บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   น่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก   พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   คำค้นหาพระไตรปิฎก  ชาดก  ธรรมปฏิบัติ  



ข้อความน่ารู้
จาก
พระไตรปิฎก

อะไรเป็นแก่นสาร

ส่วนแห่งความรู้

ฐานะ ๕

เงื่อนไขแก่ภิกษุณี

อาสวะที่พึงละ

การรักษาสาธารณสมบัติ

อานาปานาสติ

ถามตอบธรรม

ความทุกข์ของสตรี

วิชาดูดาว

การทำให้สุข

 

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก

๗๙. ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นอะไร?

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชผู้ถือลัทธิอื่นพึงถามอย่างนี้ว่า "ผู้มีอายุ ธรรมทั้งปวงมีอะไร เป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นที่รวม มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรเป็นยอดเยี่ยม มีอะไรเป็นสาระ มีอะไรเป็นปริโยสาน" เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านทั้งหลาย พึงกล่าวตอบนักบวชผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านี้ว่าอย่าไร?"

              ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ธรรมะของข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล เป็นแบบแผน เป็นที่พึ่ง. ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงยังอรรถแห่งสุภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งด้วยดีเถิด พระเจ้าข้า. ภิกษุทั้งหลายสดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้."

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง ทำไว้ในใจให้ดี."

              เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลรับคำแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชผู้ถือศาสนาอื่นพึงถามอย่างนี้ว่า "ผู้มีอายุ ธรรมทั้งปวงมีอะไร เป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นที่รวม มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรเป็นยอดเยี่ยม มีอะไรเป็นสาระ หยั่งลงสู่อะไร มีอะไรเป็นปริโยสาน." เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านทั้งหลาย พึงกล่าวตอบนักบวชผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น อย่างนี้ว่า

              ผู้มีอายุ ธรรมทั้งปวง มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูล, มีการทำไว้ในใจเป็นแดนเกิด, มีผัสสะ(ความกระทบ) เป็นต้นเหตุให้เกิด, มีเวทนา(ความรู้สึกอารมณ์สุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข) เป็นที่รวม, มีสมาธิเป็นประมุข, มีสติเป็นใหญ่, มีปัญญาเป็นยอดเยี่ยม, มีวิมุติ(ความหลุดพ้น) เป็นสาระ หยั่งลงสู่อมตะ มีนิพพานเป็นปริโยสาน" เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านทั้งหลายพึงกล่าวตอบนักบวชผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น อย่างนี้แล."

ทสกจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๑๓

๘๐. ละธรรม ๑๐ อย่างไม่ได้ยังไม่ควรเป็นพระอรหันต์

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ไม่ได้ ก็ไม่ควรทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลธรรม ๑๐ อย่าง คือ
              ๑. ราคะ ความกำหนัดยินดี
              ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
              ๓. โมหะ ความหลง
              ๔. โกธะ ความโกรธ
              ๕. อุปนาหะ ความผูกโกรธ
              ๖. มักขะ ความลบหลู่บุญคุณท่าน
              ๗. ปลาสะ ความตีเสมอ
              ๘. อิสสา ความริษยา
              ๙. มัจฉริยะ ความตระหนี่
              ๑๐. มานะ ความถือตัว

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้แลไม่ได้ ก็ไม่ควรทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล."

๘๑. ละธรรม ๑๐ อย่างได้จึงควรเป็นพระอรหันต์

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ได้ จึงควรทำให้แจ้งอรหัตตผล. ธรรม ๑๐ อย่าง คือ
              ๑. ราคาะ ความกำหนัดยินดี
              ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
              ๓. โมหะ ความหลง
              ๔. โกธะ ความโกรธ
              ๕. อุปนาหะ ความผูกโกรธ
              ๖. มักขะ ความลบบุญคุณท่าน
              ๗. ปลาสะ ความดีเสมอ
              ๘. อิสสา ความริษยา
              ๙. มัจฉริยะ ความตระหนี่
              ๑๐. มานะ ความถือตัว

              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้แลได้ จึงควรทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล."

ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๒๒๔

๘๒. คนที่เกิดมีขวานมาในปากด้วย

              "คนที่เกิดมาแล้ว มีขวานเกิดมาในปากด้วย คนพาลเมื่อกล่าวคำชั่ว ชื่อว่าใช้ขวานนั้นฟันตนเอง. ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติ ติคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้น ชื่อว่าใช้ปากเลือกเก็บความชั่วไว้ จะไม่ได้ประสบความสุข เพราะความชั่วนั้น."

ทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๘๕

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   น่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก   พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   คำค้นหาพระไตรปิฎก  ชาดก  ธรรมปฏิบัติ