ หักหรือเปล่าไม่รู้?”
     “ก็สหายไปทำอะไรเข้าล่ะ”
     “เราก็ว่าไม่ได้ทำนะ ก็แค่เราไปกินหญ้าของช้างนิดหน่อยเท่านั้นเอง” เจ้าสุนัขหัวเราะชอบใจ
     "เออ จะบอกตรง ๆ ว่าไปลักหญ้าช้างมากินเลยถูกคนเลี้ยงมันฟาดด้วยตะบอง มันก็หมดเรื่อง”
     "เจ็บ.. อุ้ย.. เจ็บจริง ๆ” เจ้าแพะบ่น
     “ไม่แต่เจ็บเท่านั้น ต่อไปก็อดหญ้าอีกด้วย”
     “ทำไมล่ะ?”
     “เพราะว่าเราเข้าโรงช้างไม่ได้อีกแล้ว ถ้าไปทีนี้คนเลี้ยงช้างบอกว่าจะตีให้ตายเลย” แล้วมันก็ถามเจ้าสุนัขบ้างว่า
     “แล้วสหายล่ะ ทำไมมาแอบอยู่ข้างตำหนักนี้เล่า”
     “มันก็เรื่องเหมือน ๆ กันนั้นเหละสหาย”
     “เรื่องมันเป็นอย่างไรลองเล่าให้ฟังบ้างสิ”
     “ได้สิ คือเรื่องมันมีอยู่ว่า เดิมเราก็พักอาศัยหลับนอนกินอยู่ในโรงครัว อาหารการกินก็แสนบริบูรณ์ กระดูกเป็ดไก่หมูเอยฯอะไรก็มีทั้งนั้น แต่เรากับไปชอบอ้ายที่อยู่ในชามที่เขาใส่สำรับไว้เพื่อพระเจ้าแผ่นดินเสวย ฮ่ะ ๆ สหายเป็นไงรสนิยมเราสูงส่งเทียวล่ะ

     พอเข้าเผลอเราก็รี่ไปเปิดสำรับนึกว่าจะได้สักคำ ที่ไหนได้ สหายเอ๋ย ยังกับฟ้าผ่ากลางวันแสก ๆ ทีเดียว อะไรเสียอีกล่ะ ไม่อยากพูด แต่เมื่อสหายอยากฟังก็ะบอกไห้ ดุ้นฟืนอันเบ้อเร่อฟาดเราลงมาที่กลางหลัง โอย.. หลังแถบหัก มันแรงจริง ๆ เห็นเดือนเห็นดาวกลางวันเลยล่ะ เราว่าจะไม่ร้องแต่ร้องปากน่ะสอมันร้องออกไปเอง เจ็บใจจริง ๆ เสียเกียรติหมาอย่างเราจัง และมันไม่หยุดเท่านั้น แถมฟาดอย่างไม่เลือกที่เสียด้วย เราเลยต้องแผ่นแน่บออกจากโรงครัวแล้วมาแอบอยู่ข้างตำหนักนี่แหละ โรงครัวน่ะเราไม่มีหวังได้เข้าไปอีกแล้ว ขืนเข้าไปคนครัวมันบอกว่าจะตีให้ตาย สหายเอ๋ย เราเห็นจะต้องอดตายเสียเป็นแน่” เจ้าสุนัขเล่าเรื่องให้แพะฟัง พร้อมกับพูดอย่างท้อแท้ในตอนท้าย
     “สหายก็ต้องอด เราก็ต้องอด เรามันหัวอกเดียวกัน”
     “ทำอย่างไรดีเราจึงจะไม่อดตาย” ในที่สุดเจ้าแพะก็คิดขึ้นได้ จึงบอกเจ้าสุนัขว่า
     “สหาย เราเห็นช่องทางที่จะไม่อดตายแล้ว”
     “ทำอย่างไรล่ะ? เจ้าสุนัขถาม
     “คืออย่างนี้” เจ้าแพะเริ่ม “สหายไม่กินหญ้า หากไปที่โรงช้างคนเลี้ยงช้างก็คงไม่สงสัยและคงจะไม่ขับไล่สหายออกมาใช้ไหม พอคนเลี่ยงช้างเผลอ สหายก็คาบหญ้าออกมาเผื่อเรา เราเองก็ไม่กินเนื้อ เมื่อเข้าไปอยู่ในโรงครัวก็ไม่มีใครสงสัยและรังเกียจ เมื่อเห็นคนครัวเผลอเราก็คาบอาหารมาฝากสหาย เราต่างอาศัยซึ่งกันและกันเช่นนี้เราก็จะไม่อดตาย สหายว่าอย่างไรล่ะ”
     “ความคิดของสหายวิเศษจริง อาหารเราก็มีกิน และไม่ต้องถูกตีอีกด้วย”


หน้า 1   หน้า 2   หน้า 3   หน้า 4   หน้า 5   หน้า 6   หน้า 7
  หน้า 8   หน้า 9   หน้า 10   หน้า 11   หน้า 12   หน้า 13   หน้า 14