บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            ในอเจลกวรรคที่ ๕ ประดับด้วยสิกขาบท ๑๐ อเจลกะ สิกขาบทที่ ๑ ความว่า ภิกษุให้ของเคี้ยวของฉันซึ่งเป็นอามิส สิ่งใด สิ่งหนึ่ง ด้วยมือของตนแก่เดียรถีย์ คือ อเจลกะคนเปลือย และ ปริพพาชก และนางปริพพาชิกา ซึ่งเป็นคนถือเพศบวชนอก พุทธศาสนา ใช่สหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านี้ ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นปาจิตตีย์ นับด้วยประโยคที่ให้.

ป?ม? จบ

            ในอุยโยชนะสิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุชวนภิกษุด้วยกันไป บิณฑบาตยังบ้านและนิคมแล้ว จะให้เขาให้อามิสแก่เธอนั้นก็ตาม ไม่ให้ให้ก็ตาม เธอเองอยากจะซิกซี้เล่น หรือจะนั่งในที่ลับกับมาตุคาม หรือจะประพฤติอนาจาร อย่างใดอย่างหนึ่ง และขับไล่ภิกษุนั้นเสีย ต้องทุกกฏ เธอนั้นล่วงอุปจารแล้วด้วยเท้าข้างหนึ่ง ผู้ไล่ต้องทุกกฏ เธอล่วงด้วยเท้าที่ ๒ ผู้ไล่ต้องปาจิตตีย์ ในโอกาสที่แจ้งประมาณ ทัสสนูปจารเพียง ๑๒ ศอก สวนูปจารก็เหมือนกัน ถ้าผาหรือประตู หรือกำแพงเป็นต้นกั้นอยู่ ความล่วงที่กั้นด้วยของเหล่านั้นแล ชื่อว่า ล่วงอุปจาร ในอุปสัมบัน เป็นติกกปาจิตตีย์ ในอนุปสัมบัน เป็นติกก ทุกกฏ กล่าวกลิศาสนะแก่อุปสัมบันและอนุปสัมบันทั้งสองว่า ท่าน ทั้งหลายมาดูเถิด คนนี้ยืนเหมือนตอ นั่งเหมือนสุนัข เหลียวแลเหมือน วานร ดังนี้ ต้องทุกกฏ ไล่ให้ไปด้วยเหตุอันสมควร เป็นต้นว่า ๒ รูป อยู่แห่งเดียวกัน จะไม่พอเลี้ยงชีพ และเห็นของดีมีราคา และเห็น หญิงจะเกิดโลภและความกระสัน หรือให้เอาของไปให้คนไข้เป็นต้น หรือไม่ประสงค์จะประพฤติอนาจาร มีกิจเกิดขึ้นส่งกลับไป และภิกษุ บ้าเป็นต้น เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ เป็นสาณัตติกะ ต้องเพราะบังคับ คือไล่ไป มีองค์ ๓ ใคร่จะประพฤติอนาจาร ๑ ไล่อุปสัมบันเพื่อ ประโยชน์นั้น ๑ ผู้ต้องไล่ล่วงอุปจาร ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึง เป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนอทินนาทานสิกขาบท.

ทุติย? จบ

            ในสโภชนะสิกขาบทที่ ๓ ความว่า ในตระกูลใดผัวเมีย ใช่พระ อนาคามี ผู้หน่ายจากความกำหนัดแล้ว เข้าอยู่ในเรือนเป็นที่นอน เขายังไม่ออก ถ้าเรือนใหญ่ ภิกษุล่วงหัตถบาส เช็ดหน้าประตูเรือน เข้าไป ถ้าเรือนเล็ก ล่วงท่ามกลางเรือนเข้าไป นั่งในที่ใกล้แห่งที่ นอน ไม่มีภิกษุอื่นเป็นสองด้วย ต้องปาจิตตีย์.

ตติย? จบ

            ในปฐมรโหนิสัชชะสิกขาบทที่ ๔ ความว่า ภิกษุใด นั่งนอนใน อาสนะซึ่งบังด้วยเครื่องบังลับตา กับด้วยมาตุคามแม้เกิดในวันนั้น ปาจิตตีย์.

จตุตฺถ? จบ

            ในทุติยรโหนิสัชชะสิกขาบทที่ ๕ ความว่า ภิกษุใด นั่งนอนใน ที่แจ้งลับหู กับด้วยหญิงผู้รู้ความก็ผู้เดียว ต้องปาจิตตีย์.

ป?ฺจม? จบ

            สมุฏฐานวิธีเป็นต้นแห่งสิกขาบททั้ง ๒ นี้ เหมือนด้วยปฐม- ปาราชิก เนื้อความนอกนั้น พึงรู้โดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในอนิยตะ ทั้ง ๒.

            ในจาริตตะสิกขาบทที่ ๖ ความว่า ภิกษุใด อันทายกเขานิมนต์ ด้วยโภชนะทั้ง ๕ สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันใดแล้ว เธอฉันโภชนะที่เขานิมนต์ นั้นแล้ว หรือยังไม่ได้ฉันก็ตาม ไม่ลาภิกษุที่มีอยู่ และไปสู่ตระกูล อื่นจากตระกูลแห่งผู้นิมนต์นั้น ในเช้าชั่วเที่ยง เมื่อลงอุปจารเรือน แห่งตระกูลอื่นนั้น ต้องทุกกฏ ก้าวล่วงธรณีประตูเรือนด้วยเท้าที่แรก ต้องทุกกฏอีก ก้าวล่าวงด้วยเท้าที่ ๒ ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีจีวรทาน สมัย คราวให้จีวร และจีวรการสมัย คราวทำจีวร ดังกล่าวแล้วในคณะ โภชนะ ภิกษุใดอยู่ในทัสสนูปจารในภายในอุปจารสีมา พอจะบอก ได้ด้วยคำเป็นปกติ ภิกษุนั้นชื่อว่ามีอยู่ พ้นกว่านั้นชื่อว่าไม่มี ในภิกษุ เขานิมนต์แล้ว เป็นติกกปาจิตตีย์ เขาไม่ได้นิมนต์สำคัญว่าเขานิมนต์ หรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ รู้ว่าเขาไม่ได้นิมนต์ เป็นอนาบัติ สมัยทั้ง ๒ มี หรือลาภิกษุที่มีอยู่ว่า เราจะไปเรือนคนนั้นแล้วไป และภิกษุไม่มี ไม่ลาแล้วไป หรือหนทางไปโดยเรือนและอุปจารเรือนแห่งผู้อื่น เดินไปตามทางนั้น หรือไปสู่อารามอยู่ในภายในบ้าน ไปที่อยู่นาง ภิกษุณี ไปที่อยู่เดียรถีย์ ไปโรงฉัน ไปเรือนที่เขานิมนต์หรือเรือน ผู้ให้สลากภัต เป็นต้น และไปเพราะอันตราย และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๕ ยินดีเขานิมนต์ด้วย โภชนะ ๕ อันใดอันหนึ่ง ๑ ไม่ลาไม่บอกภิกษุที่มีอยู่ ๑ ไปเรือน อินจากเรือนผู้นิมนต์ ๑ ยังไม่ล่วงเวลาเที่ยวไป ๑ ไม่มีสมัยหรือ อันตราย ๑ พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือนปฐมกฐินะสิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้เป็นกิริยา กิริยะ.

ฉฏฺ?? จบ

            ในมหานามะสิกขาบทที่ ๗ ความว่า ทายกปวารณาด้วยปัจจัย คือยา มีเนยใสเป็นต้น เพียง ๔ เดือน หรือปวารณาซ้ำ ปวารณาเป็น นิตย์ก็ตาม ภิกษุไม่เป็นไข้ อย่าพึงห้ามเสียเลย พึงยินดีรับเถิด ถ้าเขา ปวารณากำหนดราตรีและกำหนดยาไว้เพียงใด พึงขอเขาตามกำหนด ถ้าเธอขอเขาให้เกินกำหนดราตรี และยาซึ่งเขากำหนดไว้นั้น และกิจ ซึ่งจะต้องการด้วยยาไม่มี ขอยามา ก็ดี หรือขอยาอื่นจากยาที่จะพึง ต้องการ ก็ดี ต้องปาจิตตีย์ ในขอยิ่งกว่ากำหนด เป็นติกกปาจิตตีย์ ไม่ยิ่งกว่ากำหนด หรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ รู้ว่ายังไม่ยิ่งกว่ากำหนด เป็นอนาบัติ เมื่อความต้องการมี บอกเขาตามจริงแล้ว ขอให้เกิน กำหนดยา กำหนดราตรีไป หรือขอแต่ญาติและคนผู้ปวารณา ด้วยปวารณาเป็นบุคคล และปวารณาไม่มีที่สุด หรือขอเพื่อผู้อื่น หรือ แลกเอาด้วยทรัพย์ของตน และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๔ เขาปวารณาแก่สงฆ์ ๑ ขอยาให้เกินกว่า นั้น ๑ ไม่เป็นไข้ ๑ ล่วงกำหนดแล้ว ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึง เป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วยสัญจริตตะสิกขาบท.

สตฺตม? จบ

            ในอุยยุตตะสิกขาบทที่ ๘ ความว่า ภิกษุใดไป ดูจตุรังคินีเสนา กระบวนทัพ ซึ่งยกออกมาจากบ้านเมือง ต้องทุกกฏทุก ๆ ก้าว ยืนใน ทัสสนูปจารแลเห็น ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่เหตุที่สมควรมี คือญาติ อยู่ในหมู่เสนาเป็นไข้ ไปเยี่ยมญาติ ไม่เป็นอาบัติ ช้างมีคนสำหรับ ๑๒ คน ม้ามีคนสำหรับ ๓ คน รถมีคนสำหรับ ๔ คน คนเดินเท้า ๔ คน มือถืออาวุธ ชื่อว่าจตุรังคินีเสนา ยืนในที่ใดแลเห็น ที่นั้นชื่อว่า ทัสสนูปจาร มละทัสสนูปจารแล้วแลดูบ่อย ๆ เป็นปาจิตตีย์ตาม ประโยค ในเสนายกกระบวนทัพ เป็นติกกปาจิตตีย์ ไปดูเสนาแต่ ไม่ครบองค์ ๔ แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นทุกกฏโดยนัยดังกล่าวแล้ว ใช่ กระบวนเสนายกทัพ สำคัญว่ากระบวนเสนายกทัพ หรือสงสัยอยู่ เป็น ทุกกฏ รู้ว่าใช่กระบวนเสนายักทัพ เป็นอนาบัติ ยืนอยู่ในอารามแล เห็น หรือเห็นเขายกมายังที่อยู่ของตน หรือเดินทวนทางไปพบเข้า หรือมีเหตุ และมีอันตราย และภิกษุบ้า เป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๔ กระบวนจตุรังคินีเสนายกทัพออก ๑ ไป เพื่อจะดู ๑ เห็นในที่อื่นพ้นโอกาสซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ๑ ไม่มีเหตุที่สมควรหรืออันตราย ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงเป็น ปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนเอฬกโลมะสิกขาบท แปลก แต่สิกขาบทนี้เป็นโลกวัชชะ เป็น อกุสลจิต มีเวทนา ๓.

อฏฺ?ม? จบ

            ในเสนาวาสะสิกขาบทที่ ๙ ความว่า เหตุอันใดอันหนึ่ง ที่จะพึง ไปยังกองทัพ ถ้ามีขึ้นแก่ภิกษุ ให้ภิกษุนั้น พึงอยู่ในกองทัพเพียง ๒ คืน ๓ คืน ถ้าภิกษุอยู่ในกองทัพให้เกิน ๓ ราตรีขึ้นไป ในวันที่ ๔ อาทิตย์อัสดงคตแล้ว เธอจะยืนหรือนั่ง หรือนอนอยู่ในกองทัพก็ตาม หรือจะเหาะอยู่ในอากาศก็ตาม คงเป็นปาจิตตีย์.

นวม? จบ

            ในอุยโยธิกะ สิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า ภิกษุถ้าไปอยู่ในกองทัพ ๒ คืน ๓ คืน ด้วยเหตุที่สมควร และไปเที่ยวดูยังที่เขารบกัน หรือ ที่ตรวจพล หรือที่จัดพล หรือไปดูกองช้าง กองม้า กองรถ กองเดินเท้า เป็นอาบัติทุกกฏ ทุก ๆ ก้าว ยืนในทัสสนูปจารแลเห็น เป็นปาจิตตีย์ ช้างตั้งแต่ ๓ ขึ้นไป ชื่อว่าหัตถานีก กองช้าง ม้าตั้งแต่ ๓ ขึ้นไป ชื่อว่า อัสสานีก กองม้า รถตั้งแต่ ๓ ขึ้นไป ชื่อว่ารถานีก กองรถ ทั้ง ๓ นี้ มีคนสำหรับดังกล่าวแล้วทุก ๆ กอง คนเดินเท้าแต่ ๔ ขึ้นไป มีอาวุธ สำหรับมือ ชื่อว่า ปัตตานีก กองเดินเท้า.

ทสม? จบ ป?ฺจโม วคฺโค จบวรรคที่ ๕

            ในสุราปานวรรคที่ ๖ ประดับด้วยสิกขาบท ๑๐ สุราปานะ สิกขาบทเป็นต้น ความว่า น้ำเมาเขาทำด้วยเชื้อมีแป้ง เป็นต้น ชื่อ ว่าสุรา น้ำดองเขาทำด้วยดอกไม้ เป็นต้น ชื่อว่าเมรัย ทั้งสองสิ่งนั้น ตั้งแต่พืชไป ภิกษุดื่มกินแม้ด้วยปลายหญ้าคา เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ประโยค ในน้ำเมา เป็นติกกปาจิตตีย์ ใช่น้ำเมา สำคัญว่าน้ำเมา หรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ รู้ว่าใช่น้ำเมา เป็นอนาบัติ ดื่มกินซึ่งยา ชื่อ โลณโสจิรกะ และยาสุรัตตะ ซึ่งใช่ของเมา แต่มีสีและกลิ่นและรสดัง น้ำเมา หรือแกงและเนื้อ และน้ำมัน และมะขามป้อม และน้ำอ้อยงบ เขาเจือน้ำเมาลงหน่อยหนึ่งเพื่อจะห้ามคาว และอบกลิ่นเพื่อจะให้แรง ดี กลิ่นสีรสไม่ปรากฏ หรือดื่มยาอริฏฐะที่เขาทำด้วยรสมะขามป้อม เป็นต้น ไม่เมาแต่เหมือนน้ำเมา ก็ดี และภิกษุบ้า เป็นต้น เหล่านี้ ไม่อาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๒ เป็นน้ำเมา ๑ ดื่มกิน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือน เอฬกโลมะสิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้เป็นโลกวัชชะ เป็นอกุสลจิต มีเวทนา ๓.

ป?ม? จบ

            ในอังคุลิปโตทกะสิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุประสงค์จะซิกซี้ และจี้กระทบถูกต้องอุปสัมบัน ในกายแห่งใดแห่งหนึ่ง มีรักแร้ เป็นต้น ด้วยนิ้วมือ หรืออวัยวะอันใดอันหนึ่งแห่งตน เป็นปาจิตตีย์ ในอุปสัม บัน เป็นติกกปาจิตตีย์ ในอนุปสัมบัน เป็นติกกทุกกฏ ในที่นี้แม้ นางภิกษุณี ชื่อว่าเป็นอนุปสัมบันแห่งภิกษุ ๆ ชื่อว่าเป็นอนุปสัมบัน แห่งนางภิกษุณี ในจี้ด้วยของที่เนื่องด้วยกาย หรือโยนไปให้ถูก ข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง เป็นทุกกฏสิ้น ไม่ประสงค์จะซิกซี้และถูก ต้องเข้า หรือมีกิจถูกต้องเข้า และภิกษุบ้า เป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๒ อธิบายจะเล่นสนุก ๑ ต้องกายอุปสัมบัน ด้วยกายตน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือนปฐมปาราชิก.

ทุติย? จบ

            ในหัสสธัมมะสิกขาบทที่ ๓ ความว่า ภิกษุประสงค์จะเล่นน้ำ ในน้ำที่ลึกท่วมข้อเท้า ลงไปเพื่อจะเล่น เป็นทุกกฏทุก ๆ วาระเท้า ดำลงผุดขึ้น เป็นปาจิตตีย์ทุกประโยค ดำลงว่ายไปในภายในน้ำ เป็น ปาจิตตีย์ทุกวาระมือวาระเท้า ว่ายไปบนน้ำด้วยอวัยวะอันใด เป็น ปาจิตตีย์ทุก ๆ ประโยคแห่งอวัยวะอันนั้น ในกายเล่นสนุกในน้ำท่วม ข้อเท้า เป็นติกกปาจิตตีย์ ในใช่การเล่นสนุกในน้ำ สำคัญว่าเล่น หรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ ลงเล่นในน้ำตื้นใต้ข้อเท้าลงไป และเล่น ด้วยเรือ หรือกระทบน้ำเล่นด้วยมือ ด้วยเท้า ด้วยไม้ ด้วยกระเบื้อง หรือเล่นน้ำอยู่ในภาชนะและน้ำส้ม เป็นต้น และเล่นน้ำโคลนและวัก เล่น ก็ดี เป็นทุกกฏ ก็แลจะเขียนอักษรส่องเนื้อความควรอยู่ ไม่ ประสงค์จะเล่นลงอาบน้ำโดยปกติ หรือลงดำน้ำเป็นต้นด้วยกิจ หรือ ว่ายข้ามฟาก หรือมีอันตราย และภิกษุบ้า เป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๒ น้ำลึกท่วมข้อเท้า ๑ ลงเล่นประสงค์จะ สนุก ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือนปฐมปาราชิก.

ตติย? จบ

            ในอนาทริยะสิกขาบทที่ ๔ ความว่า ภิกษุอันอุปสัมบันภิกษุ ด้วยกัน ตักเตือน ว่ากล่าว สั่งสอน ชักชวน ห้ามปราม ด้วยสิกขาบทที่ พระพุทธเจ้าเจ้าบัญญัติ ไม่เอื้อเฟื้อต่อบุคคลนั้นหรือต่อธรรม เป็น ปาจิตตีย์ คิดว่า ผู้นี้เป็นคนอันผู้อื่นเขายกโทษเย้ยหยันติเตียนอยู่ คำ ของผู้นี้เราจักไม่ทำตาม และทำความไม่เอื้อเฟื้อ ดังนี้ ชื่อว่าไม่ เอื้อเฟื้อต่อบุคคล คิดว่า ยังไรหนอ ธรรมข้อนี้จะพึงฉิบหายไป ก็ดี หรือไม่อยากจะศึกษาธรรมนั้น ก็ดี และทำความไม่เอื้อเฟื้อ ดังนี้ ชื่อว่า ไม่เอื้อเฟื้อต่อธรรม ในอุปสัมบัน เป็นติกกปาจิตตีย์ ในอนุป สัมบัน เป็นติกกทุกกฏ อุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ตักเตือนว่ากล่าว ด้วยธรรมอันอื่นใช่สิกขาบทบัญญัติ เป็นต้นว่า สิ่งนี้ไม่เป็นไม่เพื่อ สัลเลขะ คือขดกิเลส ดังนี้ ไม่เอื้อเฟื้อ เป็นทุกกฏ ก็แลภิกษุใดเรียน อุคคหะ ซึ่งมาตามประเพณี และกล่าวตอบว่า อุคคหะ และ ปริปุจฉา ความเล่าเรียนบาลีและอรรถกถาแห่งอาจารย์ของข้าพเจ้าอย่างนี้ ก็ดี และภิกษุบ้า เป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๒ อุปสัมบันตักเตือนว่ากล่าวบัญญัติ ๑ ทำความไม่เอื้อเฟื้อ ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือน อทินนาทานสิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้ เป็นทุกขเวทนา.

จตุตฺถ? จบ

            ในภิงสาปนะสิกขาบทที่ ๕ ความว่า ภิกษุหลอนภิกษุอื่นด้วยกัน คือนำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป หรือ กล่าวคำที่น่ากลัว เป็นต้นว่า ทีนี้โจรร้าย เสือร้าย ดังนี้ เพื่อจะให้กลัว เธอนั้นจะกลัวก็ตาม ไม่กลัวก็ตาม ผู้หลอนต้องปาจิตตีย์ ใน อุปสัมบัน เป็นติกปาจิตตีย์ ในอนุปสัมบัน เป็นติกกทุกกฏ ไม่หมาย จะหลอกให้กลัว และนำเอารูปเป็นต้นเข้าไป หรือบอกที่กันดารด้วย โจรเป็นต้น และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๒ ผู้ที่จะพึงหลอนนั้น เป็นอุปสัมบัน ๑ พยายามด้วยหวังจะให้ อุปสัมบันนั้นกลัวในวิสัยที่เธอจะเห็นและได้ยิน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วยสิกขาบทในลำดับมา.

ป?ฺจม? จบ

            ในโชติสมาทหนะสิกขาบทที่ ๖ ความว่า ภิกษุใด ไม่เป็นไข้ เธอประสงค์จะผิงไฟ ติดไฟเองตั้งแต่จัดแจงไม้สีไฟไป เปลวไฟ ยังไม่ลุกขึ้นตราบใด ในประโยคทั้งปวงเป็นทุกกฏอยู่ตราบนั้น เปลวไฟลุกขึ้น เป็นปาจิตตีย์ ใช้ให้ผู้อื่นติดไฟ เป็นทุกกฏเพราะบังคับ บังคับคราวเดียว แม้เขาติดไฟลุกขึ้นมาก ต้องปาจิตตีย์ตัวเดียว เท่านั้น เว้นไว้แต่เหตุอันควร คือตามประทีปหรือติดไฟระบมบาตร เป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ ภิกษุใดเป็นไข้เว้นไฟเสียไม่สบาย ชื่อว่า เป็นไข้ แต่หนาวตามฤดู จะชื่อว่าเป็นไข้นั้นหาไม่ ในภิกษุไม่เป็นไข้ เป็นติกกปาจิตตีย์ เป็นไข้สำคัญว่าไม่เป็นไข้ หรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ ดุ้นไฟตกแล้วดับ ไปยกขึ้นตามที่ เป็นทุกกฏ ถ้าดุ้นไฟนั้นดับ ก่อให้ โพลงขึ้น เป็นปาจิตตีย์ รู้ว่าเป็นไข้ เป็นอนาบัติ ผิงไฟที่ผู้อื่นก่อ ไฟถ่านใช่ไฟลุก และติดไฟเพราะเหตุอันสมควร หรือมีอันตราย และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๔ ไม่เป็นไข้ ๑ ไม่มีเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ๑ ใคร่จะผิง ๑ ติดเองหรือให้ผู้อื่นติดให้โพลงขึ้น ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงเป็น ปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น พึงรู้โดยนัยดังกล่าวแล้วในสัญจริตตะ สิกขาบท.

ฉฏฺ?? จบ

            ในนหานะสิกขาบทที่ ๗ ความว่า ภิกษุใด อยู่ในมัชฌิมประเทศ แต่วันอาบน้ำก่อนมา คิดเป็นกึ่งเดือนยังไม่เต็ม เธอคิดจะอาบน้ำ ตกแต่งจุรณหรือดินอยู่ แต่นั้นมาในประโยคทั้งปวง เป็นทุกกฏ อาบน้ำเสร็จแล้ว เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีสมัย เหล่านี้อันใดอันหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติ คือปลายฤดูร้อนเดือนครึ่ง ชื่อว่าอุณหสมัย คราวร้อน ต้นฤดูฝนเดือนหนึ่ง ชื่อว่าปริฬาหสมัย คราวกระวนกระวาย เป็นไข้ เว้นอาบน้ำไม่สบาย ชื่อว่าคิลานสมัย ทำการโดยที่สุดแม้กวาด บริเวณ ชื่อว่ากัมมสมัย คราวทำการ จักเดินทางเพียงกึ่งโยชน์ หรือ เดินไปอยู่ หรือเดินมาถึงแล้ว ชื่อว่าอัทธานคมนสัย คราวเดินทาง ไกล ลมพัดธุลีถูกตัว และฝน ๒ เมล็ด หรือ ๓ เมล็ดตกถูกตัว ชื่อว่า วาตวุฏฐิสมัย คราวฝนลม สิกขาบทนี้เป็นประเทศบัญญัติ เฉพาะใน มัชฌิมประเทศ อยู่ในปัจจันตประเทศ อาบได้เป็นนิตย์ ไม่เป็นอาบัติ.

สตฺตม? จบ

            ในทุพพัณณกรณะสิกขาบทที่ ๘ ความว่า ภิกษุได้ผ้าควร นุ่งห่มมาใหม่ ยังไม่ได้ทำกัปปพินทุ ย้อมเสร็จแล้วพึงทำกัปปพินทุ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วจึงบริโภคนุ่งห่ม จุดลงเป็นวงกลมเท่า มณฑลตานกยูงหรือหลังเลือด ด้วยของสามอย่าง คือ ของสีเขียว และ ตม และของสีดำ เหล่านี้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ชื่อว่าทำกัปปพินทุ ภิกษุใด ไม่ทำกัปปพินทุแล้วบริโภคนุ่งห่มไซร้ เป็นปาจิตตีย์ ในผ้าไม่ได้ทำ กัปปพินทุ เป็นติกกปาจิตตีย์ ในผ้าทำกัปปพินทุแล้ว สำคัญว่า ไม่ได้ทำ หรือสงสัยอยู่ บริโภค เป็นทุกกฏ ทำกัปปพินทุแล้วรู้อยู่ว่า ทำแล้ว บริโภค ไม่เป็นอาบัติ ทำแล้วกัปปพินทุหายไปเสีย หรือ โอกาสที่ทำกัปปพินทุคร่ำคร่าเสีย และผ้าที่ไม่ได้ทำกัปปพินทุ เย็บติดกันเข้ากับผ้าที่ทำกัปปพินทุแล้ว หรือผ้าปะ ผ้าอนุวาต ผ้าดาม เย็บเข้ากับผ้าที่ทำกัปปพินทุแล้ว ภายหลังบริโภคผ้าเหล่านี้ก็ดี ภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ ผ้าดังว่าแล้ว ไม่ได้ทำกัปปะ ๑ ใช่ผู้มีจีวรอันหายเป็นต้น ๑ นุ่งหรือ ห่มผ้านั้น ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สุมฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนเอฬกโลมะสิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้ เป็นกิริยากิริยะ.

อฏฺ?ม? จบ

            ในวิกัปปนะสิกขาบทที่ ๙ ความว่า ภิกษุวิกัปผ้าไว้แก่ สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี นางสิกขมานา สามเณร นางสามเณรี ผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว บริโภคนุ่งห่มผ้ายังไม่ได้ถอนวิกัปนั้น เป็นปาจิตตีย์ วิธีวิกัปผ้าจะกล่าวข้างหน้า ในผ้าไม่ได้ถอนวิกัป เป็นติกกปาจิตตีย์ อธิฏฐานหรือเสียสละผ้าที่ไม่ถอนวิกัปนั้น เป็นทุกกฏ ถอนวิกัปแล้ว สำคัญว่ายังไม่ได้ถอนหรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ รู้ว่าถอนวิกัปแล้ว เป็นอนาบัติ ผู้รับวิกัปถอนให้ หรือบริโภคโดยความคุ้นเคยแห่ง ผู้ซึ่งตนวิกัปไว้ และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ เป็น อนาณัตติกะ มีองค์ ๓ ไม่ปัจจุทธรณ์ผ้าซึ่งตนวิกัปไว้ ๑ ผ้านั้น กว้างยาวพอวิกัป ๑ บริโภคนุ่งห่ม ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วยปฐมกฐินะสิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้ เป็นกิริยากิริยะ.

นวม? จบ

ในอปนิธานะสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า บาตรควรอธิฏฐาน ผ้าจีวรกว้างยาวพอวิกัปขึ้นไป ผ้านิสีทนะมีชาย กล่องเข็มมีเข็มก็ตาม หรือไม่มีเข็มก็ตาม รัดประคดเอวเป็นแผ่นหรือเป็นดังไส้หมู่ก็ตาม บริขาร ๕ สิ่งนี้ เป็นของภิกษุอื่น ภิกษุใด โดยที่สุด แม้จะหัวเราะเล่น นำไปซ่อนเสียเอง เป็นปาจิตตีย์ ใช่ให้ผู้อื่นเอาไปซ่อนเสีย เป็นทุกกฏ เพราะบังคับ ครั้นผู้อื่นนั้นเอาไปซ่อนเสีย เธอผู้บังคับนั้น ต้อง ปาจิตตีย์ ในอุปสัมบัน เป็นติกกปาจิตตีย์ ในอนุปสัมบัน เป็นติกก ทุกกฏ ซ่อนเองหรือให้ผู้อื่นซ่อนซึ่งบริขารอื่น เป็นของอุปสัมบัน หรืออนุปสัมบัน ก็ตาม ยกแต่วัตถุ มีบาตรเป็นต้น ที่ว่ามาแล้วนั้นเสีย เป็นทุกกฏ บริขารผู้อื่นวางไว้ไม่ดีช่วยเก็บให้ หรือเก็บไปไว้ด้วย คิดว่าจะสั่งสอนเจ้าของแล้วจึงจะให้ และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ เป็นอนาบัติ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๒ ซ่อนบาตรเป็นต้น เป็นของ อุปสัมบัน ๑ ใคร่จะให้เจ้าของลำบากหรือจะหัวเราะเล่น ๑ พร้อม ด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือน อทินนาทานสิกขาบท.

ทสม? จบ ฉฏฺโ? วคฺโค จบวรรคที่ ๖

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ