บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



พระสุตตันตปิฎก

พระสุตตันตปิฎก
ปิฎกเล่ม ๔
หมวดนี้มี

๑.มูลปริยายสูตร
๒.สัพพาสวสังวรสูตร
๓.ธัมมทายาทสูตร
๔.ภยเภรวสูตร
๕.อนังคณสูตร
๖.อากังเขยยสูตร
๗.วัตถูปมสูตร
๘.สัลเลขสูตร
๙.สัมมาทิฆฐิสูตร
๑๐.สติปัฏฐานสูตร
๑๑.จูฬสีหนาทสูตร
๑๒.มหาสีหนาทสูตร
๑๓.มหาทุกขักขันธสูตร
๑๔.จูฬทุกขักขันธสูตร
๑๕.อนุมานสูตร
๑๖.เจโตขีลสูตร
๑๗.วนปัตถสูตรสูตร
๑๘.มธุปิณฑิกสูตร
๑๙.เทวธาวิตักกสูตร
๒๐.วิตักกสัณฐานสูตร
๒๑.กกจูปมสูตร
๒๒.อลคัททูปมสูตร
๒๓.วัมมิกสูตร
๒๔.รถวินีตสูตร
๒๕.นิวาปสูตร
๒๖.ปาสราสิสูตร
๒๗.จูฬหัตถิปโทปมสูตร
๒๘.มหาหัตถิปโทปมสูตร
๒๙.มหาสาโรปมสูตร
๓๐.จูฬสาโรปมสูตร
๓๑.จูฬโคสิงคสาลสูตร
๓๒.มหาโคสิงคสาลสูตร
๓๓.มหาโคปาลสูตร
๓๔.จูฬโคปาลสูตร
๓๕.จูฬสัจจกสูตร
๓๖.มหาสัจจกสูตร
๓๗.จูฬตัณหาสังขยสูตร
๓๘.มหาตัณหาสังขยสูตร
๓๙.มหาอัสสปุรสูตร
๔๐.จูฬอัสสปุรสูตร
๔๑.สาเลยยกสูตร
๔๒.เวรัญชกสูตร
๔๓.มหาเวทัลลสูตร
๔๔.จูฬเวทัลลสูตร
๔๕.จูฬธัมมสมาทานสูตร
๔๖.มหาธัมมสมาทานสูตร
๔๗.วีมังกสูตร
๔๘.โกสัใพยสูตร
๔๙.พรหมนิมันตนิกสูตร
๕๐.มารตัชชนียสูตร

 

หน้าที่ ๑ ๑.มูลปริยายสูตร
๒.สัพพาสวสังวรสูตร
๓.ธัมมทายาทสูตร
๔.ภยเภรวสูตร

..การเผชิญความกลัว
..บางพวกหลงวันหลงคืน
..ทรงแสดงข้อ
ปฏิบัติของพระองค์
๕.อนังคณสูตร
๖.อากังเขยยสูตร
๗.วัตถูปมสูตร
๘.สัลเลขสูตร
๙.สัมมาทิฆฐิสูตร
๑๐.สติปัฏฐานสูตร

 

หน้าที่ ๒ ๑๑.จูฬสีหนาทสูตร
๑๒.มหาสีหนาทสูตร

..กำลัง ๑๐
..เวสารัชชะ ๓
..บริษัท ๘
..กำเนิด ๔
..คติ ๕
..การประพฤติ
พรหมจรรย์มีองค์ ๔
..การทรมาน
พระองค์อย่างอื่นอีก
..ทรงทดลอง
ความบริสุทธิ์
เพราะเหตุต่าง ๆ
..คนหนุ่มจึงมี
ปัญญาจริงหรือ?
๑๓.มหาทุกขักขันธสูตร
๑๔.จูฬทุกขักขันธสูตร
๑๕.อนุมานสูตร
๑๖.เจโตขีลสูตร
๑๗.วนปัตถสูตรสูตร
๑๘.มธุปิณฑิกสูตร
๑๙.เทวธาวิตักกสูตร
๒๐.วิตักกสัณฐานสูตร

..สรุป

 

หน้าที่ ๓ ๒๑.กกจูปมสูตร
๒๒.อลคัททูปมสูตร
๒๓.วัมมิกสูตร
๒๔.รถวินีตสูตร
๒๕.นิวาปสูตร
๒๖.ปาสราสิสูตร
๒๗.จูฬหัตถิปโทปมสูตร
๒๘.มหาหัตถิปโทปมสูตร
๒๙.มหาสาโรปมสูตร
๓๐.จูฬสาโรปมสูตร

 

หน้าที่ ๔ ๓๑.จูฬโคสิงคสาลสูตร
๓๒.มหาโคสิงคสาลสูตร
๓๓.มหาโคปาลสูตร
๓๔.จูฬโคปาลสูตร
๓๕.จูฬสัจจกสูตร
๓๖.มหาสัจจกสูตร
๓๗.จูฬตัณหาสังขยสูตร
๓๘.มหาตัณหาสังขยสูตร
๓๙.มหาอัสสปุรสูตร
๔๐.จูฬอัสสปุรสูตร

 

หน้าที่ ๕ ๔๑.สาเลยยกสูตร
๔๒.เวรัญชกสูตร
๔๓.มหาเวทัลลสูตร
๔๔.จูฬเวทัลลสูตร
๔๕.จูฬธัมมสมาทานสูตร
๔๖.มหาธัมมสมาทานสูตร
๔๗.วีมังกสูตร
๔๘.โกสัใพยสูตร
๔๙.พรหมนิมันตนิกสูตร
๕๐.มารตัชชนียสูตร

 

เล่มที่ ๑๒ ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์
เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
หน้า ๓

๒๑ . กกจูปมสูตร
สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย

   ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสสอนภิกษุชื่อโมลิยผัคคุ ผู้คลุกคลีด้วยนางภิกษุณีทั้งหลายจนเกินขอบเขต เมื่อมีใครติเตียนนางภิกษุณีต่อหน้าเธอ เธอก็โกรธเคืองก่ออธิกรณ์ หรือเมื่อมีใครติเตียนเธอต่อหน้าภิกษุณีทั้งหลาย นางภิกษุณีทั้งหลายก็โกรธเคืองก่ออธิกรณ์ โดยทรงสั่งสอนให้ละความพอใจแบบชาวบ้าน ( เคหสิตะ = อาศัยบ้าน ) เมื่อมีใครติเตียนหรือทำร้ายด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยไม้พลองด้วยศัสตรา ซึ่งนางภิกษุณีทั้งหลายหรือแม้ซึ่งตัวเธอเอง ก็ให้สำเนียกว่า จักไม่ให้จิตปรวนแปร จักไม่เปล่งวาจาชั่วร้าย จักมีเมตตาจิต หวังอนุเคราะห์ ไม่ตกอยู่ในระหว่างแห่งโทสะ.

   ๒. ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย เล่าให้ฟังถึงเรื่องที่ภิกษุทั้งหลายเคยยังพระหฤทัยของพระองค์ให้ยินดีมาแล้วในสมัยหนึ่ง.  คือทรงแนะนำเรื่องฉันอาหารมื้อเดียว .  ไม่ต้องสั่งสอนเพียงแต่แนะนำให้เกิดสติ เปรียบเหมือนสารถีขึ้นสู่รถที่เทียมไว้ดีแล้ว ให้รถแล่นไปแล่นกลับได้ตามปรารถนา ( ไม่ต้องเฆี่ยนตีม้า ). ครั้นแล้วตรัสสอนให้ละอกุศล ทำความเพียรในกุศลธรรมก็จะเจริญงอกงามในพระธรรมวินัยนี้ เปรียบเหมือนคนปรารถนาดี ถางป่าไม้สาละ ที่เต็มไปด้วยละหุ่ง ( อันเป็นภัยต่อไม้สาละ ) ตัดต้นสาละหนุ่มที่คดออก บะรุงด้วยดีซึ่งต้นสาละหนุ่มที่ตรง ที่เกิดดีแล้ว ป่านั้นก็จะเจริญงอกงาม.

   ๓. ตรัสเล่าเรื่อง แม่เจ้าเรือน ชื่อเวเทหิกา ซึ่งมีชื่อเสียงว่าสงบเสเงี่ยม แต่ถูกนางทาสีลองดี ก็ตีศีรษะนางทาสีแตก เลยกลายเป็นคนมีชื่อเสียงว่าโหดร้าย แล้วตรัสสอนว่า จึงพึงรู้ได้ว่า ภิกษุสงบเสงี่ยมหรือไม่ ก็ต่อเมื่อมีถ้อยคำที่ไม่พอใจมากระทบ และตรัสว่า ยังไม่ตรัสว่า ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายเพราะเห็นแก่ปัจจัย   ๔ เพราะถ้าไม่ได้ปัจจัย  ๔ ก็ไม่ว่าง่าย แล้วตรัสสอนว่า เมื่อเคารพนบนอบธรรมก็ควรเป็นว่าง่าย.

   ๔. ตรัสถึงถ้อยคำ ( ศัพท์เต็ม วจนปถา = ทางแห่งถ้อยคำ ) ๕ ประเภท คือ   ๑. ถูกกาละ   หรือไม่ถูกกาละ   ๒. จริง หรือไม่จริง  ๓. อ่อนหวาน หรือหยาบคาย   ๔. ประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์   ๕. พูดด้วยจิตเมตตา หรืออยู่ในระหว่างโทสะ ที่คนอื่นมาว่ากล่าวก็พึงสำเนียกว่าจักคุมจิตไม่ให้ปรวนแปร จักไม่เปล่งวาจาหยาบคาย มักมีเมตตาจิต หวังอนุเคราะห์ ไม่ตกอยู่ในระหว่างแห่งโทสะ แผ่จิตอันประกอบด้วยเมตตาไปยังบุคคลนั้นและสัตว์อื่นทั่วโลก.

   ๕. ตรัสสอนให้คอบคุมจิตให้มีคุณธรรรมดังกล่าวข้างต้น แล้วให้ทำจิตเสมอด้วยแผ่นดิน ซึ่งใครจะขุดให้หมดไปจากโลกไม่ได้ ; เสมอด้วยแม่น้ำคงคาซึ่งใครจะเอาคบหญ้ามาเผาให้แห่งไม่ได้ ; เสมอด้วยถึงที่ทำด้วยหนังแมวฟอกดีแล้วอ่อนนุ่ม ซึ่งใครจะเอาไม้เอาก้อนกรวดมาทำให้เกิดเสียงไม่ได้.

    ๖. ตรัสว่า โจรเอาเลื่อยมีคม   ๒ ข้างมาเลื่อยตัดอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้ใดมีใจคิดประทูษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นไม่ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระองค์ . แล้วตรัสสอนให้ควบคุมจิตให้มีคุณธรรมดั่งข้างต้น.

   ๗. ตรัสรุปในที่สุดให้ภิกษุทั้งหลายใส่ใจเนือง ๆ ถึงพระโอวาทอันเปรียบด้วยเรื่องเลื่อยนี้ อันจะทำให้ไม่มีถ้อยคำที่อดทนไม่ได้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ ความสุขสิ้นกาลนาน.

   

๒๒ . อลคัททูปมสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ

   ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม . ภิกษุชื่ออริฏฐะ ผู้สืบสกุลที่เคยฆ่าแร้ง มีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่า ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคแสดงว่ามีอันตรายนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ส้องเสพจริง ภิกษุทั้งหลายตักเตือนก็ไม่ฟัง ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกไปชี้แจง ก็นั่งนิ่งเก้อเขินถอนใจ ไม่มีปฏิภาน.

   ๒. จึงตรัสต่อไปถึงบางคนผู้เรียนธรรม.  แต่ไม่พิจารณาความหมายของธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา เมื่อไม่พิจารณาความหมาย ธรรมะของคนเหล่านั้นก็ไม่ทนต่อการเพ่ง คนเหล่านั้นเรียนธรรมะเพียงเพื่อจะยกโทษผู้อื่นและเพื่อเปลี้องวาทะของผู้อื่น จึงไม่ได้ประโยชน์ของการเรียน ธรรมะที่เรียนไม่ดี จึงเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เปรียบเหมือนคนต้องการงูพิษ แต่จับไม่ดี ก็อาจถูกงูกัดตายหรือปางตาย ส่วนคนที่เรียนดี พิจารณาความหมาย เป็นต้น ก็ได้รับประโยชน์จากการเรียน เหมือนคนต้องการงูพิษ จับงูพิษดี ก็ไม่ถึงแก่ความตาย ไม่ได้รับทุกข์ปางตายฉนั้น.

   ๓. ตรัสถามที่สำคัญต่อไปว่า เพราะฉะนั้น พึงเข้าใจความหมายแห่งภาษิตของเราแล้วทรงจำไว้ ถ้าไม่เข้าใจ ก็พึงไต่ถามเราหรือภิกษุผู้ฉลาด เราแสดงธรรมมีออุปมาด้วยเเพ เพื่อให้ถอนตัว ( นิตถรณะ ) ไม่ใช่เพื่อให้ยึดถือ ( คหณะ ) เหรียบเหมือนคนข้ามฝั่งน้ำด้วยอาศัยเเพ เมื่อถึงฝั่งแล้วไม่จำเป็นต้องแบกแพไปด้วย . เมื่อรู้ธรรมะที่เราแสดงเปรียบด้วยเเพ ก็พึงละแม้ธรรมะ จะกล่าวไยถึงอธรรมว่าจะไม่ต้องละ.

   ๔. ทรงแสดงที่ตั้งแห่งความเห็น  ๖ อย่าง คือ  รูป ,   เวทนา ,   สัญญา ,   สังขาร ,   สิ่งที่เห็น ที่ฟังที่ทราบ ที่รู้ ที่ค้นหาด้วยใจ   ( รวม ๕ อย่าง )  ที่บุคคลเห็นว่า นั้นเป็นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา กับ   ( อย่างที่ ๖ )   ยึดถือความเห็นที่ว่า โลกหรืออัตตาเที่ยง ว่าเป็นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา. อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมเห็นว่า สิ่งเหล่านั้นมิใช่ของเรา เราไม่เป็นนั้น นั้นมิใช่ตัวตนของเรา. เมื่อเห็นอย่างนั้น ก็ไม่สดุ้งดิ้นรนในเมื่อสิ่งนั้นไม่มี.

   ๕. เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามถึงความสะดุ้งดิ้นรน และความไม่สะดุ้งดิ้นรนในสิ่งที่ไม่มีทั้งภายนอกภายใน.  เป็นลำดับ จึงตรัสชี้แจงทั้งสี่ประการ.

   ๖. ตรัสแสดงว่า เมื่อยังหวงแหน ยังมีวาทะว่าตัวตน ยังอาศัยทิฏฐิ ( ที่ผิด ) ก็จะต้องเกิดความโศกความคร่ำครวญ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และคับแค้นใจ.

   ๗. ตรัสว่า เมื่อมีตน ก็มีการยึดว่า สิ่งที่เนื่องด้วยตนของเรามีอยู่, เมื่อมีสิ่งเนื่องด้วยตน ก็มีการยึดว่าตนของเรามีอยู่ , เมื่อไม่ได้ตนหรือสิ่งที่เนื่องด้วยตนโดยแท้จริง ความเห็นว่าโลกเที่ยง อัตตาเที่ยง จึงเป็นธรรมะของคนพาลอันบริบูรณ์ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายให้เห็นด้วยตนเองว่า   ขันธ์   ๕ ไม่เที่ยง   เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตน   ไม่ควรยึดถือ . อริยสาวกผู้รู้เห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และหลุดพ้น . ต่อจากนั้นทรงแสดงข้อเปรียบเทียบภิกษุผู้หลุดพ้นในทำนองผู้ชนะศึกที่ตีเมืองอื่นได้.

   ๘. ตรัสว่า พระองค์ทรงบัญญัติทุกข์และความดับทุกข์ทั้งในกาลก่อนและในปัจจุบัน แต่สมณพราหมณ์บางพวกก็ยังกล่าวหาว่าทรงสอนขาดสูญ แล้วทรงแสดงต่อไปว่า ไม่ทรงอาฆาตหรือเสียใจเพราะมีผู้อื่นด่า ไม่ทรงชื่นชมโสมนัสเพราะมีผู้อื่นสักการะเคารพนับถือบูชา แล้วตรัสสอนภิกษุให้ทำเช่นนั้นบ้าง กับได้ตรัสสรุปว่า สิ่งที่ไม่ใช่ของท่าน จงละเสีย สิ่งที่ไม่ใช่ของท่านคือ ขันธ์ ๕ ( ความมุ่งหลายคือ เพื่อคลายความยึดถือ ).

   ๙. ทรงแสดงถึงผู้ปฏิบัติได้ผลในพระธรรมวินัยที่ตรัสไว้ดีแล้ว ตั้งแต่พระอรหันต์ลงมาถึงชั้นต่ำสุด คือผู้มีความศรัทธา มีความรักในพระองค์.

   

๒๓ . วัมมิกสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม พระกุมารกัสสปนำปัญหาของเทวดา   ๑๕ ข้อติดต่อกันไปทูลถามว่า ได้แก่อะไร ปัญหานั้นโดยใจความว่า พราหมณ์สั่งศิษย์ให้ขุดจอมปลวก ซึ่งเป็นควันในเวลากลางคืน เป็นเปลวไฟในเวลากลางวัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงเฉลยว่า   จอมปลวก ได้แก่กาย ( ของมนุษย์ ) เป็นควันในเวลากลางคืน เพราะคิดเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเปลวไฟในเวลากลางวัน   คือวุ่นวิ่งทำการงานด้วยกาย ด้วยวาจาในเวลากลางวัน พราหมณ์ที่สั่งให้ขุด คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศิษย์ผู้ขุด คือพระเสขะ ( ท่านผู้ยังศึกษา ) ศรัสตราที่ขุด คือปัญญา.

   

๒๔ . รถวินีตสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ . พระปุณณะ มันตานีบุตร เป็นผู้ได้รับสรรเสริญจากภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในชาติภูมิ ( เป็นที่แห่งหนึ่งในสักกชนบท ขึ้นแก่กรุงกบิลพัสดุ์ ) พระสารีบุตรจึงถือโอกาสที่ท่านมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วไปพักกลางวันในป่า เข้าไปพบสนทนาธรรมะกัน.

    ธรรมะที่ท่านสนทนากันนั้น คือเรื่องวิสุทธิ ( ความบริสุทธิ์หรือความหมดจด )   ๗ อย่าง มีความหมดจดแห่งศีลเป็นข้อแรก มีความหมดจดแห่งญาณทัสสะ ( ความเห็นด้วยญาณ ) เป็นข้อที่ ๗ .  ซึ่งพระปุณณะกล่าวว่า ท่านมิได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อวิสุทธิเพียงข้อใดข้อหนึ่ง แต่ประพฤติเพื่อความดับโดยไม่มีเชื่อเหลือเพราะ วิสุทธิเหล่านี้เป็นเพียงเหมือนรถ   ๗ ผลัดที่ส่งให้ถึงที่หมาย ( รถจึงมิใช่ที่หมาย แต่ส่งให้ถึงที่หมายได้ ).

    ทั้งสองท่านต่างชื่นชมภาษิตของกันและกัน.

   

๒๕ . นิวาปสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายถึงสมณพราหมณ์  ๔ ประเภท ที่ตกอยู่ในเงื้อมมือของมาร   ๓ ประเภท พ้นไปได้เพียง   ๑ ประเภท เปรียบเหมือนเนื้อ   ๔ ประเภทที่ตกอยู่ในเงื้อมมือของนายพรานปู้เอาเหยื่อล่อ   ๓ ประเภท พ้นไปได้เพียงประเภทเดียว. ทรงเปรียบโลกาทิส   ( รูป,   เสียง ,   กลิ่น ,   รส,  โผฏฐัพพะ  หรือกามคุณ ๕ )   ด้วยเหยื่อล่อ, เปรียบมารด้วยนายพราน, เปรียบบริษัทของมารด้วยบริษัทของนายพราน , เปรียบสมณะพราหมณ์ด้วยหมู่เนื้อ.

   ๑. สามณพราหมณ์พวกแรก ติดโลกามิส ไม่พ้นเงื้อมมือมาร จึงเปรียบเหมือนเนื้อพวกแรกที่เห็นแก่เหยื่อล่อของนายพราน.

   ๒. สมณพราหมณ์พวกที่สอง ไม่ติดตอนแรก แต่ไปติดตอนหลัง ( ไม่อดทนต่อความอดอยาก ) เปรียบเหมือนเนื้อพวกที่สองที่หนีเหยื่อตอนแรก แต่ทนอดไม่ได้ ต้องมาหาเหยื่อในภายหลัง.

   ๓. สมณพราหมณ์พวกที่สาม ไม่ติดอามิสความเห็นผิด เปรียบเหมือนเนื้อพวกที่สามที่ไม่ติดเหยื่อล่อ แต่ถูกล้อมจับด้วยเครื่องมือจับสัตว์.

   ๔. สมณพราหมณ์พวกที่สี่ ซึ่งไม่ติดอามิส ไม่ติดทิกฐิ ไม่ประมาท จึงพ้นจากเงื้อมมือมาร เปรียบเหมือนเนื้อพวกที่สี่ ซึ่งไม่ติดเหยื่อล่อ และไม่ถูกล้อมจับได้.

    ตรัสแสดงข้อปฏิบัติ คือรูปฌาน ๔   อรูปฌาน ๔   และสัญญาเวทยิตนิโรธ .  ว่ามิใช่คติของมารและบริษัทของมาร มารมองไม่เห็น.

   

๒๖ . ปสราสิสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์

   พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ แสดงการแสวงหาว่ามี   ๒ อย่าง    คือการแสดงหาไม่ประเสริฐ กับการแสวงหาอันประเสริฐ.

   ๑ . การแสวงหาไม่ประเสริฐ คือแสวงหาสิ่งที่มี ความเกิด ,   ความแก่ ,   ความตาย ,   ความโศก ,   ความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ส่วนการแสวงหาอันประเสริฐ คือแสวงหาพระนิพพาน อันไม่มีความเกิด เป็นต้น เป็นธรรมดา.

   ๒. ตรัสเล่าเหตุการณ์ในสมัยที่พระองค์ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ว่า ทรงมีความเกิด เป็นต้น เป็นธรรมดา แต่ก็หาแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด เป็นต้น เป็นธรรมดา จึงทรงพระดำริที่จะทรงแสวงหาพระนิพพาน.

   ๓. ตรัสเล่าเรื่องที่เสด็จออกผนวช เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่ม เสด็จไปศึกษาในสำนักของอาฬารดาบสกาลามโครต ทรงศึกษาปฏิบัติสมาบัติชื่ออากิญจัญญาตนะ ( นับเป็นสมาบัติที่   ๗ ซึ่งเพ่งอารมณ์เห็นว่าไม่มีอะไร ) เมื่อทรงเห็นว่ามิใช่ทางพระนิพพาน จึงเสด็จออกจากสำนักนั้น ไปศึกษาในสำนักของอุททกดาบสรามบุตร ทรงศึกษาปฏิบัติสมาบัติเนวสัญญายตนะ ( นับเป็นสมาบัติที่   ๘   ที่ละเอียดถึงขนาดว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ) ซึ่งก็ทรงเห็นว่ายังมิใช่ทางพระนิพพาน.

    ๔. จึงเสด็จไปสู่ตำบนอุรุเวลาเสนานิคม ทรงทำความเพียรจนได้ค้นพบพระนิพพาน และเห็นธรรมะนี่ลุ่มลึก จึงคิดจะไม่ทรงแสดงธรรม ต่อท้าวสหัมบดีพรหมมาอาราธนา จึงทรงตกลงพระหฤทัยจะแสดงธรรม.

   ๕. ครั้งแรกทรงคิดถึงดาบสทั้งสองที่เคยทรงศึกษาด้วย แต่ทรงทราบว่าตายเสียแล้ว จึงทรงรำลึกถึงพระปัญจวัคคีย์   ( ภิกษุ ๕ รูป )   ซึ่งเคยรับใช้พระองค์มาในระหว่างทรงทำความเพียร ในระหว่างที่เสด็จไปสู่กรุงพาราณสีได้ทรงพบอุปกาชีวก แต่อุปกาชีวกไม่เลื่อมใสที่ทรงตอบคำถามว่า ทรงตรัสรู้ได้เอง จึงหลีกไป ครั้นแล้วได้แสดงธรรมโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์เมื่อเสด็จไปที่พักของเธอ.

    ๖. ใจความในพระธรรมเทศนา ( เป็นเชิงเตือนใจก่อนแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ) ว่า กามคุณ   ๕   คือ   รูป   เสียง  กลิ่น รส   โผฏฐัพพะ   ที่น่าปรารถนารักใคร่ชอบใจ ทำให้สมณพราหมณ์ผู้ติดอยู่ถึงความพินาศเหมือนเนื้อติดบ่วง.

   ๗. ทรงแสดงข้อปฏิบัติ ตั้งแต่ฌานที่ ๑     ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ   รวม   ๙ ข้อ  เหมือนในนิวาปสูตรว่า ไม่ไปสู่ทางของมาร.

   

๒๗ . จูฬหัตถิปโทปมสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก

   ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้ฟังปริพพาชกผู้นุ่งผ้าผ่อนท่อนเก่า สรรเสริญพระพุทธเจ้า ๔ ข้อ ( จำแนกตามประเภทบุคคล ) คือ กษัตริย์ ,   พราหมณ์ ,   คฤหบดี ,     ผู้เป็นบัณฑิตแต่งปัญหาเตรียมยกวาทะ พอได้พบปะชื่นชมด้วยธรรมกถา ก็เลยไม่ถาม เลยไม่ได้ยกวาทะ กลายมาเป็นสาวกของพระสมณโคดมไป และ สมณะ   ผู้เป็นบัณฑิตก็เช่นกัน แต่งปัญหาเตรียยกวาทะ พอได้พบปะชื่นชมด้วยธรรมกถา ก็เลยไม่ถาม เลยไม่ได้ยกวาทะ ขอโอกาสออกบวช ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อยู่ในปัจจุบัน. สมณะเหล่านั้นย่อมกล่าวว่า เมื่อก่อนไม่ได้เป็นสมณะ ไม่เป็นพราหมณ์ ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ แต่ปฏิญญาตนว่าเป็น แต่บัดนี้เป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ เป็นพระอรหันต์ ( จริง ๆ แล้ว ) . ชาณุสโสณิพราหมณ์ก็เลื่อมใส ลงจากรถขาว เทียมด้วยม้าขาว ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า เปล่งวาจานมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า ( นโม ตสฺส ฯลฯ )

   ๒. ชาณุสโสณิพราหมณ์ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลความที่ได้สดับจากปริพพาชกผู้นุ่งผ้าท่อนเก่านั้นทุกประการ. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ พรรณาถึงการที่พระตถาคตเกิดขึ้นในโลก ทรงแสดงธรรมแล้ว คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีได้สดับธรรมออกบวช เว้นจากความชั่วต่าง ๆ มีศีล สำรวมอินทรีย์ มีสติสัมปชัญญะเสพเสนาสนะอันสงัด ชำระจิตจากนีวรณ์.   ๕ บำเพ็ญสมาธิจนได้ฌานที่ ๑   ที่ ๒  ที่ ๓  ที่ ๔ ,    ได้ปุพเพนิวาสานุสสติฌาณ ( ญาณอันทำให้ระลึกชาติได้ ) ,   ได้จุตูปปาตญาณ   ( ญาณเห็นความตาย ความเกิด หรือทิพยจักษุญาณก็เรียก ) ,   ได้อาสวักขยญาณ   ( ญาณอันทำให้อาสวะคือกิเลสที่ดองสันดานให้สิ้น ) แต่ละขั้นที่บำเพ็ญมาตั้งแต่ได้ฌาณที่   ๑ จนถึงได้อาสวักขยญาณ ก็ยังไม่ปลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ดีโดยชอบ , พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว , พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. ต่อเมื่อจิตพ้นจากอาสวะ และเกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว ชาติสิ้นสุดแล้ว จบพรหมจรรย์แล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงความเป็นอย่างนี้อีก ที่เทียบด้วยร่องรอยของตถาคต ธรรมะที่ตถาคตส้องเสพ และหักรานแล้ว.  จึงถึงความปลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ดีโดยชอบ เป็นต้น เปรียบเหมือนคนที่เข้าไปสู่ป่าที่ช้างอยู่ เห็นรอยเท้าช้างใหญ่   ยาว   กว้าง   เห็นที่ซึ่งช้างเสียดสีในเบื้องสูง ถ้าเป็นผู้ฉลาดก็ยังไม่ปลงใจทีเดียวว่า ช้างตัวนี้ใหญ่ เพราะมีช้างพัง ( ช้างตัวเมีย ) ชื่ออุจจากฬาริกา ที่มีรอยเท้าใหญ่ อาจเป็นรอยเท้าของช้างพังนั้นก็ได้ . หรือเห็นรอยเท้าช้างใหญ่   ยาว  กว้าง   เห็นที่ซึ่งช้างเสียดสีในเบื้องสูง เห็นรอยงาระเบื้องสูง ถ้าเป็นผู้ฉลาด ก็ยังไม่ปลงใจทีเดียวว่าช้างตัวนี้ใหญ่ เพราะมีช้างพังชื่ออุจจากเรณุกา ที่มีรอยเท้าใหญ่ อาจเป็นรอยเท้าของช้างพังนั้นก็ได้. ต่อเมื่อเห็นรอยเท้าช้างใหญ่   ยาว กว้าง  เห็นที่ซึ่งช้างเสียดสีในเบื้องสูง เห็นรอยงาระในเบื้องสูง และเห็นพญาช้างนั้นซึ่งกำลังไปสู่โคนไม้หรือกลางแจ้ง   หรือยืน   หรือเทา   ( นั่ง )   หรือนอน เขาจึงปลงใจว่า นี้แหละคือช้างใหญ่ฉะนั้น.

   ชาณุสโสณิพราหมณ์ก็เลื่อมใสพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.

   

๒๘ . มหาหัตถิปโทปมสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่

   ๑ พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม . พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ใจความว่า กุศลธรรมทุกอย่าง ย่อมรวมลงในอริยสัจจ์ ๔   เหมือนรอยเท้าสัตว์ทุกชนิดรวมลงในรอยเท้าช้าง.

   ๒. ครั้นแล้วได้อธิบายรายละเอียดเฉพาะทุกขอริยสัจจ์ข้อแรก โดยแสดงความเกิดแก่ตาย เป็นต้น ว่าเป็นทุกข์ และกล่าวรวบยอดอุปาทานขันธ์ ( กองแห่งรูปนามที่ยึดถือ )   ๕ อย่างว่าเป็นทุกข์ และได้อธิบายโดยพิเศษ เฉพาะกองรูปซึ่งแยกออกเป็นรูปใหญ่ (มหาภูตรูป )   คือรูปที่ประกอบด้วยธาตุ ๔   กับอุปาทารูป   ( รูปอาศัย คือต้องอาศัยธาตุ   ๔ จึงปรากฏ ) แล้วได้แจกรายละเอียดเรื่องธาตุดิน   น้ำ   ไฟ  ลม   ทีละข้อจนจบ โดยสรุปท้ายในตอนท้ายในตอนจบว่า ความพอใจ ความอาลัยในอุปทานขันธ์ ๕   เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด นำออกเสียละเสีย ซึ่งความพอใจในอุปาทานขันธ์   ๕ เป็นความดับทุกข์ ส่วนข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ไม่ได้แสดงโดยตรงหากได้พูดไว้ท้ายการแจกรายละเอียดเรื่องทุกข์อต่ละข้อ.

   

๒๙ . มหาสาโรปมสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่

   พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงการที่ผู้ออกบวชได้ผลดีบางอย่าง หรือทำความดีบางอย่างให้เกิดแล้วมัวเมาประมาท ยกตนข่มผู้อื่น เพราะเหตุแห่งผลดีหรือความดีนั้น ๆ เทียบด้วยผู้ถือเอาสิ่งที่มิใช่แก่นไม้ว่าเป็นแก่นไม้ ในที่สุดได้ทรงแสดงความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่กำเริบว่าเป็นเหมือนแก่นไม้ . ต่อไปนี้เป็นข้อเปรียบเทียบที่ทรงแสดง.

    ๑. ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งและใบไม้
   ๒. ความสมบูรณ์ด้วยศีล   เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้
   ๓. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ   เปรียบเหมือนเปลือกไม้
   ๔. ญาณทัสสะ   ( ความหลุดพ้นแห่งใจที่กลับกำเริบ )   เปรียบเหมือนกะพี้ไม้.
   ๕. อกุปปา   เจโตวิมุติ   ( ความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่กลับกำเริบ ) เปรียบเหมือนแก่นไม้.

   

๓๐ . จูฬสาโรปมสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก

   พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม. ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย มีใจความคล้ายคลึงกับสูตร ๒๙  ข้างบนนี้ โดยเฉพาะจูฬสาโรปมสูตรนี้แปลไว้อย่างละเอียดแล้วในข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หมายเลข ๑.

    จบวรรคที่ ๓   ขึ้นวรรคที่ ๔   ชื่อมหามกวรรค คือวรรคที่มีสูตรคู่ขนาดใหญ่ ( คู่กับ จูฬยมกวรรค คือวรรคที่มีสูตรคู่ขนาดเล็กซึ่งอยู่ถัดไป ) มี ๑๐ สูตร.


๑. หมายถึงสมัยแรก ๆ ภิกษุชั้นดีมีมาก ไม่ต้องกล่าวกันมาก เพียงแนะนำก็รับไปปฏิบัติ อรรถกถาเล่าเพื่อชี้ให้เห็นว่า พระโมลิยผัคคุเป็นพระดื้อว่ายาก

๒. เอกาสนโภชนํ ( การฉันบนอาสนะเดียว ) อรรถกถาแก้ว่า หมายถึงกำหนดเวลาฉันอาหารเช้าชั่วเที่ยง จะฉันสัก ๑๐  ครั้งในกำหนดนั้น ก็ชื่อว่าฉันมื้อเดียว เป็นเรื่องน่าพิจารณา

๓. ในรายละเอียดได้แจกออกไปด้วยว่า ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เป็นต้น โดยใจความก็คือ ธรรมะในที่นี้ หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ๙ อย่าง   มีสุตรเป็นต้น

๔. อรรถกถาชี้ว่าภายนอกเช่น เครื่องใช้ ภายใน ได้แก่ขันธ์ หรือส่วนประกอบที่รวมเป็นกายใจ

๕. ดูข้อความละเอียดในทสุตตรสูตรที่ ๑๑   แห่งพระไตรปิฎก เล่ม ๑๑  ซึ่งย่อไว้ในเล่มนี้แล้ว ลำดับแห่งวิสุทธิ ๗ (พระสุตตันตะเล่ม ๓ หน้าที่ ๔ )  มีในหมวด ๙ ซึ่งในที่นั้นแสดงวิสุทธิ ๙

๖. ธรรมะเป็นเครื่องอยู่แห่งใจ ๙ ประการนี้ มีแปลและอธิบายไว้แล้วในข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก หมายเลข ๑๙๙ , ๒๐๐

๗. ฉบับยุโรปเรียกอริยปริเยสนสูตร แปลว่า สูตรว่าด้วยการแสดงหาอันประเสริฐ

๘. พึงสังเกตอย่างหนึ่งว่านีวรณ์ ๕   ที่กล่าวถึงในสูตรนี้ และในหลายสูตร เช่น สามัญญผลสูตร ดูที่ (พระสุตตันตะ เล่ม ๑ หน้าที่ ๑ และสูตรอื่น ๆ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ ( ดูที่ พระสุตตันตะเล่ม ๓ หน้าที่ ๑ ใช้อภิชฌาแทนกามฉันท์ในข้อแรกเสมอ

๙. ความจริงตรงนี้ใช้สำนวนอุปมาเกี่ยวกับช้าง คือรอยเท้าช้าง เทียบด้วยร่องรอยของพระตถาคต , ที่ที่ช้างเสียดสี เทียบด้วยธรรมะที่พระตถาคตส้องเสพ , กิ่งใบไม้ที่ช้างเอางาระ เทียบด้วยธรรมะ ( ฝ่ายชั่ว ) ที่พระตถาคตหักราน อรรถกถาอธิบายว่า เปรียบเหมือนเสียดสีหรือเคี้ยวด้วยญาณ

 

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ