บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            ในสัปปณกวรรคที่ ๗ ประดับด้วยสิกขาบท ๑๐ สัญจิจจปาณะ สิกขาบทเป็นที่ ๑ ความว่า ภิกษุใด แกล้งฆ่าสัตว์ติรัจฉานที่เป็นอยู่ แม้เล็กเท่าไข่เลือด ไข่เหาหรือใหญ่ก็ดี ให้ตาย เป็นปาจิตตีย์อย่างเดียว ก็แต่ในสัตว์ใหญ่ เป็นอกุสลกรรมใหญ่ เพราะประโยคใหญ่ ในสัตว์ มีชีวิตสงสัยอยู่ หรือใช่สัตว์มีชีวิต สำคัญว่าสัตว์มีชีวิต หรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ รู้ว่าใช่สัตว์ เป็นอนาบัติ ไม่แกล้ง ไม่มีสติ ไม่รู้ ไม่ประสงค์ จะให้ตาย และภิกษุบ้า เป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ วินิจฉัยนอกนั้น มีนัยดังกล่าวแล้ว ในมนุสสวิคคหปาราชิก.

ป?ม? จบ

            ในสัปปาณกะสิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุใด รู้อยู่ว่าน้ำมี ตัวสัตว์ ๆ จะตายด้วยบริโภคน้ำนั้น และเธอบริโภคน้ำนั้น คือดื่มกิน และอาบล้างภาชนะรดเทใด ๆ เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ประโยค วินิจฉัย นอกนั้นในสิกขาบทนี้ พึงรู้โดยนัยดังกล่าวแล้วในสิญจนะสิกขาบท นั้นเถิด.

ทุติย? จบ

            ในอุกโกฏนะสิกขาบทที่ ๓ ความว่า อธิกรณ์ ๔ คือวิวาท ทุ่มเถียงแก่งแย่งด้วยธรรมวินัย ชื่อว่าวิวาทาธิกรณ์ โจทด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาชีววิบัติ อันใดอันหนึ่ง ชื่อว่าวาทาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง อันใดอันหนึ่ง ซึ่งภิกษุต้องเข้าแล้ว ชื่อว่าอาปัตตา ธิกรณ์ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม ทั้ง ๔ นี้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ๆ จะพึงทำ ชื่อว่ากิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์ ๔ นี้ อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้น สงฆ์รำงับแล้วด้วยสมถะ ๗ สิ่งใด สิ่งหนึ่งโดยธรรม ภิกษุใด รู้อยู่ว่าสงฆ์รำงับแล้ว และไปสู่สำนักภิกษุ นั้น ๆ กล่าวว่า กรรมซึ่งรำงับอธิกรณ์นั้น สงฆ์ทำไม่ดี ต้องทำใหม่ เป็นต้น ดังนี้แล้ว เลิกถอนเสียเพื่อจะทำใหม่ เป็นปาจิตตีย์ ในกรรม เป็นธรรมสงสัยอยู่ ก็ดี ในกรรมไม่เป็นธรรมสำคัญว่าเป็นธรรม หรือ สงสัยอยู่ก็ดี เป็นทุกกฏ สำคัญว่าไม่เป็นธรรมในกรรมนั้น ๆ และรู้ อยู่ว่า สงฆ์ทำกรรมไม่เป็นธรรมหรือเป็นวรรค หรือทำแก่คนไม่ควร แก่กรรม และภิกษุบ้า เป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ อธิกรณ์สงฆ์รำงับแล้วตามธรรม ๑ รู้อยู่ ๑ เลิกเสีย ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือน อทินนาทานสิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้เป็นทุกขเวทนา.

ติตย? จบ

            ในทุฏฐุลลปฏิจฉานะสิกขาบทที่ ๔ ความว่า ภิกษุใด รู้อยู่ว่า ภิกษุอื่นต้องทุฏฐุลลาบัติ คือ สังฆาทิเสส และช่วยปิดอาบัติแห่งภิกษุ นั้นไว้ ด้วยอุบายอันใดอันหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์ ถ้าปลงธุระเสียว่าจะ ไม่บอก และภายหลังกลับบอก ชื่อว่าต้องปาจิตตีย์ แล้วกลับบอก ถ้าปลงธุระเสียดังนี้แล้ว บอกผู้อื่นเพื่อจะให้ปิด แม้ผู้อื่นก็บอกเพื่อ จะให้ปิด โดยอุบายดังนี้ แม้สมณะร้อยหนึ่ง เมื่อเงื่อนยังไม่ขาด ตราบใด ก็คงต้องอยู่ตราบนั้น อย่างไรเงื่อนจึงจะขาด ถ้าผู้ต้องบอก แก่ผู้หนึ่ง แม้ผู้หนึ่งนั้นก็บอกแก่ผู้อื่น ผู้อื่นนั้น ผู้ใดบอก เธอกลับ มาบอกแก่ผู้นั้น คือบุคคลที่ ๓ บอกแก่คนที่ ๒ ดังนี้แล้ว เงื่อน จึงจะขาด ในทุฏฐุลลาบัติ สงสัยอยู่หรือสำคัญว่าใช่ทุฏฐุลลาบัติ เป็น ทุกกฏ ในอันใช่ทุฏฐุลลาบัติ เป็นติกกทุกกฏ ช่วยปิดอัชฌาจาร ชั่วหยาบและไม่ชั่วหยาบแห่งอนุปสัมบัน เป็นทุกกฏอย่างเดียว คิดว่า การทะเลาะวิวาทจักมีแก่สงฆ์ หรือคิดว่า ผู้นี้ร้ายกาจหยาบช้า จักทำ อันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์ ดังนี้แล้ว ไม่บอกนิ่งไว้ ก็ดี ยัง ไม่เห็นภิกษุที่สมควรยังไม่บอก หรือไม่ปรารถนาจะปิดและนิ่งอยู่ ไม่บอก ด้วยคิดว่าเธอจะปรากฏด้วยกรรมของตนเอง และภิกษุบ้า เป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๒ รู้อยู่ว่า อุปสัมบัน ต้องทุฏฐุลลาบัติ ๑ ปลงธุระเสียว่า เราจักไม่บอกแก่ผู้อื่น ด้วยหวังจะช่วยปิดไว้ ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ เป็น สมนุภาสนสมุฏฐาน อาบัติเกิดแต่กาย วาจา จิต เป็นกิริยา สัญญา วิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ เป็นกายกรรม วจีกรรม เป็นอกุสลจิต ทุกขเวทนา.

จตุตฺถ? จบ

            ในโอนวิสติวัสสะสิกขาบทที่ ๕ ความว่า ภิกษุใด รู้อยู่ และเป็น อุปัชฌาย์ ให้บุคคลมีปี ๒๐ ตั้งแต่ถือปฏิสนธิมายังหย่อนอยู่ยังไม่เต็ม อุปสมบทเป็นภิกษุ เป็นปาจิตตีย์ ภิกษุนอกนั้นผู้เป็นคณะปรกทั้งหมด ต้องทุกกฏ ส่วนบุคคลนั้น แม้อุปัชฌาย์จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ให้อุปสมบท เข้า คงไม่เป็นอุปสัมบัน ถ้าแลผู้นั้นล่วง ๑๐ พรรษาไป เป็นอุปัชฌาย์ ให้กุลบุตรอื่นอุปสมบท ถ้ายกอุปัชฌาย์นั้นเสีย คณะปรกครบไซร้ ผู้อุปสมบทใหม่ ชื่อว่าเป็นอุปสัมบัน อุปสมบทแล้วด้วยดี แม้ผู้ที่ไม่ เป็นอุปสัมบันนั้นยังไม่รู้ตัวตราบใด ยังไม่เป็นอันตรายแก่สวรรค์และ นิพพานแก่ผู้นั้นตราบนั้น รู้แล้วพึงอุปสมบทเสียใหม่.

ป?ฺจม? จบ

            ในเถยยสัตถะสิกขาบทที่ ๖ ความว่า โจรทำโจรกรรมแล้ว หรือยังไม่ได้ทำก็ดี บุคคลหลอกลวงพระเจ้าแผ่นดิน หรือคนอ้อม ด่านขนอน พวกใดพวกหนึ่ง เป็นพวกเดินทาง ชื่อว่าเถยยสัตถะ พวกโจร ภิกษุใด รู้อยู่ว่าเป็นพวกโจรดังนั้น และชักชวนกำหนดกาล ด้วยกันทั้งสองข้างว่า เราจงไปวันนี้หรือพรุ่งนี้ ต้องทุกกฏเพราะชัก ชวนก่อนแล้ว ทำไม่ให้ผิดสังเกตกาลที่กำหนดไว้ เดินทางไปด้วยกัน ถึงผิดสังเกตทาง ผิดสังเกตดงก็ตาม ถ้าเดินไปทางบ้านยังไม่ลงอุปจาร บ้านอื่น ที่ใกล้กันชั่วไก่เที่ยวไปถึง ยังไม่เป็นอาบัติก่อน เมื่อล่วง อุปจารบ้านอื่น ในเท้าที่แรก เป็นทุกกฏ ในเท้าที่ ๒ เป็นปาจิตตีย์ เดินทางป่าไม่มีบ้านล่วงกึ่งโยชน์ก็เหมือนกัน เป็นอาบัติมามากน้อยนับ ด้วยลงสู่อุปจารบ้านอื่น และล่วงกึ่งโยชน์ มนุษย์ไม่ได้ชักชวน ภิกษุ ชักชวนเองข้างเดียว หรือเป็นหมู่โจร ภิกษุสงสัยอยู่ หรือใช่หมู่โจร ภิกษุสำคัญว่าหมู่โจร และสงสัยอยู่ก็ดี เหล่านี้ เป็นทุกกฏ ภิกษุสำคัญ ว่าใช่หมู่โจรก็ดี ไม่ได้ชักชวนเป็นแต่เดินไปด้วยกัน หรือมนุษย์ชัก ชวนข้างเดียว ภิกษุไม่ได้ชักชวน และไปผิดสังเกตกาล หรือชักชวน กันไปเพราะอันตราย และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ เป็น อนาณัตติกะ มีองค์ ๔ เป็นพวกโจร ๑ รู้อยู่ ๑ ชักชวนกัน ทั้งสองข้าง ๑ ไปล่วงอุปจารบ้านอื่น หรือล่วงกึ่งโยชน์ไม่ผิดสังเกต ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ เป็นเถยยสัตตถสมุฏฐาน อาบัติ เกิดแต่กายจิต แต่กายวาจาจิต เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ เป็นกายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓.

ฉฏฺ?? จบ

            ในสังวิธานะสิกขาบทที่ ๗ ความว่า ภิกษุใด ชักชวนหญิงผู้รู้ ความ และหญิงก็ชักชวนด้วยกันทั้ง ๒ ข้าง เดินไปทางเดียวกัน ไม่ ผิดสังเกตกาล เป็นอาบัติทุกกฏและปาจิตตีย์ ดังกล่าวแล้วในสิกขาบท ก่อน ในมาตุคาม เป็นติกกปาจิตตีย์ ในนางยักษ์ และนางเปรต และ บัณเฑาะก์ และสัตว์ติรัจฉานตัวเมียมีกายดังมนุษย์ เป็นทุกกฏ ภิกษุ ชักชวนข้างเดียว หญิงไม่ได้ชักชวน หรือใช่หญิงสำคัญว่าหญิง หรือ สงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ รู้ว่าใช่หญิง เป็นอนาบัติ ในอนาบัตินอกนั้น เหมือนสิกขาบทก่อน ยกแต่อันตรายอย่างเดียว เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ ชักชวนด้วยกันทั้งสองข้างแล้ว เดินทางไป ๑ ไม่ผิด สังเกต ๑ ล่วงอุปจารบ้านอื่นหรือล่วงกึ่งโยชน์ ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ เป็นอัทธานสมุฏฐาน อาบัติเกิดแต่กาย แต่กายวาจา แต่กายจิต แต่กายวาจาจิต เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ เป็นกายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓.

สตฺตม? จบ

            ในอริฏฐะสิกขาบทที่ ๘ ความว่า ภิกษุใด มีทิฏฐิความเห็นผิดว่า สัมผัสหญิงไม่มีโทษ เหมือนสัมผัสเครื่องลาดอันอ่อน ไม่เห็นโทษใน การล่วงเมถุนดังนี้ กล่าวตู่พระพุทธเจ้าว่า อาณาวิติกกมันตราย การล่วงสิกขาบทบัญญัติดังยินดีสัมผัสสตรีนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เป็นอันตรายแก่สวรรค์นิพพานนั้น เราเห็นว่าไม่เป็นอันตราย แก่คนผู้ยินดีสัมผัสสตรี เธอกล่าวดังนี้ ให้ภิกษุทั้งหลายอื่นซึ่งได้เห็น ได้ยิน พึงแสดงโทษกามคุณ ห้ามปรามเธอเสีย ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง เมื่อ เธอไม่สละทิฏฐินั้นเสีย ต้องทุกกฏ แม้ผู้ที่ได้ยินไม่ห้ามปราม ก็ต้อง ทุกกฏ แม้เธอไม่สละแล้ว พึงพาตัวไปท่ามกลางสงฆ์ห้ามปรามอีก ครั้นเธอไม่สละ ต้องทุกกฏอีก เมื่อเธอไม่สละดังนี้ สงฆ์พึงสวดสมนุ ภาสนะเธอ ๓ ครั้ง ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา เพื่อจะให้สละทิฏฐินั้น เมื่อเธอไม่สละเสีย ต้องทุกกฏ ในขณะจบญัตติที่ ๑ และในขณะจบ อนุสาวนะที่ ๑ ที่ ๒ เมื่อจบอนุสาวนะที่ ๓ ต้องปาจิตตีย์.

อฏฺ?ม? จบ

            ในอุกขิตตสัมโภคะสิกขาบทที่ ๙ ความว่า ภิกษุใดต้องอุก เขปนียกรรม เพราะไม่เห็นอาบัติ หรือไม่แสดงอาบัติเสีย หรือไม่ สละทิฏฐิ ๓ นี้ จำพวกใดจำพวกหนึ่ง สงฆ์ยังไม่รำงับกรรมนั้นให้แล้ว ภิกษุใดรู้อยู่ ดังนี้ และทำอามิสสัมโภค คือให้อามิสหรือรับอามิสกับ เธอนั้น หรือทำธรรมสัมโภค คือสอนธรรม เรียนธรรมกับเธอนั้น ก็ดี ทำสังฆกรรม เป็นต้นว่าอุโบสถและปวารณาด้วย และนอนในที่มุงบัง อันเดียวกัน แม้มีอุปจารต่างกับเธอนั้น ต้องปาจิตตีย์ทุก ๆ ประโยค.

นวม? จบ

            ในกัณฏกะสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า แม้สามเณรมีทิฏฐิผิดกล่าว ตู่พระพุทธเจ้า ดังในอริฏฐะสิกขาบทก่อน ภิกษุทั้งหลายผู้ได้เห็น ผู้ได้ยิน พึงแสดงโทษกามคุณ ห้ามเสีย ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ถ้าเธอสละ ทิฏฐินั้นเสียเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละไซร้ พึงทำนาสนะเธอเสียด้วย คำว่า อชฺชตคฺเค อาวุโส ฯ เป ฯ จร ปเร วินสฺส ดูก่อนสามเณรผู้มี อายุ ตั้งแต่วันนี้ไป ท่านอย่าอ้างพระผู้มีพระภาคนั้นว่า เป็นศาสดา ของท่านเลย สามเณรทั้งหลายอื่นย่อมได้นอนร่วมกับภิกษุ ๒ คืน ๓ คืน แม้อันใด แม้ความนอนร่วมกันนั้นย่อมไม่มีแก่ท่าน ไปเสีย เถิด เจ้าคนชั่ว จงฉิบหายเถิด ดังนี้ ภิกษุใดรู้อยู่ว่า สามเณรอันสงฆ์ ให้ฉิบหายดังนี้แล้ว และเกลี้ยกล่อม คือให้บริขารหรือสอนธรรม ก็ดี ให้อุปัฏฐากตน ยินดีรับจุรณและไม้สีฟันเป็นต้น หรือทำสัมโภค ทั้ง ๒ และร่วมสหเสยย์กับสามเณรนั้น ดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน ต้องปาจิตตียทุก ๆ ประโยค.

ทสม? จบ สตฺตโม วคฺโค จบวรรคที่ ๗

            ในสหธัมมกวรรคที่ ๘ ประดับด้วยสิกขาบท ๑๒ สหธัมมิกะ สิกขาบทที่ ๑ ความว่า ภิกษุใด ประพฤติอนาจารอยู่ ภิกษุทั้งหลาย อื่นห้ามปรามว่ากล่าวด้วยสิกขาบทบัญญัติ กลัวจะเป็นอาบัติเพราะ ไม่เอื้อเฟื้อ เธอแกล้งกล่าวเป็นเลศไปว่า เรายังไม่ได้ถามภิกษุอื่น ซึ่งเป็นวินัยธรผู้ฉลาดตราบใด เราจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบทนั้นก่อน ดังนี้ ต้องปาจิตตีย์ทุก ๆ คำ วิสัยผู้จะศึกษาจำต้องรู้ให้ทั่วถึง ต้อง ไต่ถามเนื้อความแห่งปาฐะนั้น ๆ ต้องคิดเปรียบเทียบ อันนี้แลเป็น ความชอบยิ่งในธรรมนั้น ในอุปสัมบันเป็นติกกปาจิตตีย์ ในอนุป สัมบันเป็นติกกทุกกฏ อุปสัมบันหรืออนุปสัมบันนั้น ตักเตือนว่ากล่าว ด้วยข้อใช้บัญญัติ เป็นพระสูตรหรืออภิธรรม ด้วยคำเป็นต้นว่า ทำ อย่างนี้ไม่เป็นไปเพื่อสัลเลขะ เพื่อกำจัดกิเลส และเธอกล่าวผัดเพี้ยน ดังก่อนนั้น เป็นแต่ทุกกฏ ครั้นเธอกล่าวว่า ข้าจักรู้ ข้าจักศึกษา ดังนี้ก็ดี และภิกษุบ้าเป็นต้น เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มี องค์ ๒ อุปสัมบันว่ากล่าวด้วยบัญญัติ ๑ กล่าวผัดเพี้ยนไปดังนั้น ด้วยหวังจะไม่ศึกษา ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุกฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วยอทินนาทานสิกขาบท ก็แต่สิกขาบทนี้ เป็นทุกขเวทนา.

ป?ม? จบ

            ในวิเลขนะสิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุใด เมื่อภิกษุอื่น ท่อง สวด บอก เรียน ศึกษาปาติโมกข์อยู่ และกล่าวติเตียนสิกขาบทว่า จะต้องการอะไร ด้วยเล่าเรียนสิกขาบทน้อยและน้อยโดยลำดับเหล่านี้ ใครเล่า เรียนสิกขาบทเหล่านี้ ก็จะเป็นไปเพื่อความรังเกียจเดือดร้อน รำคาญใจเท่านั้นเอง เพราะติเตียนสิกขาบท ดังนี้ ต้องปาจิตตีย์ ใน การติเตียนแก่อุปสัมบัน เป็นติกกปาจิตตีย์ ในการติเตียนสิกขาบท แก่อนุปสัมบัน เป็นติกกทุกฏ ในการติเตียนธรรมอื่นคือพระสูตร และพระอภิธรรมแก่อุปสัมบัน หรืออนุปสัมบันทั้ง ๒ เป็นทุกกฏ ไม่ประสงค์จะติเตียน กล่าวว่า ท่านจงเรียนพระสูตรหรืออภิธรรม และคาถาเสียก่อนเถิด ภายกลังจึงค่อยเรียนวินัย ดังนี้ และภิกษุบ้า เป็นต้น เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๒ ใคร่จะติเตียน ๑ ติเตียนสิกขาบทในสำนักอุปสัมบัน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็น ปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วยอทินนาทานสิกขาบท ก็แต่สิกขาบทนี้ เป็นทุกขเวทนา.

ทุติย? จบ

            ในโมหนะสิกขาบทที่ ๓ ความว่า ภิกษุใดประพฤติอนาจาร อยู่ก่อนแล้ว ครั้นปาติโมกข์ สงฆ์สวดทุกกึ่งเดือน วันอุโบสถ มา ๒ ครั้ง ๓ ครั้งแล้ว ได้ยิน รู้อยู่ หวังจะให้ภิกษุอื่นสำคัญว่าตนต้อง อาบัติด้วยไม่รู้ แกล้งกล่าวว่า ข้าพึงรู้เดี๋ยวนี้เองว่า สิกขาบทนี้มาใน ปาติโมกข์ เนื่องในปาติโมกข์ มายังอุทเทสทุกกึ่งเดือน ดังนี้ ถ้าภิกษุ ทั้งหลายอื่นเล่า ก็รู้อยู่ด้วยว่า เธอนี้เคยยังนั่งฟังปาติโมกข์สงฆ์สวด มา ๒ ครั้ง ๓ ครั้งแล้ว ดังนี้ เธอนั้นต้องทุกกฏเพราะแกล้งทำหลง อาบัติใดเธอต้องเพราะประพฤติอนาจารก่อน เธอจักพ้นอาบัตินั้นด้วย แกล้งทำไม่รู้ก็หาไม่ ให้พระวินัยพึงปรับตามโทษซึ่งเป็นเทสนา คามินีและวุฏฐานคามินีเถิด และสงฆ์พึงซ้ำทำโมหาโรปนกรรมแก่ เธอนั้น ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจายิ่งขึ้นไปด้วย ครั้นกรรมนั้นสงฆ์ ทำเป็นธรรมเสร็จแล้ว เธอแกล้งทำหลงอีก ต้องปาจิตตีย์.

ติตย? จบ

            ในปหาระสิกขาบทที่ ๔ ความว่า ภิกษุใด โกรธแค้นแล้ว ให้ประหารแก่ภิกษุอื่นด้วยกายหรือของเนื่องด้วยกาย หรือซัดขว้าง ไป เป็นปาจิตตีย์ แม้ภิกษุต้องประหารนั้นตาย ก็คงเป็นปาจิตตีย์ เพราะปรารถนาจะประหารอย่างเดียว ในอุปสัมบัน เป็นติกก ปาจิตตีย์ ในอนุปสัมบัน เป็นติกกทุกกฏ มีอธิบายจะทำให้เสียรูป เชือดตัดหูเป็นต้นแห่งอุปสัมบัน หรืออนุปสัมบัน เป็นทุกกฏ ผู้ใด ผู้หนึ่งมาเบียดเบียนจะทุบตี ด้วยประสงค์จะให้ตนพ้นอันตราย จึงให้ ประหารก็ดี และภิกษุบ้าเป็นต้น เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ โกรธแค้น ๑ ไม่มีอธิบายจะให้พ้นอันตราย ๑ ให้ประหาร อุปสัมบัน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วยปฐมปาราชิก ก็แต่สิกขาบทนี้ เป็นทุกขเวทนา.

จตุตถ? จบ

            ในตลสัตติกะสิกขาบทที่ ๕ ความว่า ภิกษุใด เงือดเงื้อกายหรือ ของเนื่องด้วยกาย แม้ใบอุบลแก่ภิกษุอื่นด้วยความโกรธแค้น ต้อง ปาจิตตีย์ ถ้าเธอเงือดเงื้อขึ้นแล้วพลั้งไปประหารลงไซร้ ต้องทุกกฏ เพราะไม่ประสงค์จะประหาร ด้วยประหารนั้น อวัยวะใดมีมือเป็นต้น แตกหักไป เป็นทุกกฏอย่างเดียว วินิจฉัยทั้งปวงนอกนี้ พึงรู้โดยนัย ดังสิกขาบทอันกล่าวแล้วในก่อนเถิด.

ป?ฺจม? จบ

            ในสิกขาบททั้ง ๒ นี้ แม้สัตว์ติรัจฉาน ก็ชื่อว่าอนุปสัมบัน.

            ในอมูลกะสิกขาบทที่ ๖ ความว่า ภิกษุใด โจทเองหรือให้ผู้อื่น โจทซึ่งภิกษุ ด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อ ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ไม่มีมูล คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ ว่าเธอนั้นต้อง ถ้าเธอผู้ต้องโจท นั้นรู้ตัวว่า เจาโจทเรา ดังนี้ในขณะนั้นไซร้ เป็นปาจิตตีย์แก่ผู้โจท ในอุปสัมบัน เป็นติกกปาจิตตีย์ โจทด้วยอาจารวิบัติ หรือทิฏฐิวิบัติ ไม่มีมูล เป็นทุกกฏ ในอนุปสัมบัน เป็นติกกทุกกฏ สำคัญว่าเธอต้อง แล้ว โจทตามสำคัญ และภิกษุบ้าเป็นต้น เป็นอนาบัติ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๔ ผู้ต้องโจทเป็นอุปสัมบัน ๑ อาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ๑ โจทเองหรือให้ผู้อื่นโจท ๑ ผู้ต้องโจทรู้ตัวในขณะนั้น ๑ พร้อมด้วย องค์ ๔ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วย อทินนาทานสิกขาบท ก็แต่สิกขาบทนี้ เป็นทุกขเวทนา.

ฉฏฺ?? จบ

            ในสัญจิจจะสิกขาบทที่ ๗ ความว่า ภิกษุใด แกล้งทำความรำคาญ ให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุอื่นด้วยกล่าวว่า ท่านชะรอยอายุยังไม่ครบ ๒๐ บวชไม่เป็นอุปสัมบัน ชะรอยท่านฉันอามิสในเวลาวิกาล ชะรอยท่าน ดื่มน้ำเมา นั่งในที่ลับกับมาตุคาม ไม่มีเหตุแกล้งกล่าวเล่นให้เธอนั้น ร้อนใจ ดังนี้ ต้องปาจิตตีย์ทุก ๆ คำในอุปสัมบัน เป็นติกกปาจิตตีย์ ในอนุปสัมบัน เป็นติกกทุกกฏ ไม่ปรารถนาจะให้เธออื่นรำคาญใจ กล่าวอย่างนั้น ด้วยแสวงหาประโยชน์แก่เธอนั้นอย่างเดียว และภิกษุ บ้าเป็นต้น เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ ผู้อื่นเป็นอุป สัมบัน ๑ หวังความไม่ผาสุกแก่เธอนั้น ๑ ทำความรำคาญให้เกิดขึ้น ดังว่านั้น ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือนด้วยสิกขาบทในลำดับมา.

สตฺตม? จบ

            ในอุปัสสุติสิกขาบทที่ ๘ ความว่า ภิกษุใด เมื่อภิกษุอื่น ทะเลาะวิวาทกันอยู่แล้ว ปรารถนาจะแอบฟังว่า เธอเหล่านั้นจะพูด อย่างไร เราจักฟัง และหวังจะโจทท้วงด้วย และเดินไป เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ก้าว แม้อยู่ข้างหลัง เดินรีบขึ้นไปให้เร็ว หรืออยู่ข้างหน้าแกล้ง ทำช้าลงมา ก็เหมือนกัน ยืนในที่ใดได้ยินเสียง หยุดยืนฟังในที่นั้น เป็นปาจิตตีย์ มาที่อยู่ภิกษุเหล่านั้น ได้ยินเธอปรึกษากันอยู่ หรือเธอ เดินปรึกษากันมาที่ใกล้ที่อยู่ตน ได้ยินก็พึงกระแอมไอ หรือบอกว่า เราอยู่นี่ ให้เธอรู้ แม้ไม่ทำดังนี้ นิ่งฟังอยู่ คงเป็นปาจิตตีย์ ใน อุปสัมบัน เป็นติกกปาจิตตีย์ ในอนุปสัมบัน เป็นติกกทุกกฏ ไป แอบฟังด้วยคิดว่า เราได้ยินเธอเหล่านั้น เราจักเว้น จักงด จักรำงับ จักเปลื้องตัวเสีย ดังนี้ ก็ดี และภิกษุบ้า เป็นต้น เป็นอนาบัติ เป็น อนาณัตติกะ มีองค์ ๓ ผู้อื่นเป็นอุปสัมบัน ๑ อธิบายจะโจท ๑ แอบ ฟังได้ยิน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ เป็นเถยยสัตถ สมุฏฐาน เป็นสิยา กิริยา สิยา อกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ เป็นกายกรรม วจีกรรม เป็นอกุสลจิต ทุกขเวทนา.

อฏฺ?ม? จบ

            ในกัมมปฏิพาหนะสิกขาบทที่ ๙ ความว่า สังฆกรรม ๔ มี อปโลกนกรรม เป็นต้น สงฆ์จักทำโดยชอบธรรม ภิกษุใดอยู่ในภาย ในสีมา จักไม่มาสู่สังฆกรรมนั้น ด้วยกิจอันใดอันหนึ่ง ให้แต่ฉันทะ เพื่อกรรมนั้นมาแก่ภิกษุอื่น ครั้นกรรมนั้นสงฆ์ทำแล้ว โดยธรรม โดยวินัย ภายหลังกลับติเตียนการกสงฆ์ เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำ.

นวม? จบ

            ในฉันทังอทัตวาคมนะสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า สงฆ์ประชุมกัน ในสีมา จะรำงับอธิกรณ์ ภิกษุผู้โจทก์ ผู้จำเลยแจ้งความของตน ๆ ขึ้น สงฆ์สมมติภิกษุผู้ซักถามขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้ซักไซ้ความ หรือสงฆ์ กระทำสังฆกรรมทั้ง ๔ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งญัตติหรือสวดอนุสาวนะค้าง อยู่ ภิกษุใดอยู่ในหัตถบาสสงฆ์ ปรารถนาจะให้กรรมนั้นกำเริบ ไม่ให้ ฉันทะก่อนแกล้งลุกไปเสีย ยังไม่มละหัตถบาสสงฆ์บริษัท เป็นทุกกฏ ครั้นมละหัตถบาสแล้ว เป็นปาจิตตีย์ สงสัยอยู่ในกรรมเป็นธรรม หรือกรรมไม่เป็นธรรม สำคัญว่าเป็นธรรม และสงสัยอยู่ ก็ดี เหล่านี้ เป็นทุกกฏ รู้อยู่ว่าไม่เป็นธรรม เป็นอนาบัติ รู้ว่า ความทะเลาะวิวาท จักมีแก่สงฆ์ หรือสงฆ์จักกระทำกรรมไม่เป็นธรรม เป็นวรรค จัก กระทำแก่คนไม่ควรกรรม ดังนี้ ก็ดี หรือเป็นไข้ หรือลุกไปด้วยกิจ แห่งภิกษุไข้ หรือกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ หรือไม่ปรารถนาจะให้กรรม กำเริบ หรือลุกไปด้วยคิดจะกลับมา ก็ดี และภิกษุบ้า เป็นต้น เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๖ ตัดสินความหรือสังฆกรรม ค้างอยู่ ๑ กรรมนั้นเป็นธรรม ๑ รู้อยู่ว่าเป็นธรรม ๑ อยู่ในสีมา ด้วยสงฆ์ ๑ ตนมีสังวาสเสมอด้วยสงฆ์ ๑ ประสงค์จะให้กรรมกำเริบ แล้วลุกไป มละหัตถบาสสงฆ์เสีย ๑ พร้อมด้วยองค์ ๖ นี้ จึงเป็น ปาจิตตีย์ เป็นสมนุภาสนสมุฏฐาน อาบัติเกิดแต่กาย วาจา จิต เป็น กิริยา กิริยะ สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ เป็นกายกรรม วจีกรรม เป็นอกุสลจิต ทุกขเวทนา.

ทสม? จบ

            ในทัพพะสิกขาบทที่ ๑๑ ความว่า ภิกษุใด ยอมด้วยสงฆ์ซึ่ง ประชุมในสีมา ให้ผ้าจีวรซึ่งควรวิกัปเป็นอย่างเล็กขึ้นไป แก่ภิกษุที่ สงฆ์สมมติเป็นภัตตุทเทสกะเป็นต้นโดยธรรม เธอทำการสงฆ์โดย ชอบอยู่ แล้วภายหลังกลับติเตียนว่า ภิกษุทั้งหลายน้อมลาภสงฆ์ให้ แก่ภิกษุ ตามชอบใจ ตามมิตรตามสหาย ดังนี้ ต้องปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำ.

เอกาทสม? จบ

            ในปริณามนะสิกขาบทที่ ๑๒ ความว่า ภิกษุใด รู้อยู่ว่า ลาภ ทายกน้อมไปแล้วแก่สงฆ์ ด้วยวาจาว่าจักถวายสงฆ์ และน้อมมาให้ เขาให้แก่บุคคล คือภิกษุอื่น เป็นปาจิตตีย์ วินิจฉัยทั้งปวงนอกนี้ เหมือนปริณตะสิกขาบทในนิสสัคคีย์ แปลกแต่ในปริณตะสิกขาบท เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ เพราะน้อมมาเพื่อตน ในสิกขาบทนี้เป็นแต่ สุทธปาจิตตีย์ เพราะน้อมไปเพื่อภิกษุอื่นเท่านี้.

ทวาทสม? จบ อฏฺ?โม วคฺโค จบวรรคที่ ๘

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ