บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            ในราชวรรคที่ ๙ ประดับด้วยสิกขาบท ๑๐ อันเตปุระสิกขาบท ที่ ๑ ความว่า พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นชาติกษัตริย์ ได้มูรธาภิเษกเป็น พระเจ้าแผ่นดินแล้ว ทั้งพระมเหสีด้วย อยู่ในห้องที่บรรทมทั้ง ๒ องค์ องค์ใดองค์หนึ่ง ยังไม่เสด็จออก และภิกษุใด ไม่ให้ทูลให้ทรงทราบ ก่อน บ่วงธรณีพระทวารห้องพระบรรทมเข้าไป เท้าที่แรก เป็นทุกกฏ เท้าที่ ๒ เป็นปาจิตตีย์.

ป?ม? จบ

            ในรัตนะสิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุใด ถือเอาเองหรือให้ผู้อื่น ถือเอาซึ่งรัตนะ มีแก้วมุกดา เป็นต้น หรือของสมมติว่าเป็นรัตนะ คือ ของใช้สอยสิ่งใดสิ่งหนึ่งแห่งมนุษย์ ซึ่งเขาลืมตกอยู่ในแผ่นดินที่อื่น พ้นจากภายในอาราม และภายในที่พักอาศัยอยู่ เป็นปาจิตตีย์ ถือเอา เอง หรือให้ผู้อื่นถือเอาซึ่งทองและเงินเพื่อตัว เป็นนิสัคคียปาจิตตีย์ เพื่อสงฆ์และคณะ และบุคคล และเจดีย์ และนวกรรม เป็นทุกกฏ ใน แก้วมุกดา เป็นต้น นอกนั้น เพื่อตนหรือผู้อื่นทั้งปวง เป็นทุกกฏสิ้น กัปปิยวัตถุ หรือ อกัปปิวัตถุ โดยที่สุดแม้เป็นของมารดาเก็บไว้ดังคน รักษาเรือนคลัง เป็นปาจิตตีย์ กระทำของเช่นนั้นให้เป็นของ ๆ ตัว แล้วจึงเก็บไว้ ควรอยู่ ก็แต่คฤหัสถ์กล่าวว่าท่านจงช่วยเก็บของนี้ไว้ พึงห้ามเสียว่าไม่ควร ถ้าเขาโกรธทิ้งไว้แล้วไปเสีย ชื่อว่าเป็นกังวลอยู่ พึงเก็บไว้เถิด ช่างไม้หรือข้าราชการทำการในวัดอยู่ เขาฝากเครื่อง มือหรือที่นอนให้ช่วยเก็บไว้ให้ด้วย อย่าพึงทำด้วยเห็นแก่หน้าแก่กลัว จะแสดงที่เก็บไว้ให้ ควรอยู่ แม้ในภายในอารามหรือภายในที่พัก อาศัยอยู่ ในที่เช่นไรเขาจักรังเกียจว่า ชะรอยภิกษุและสามเณรจักถือ เอาของตกอยู่ ในที่เช่นนั้นพึงถือเอาเอง หรือให้ผู้อื่นเอาแล้วนับ หมายเก็บไว้ และพึงบอกว่าของผู้ใดหาย ผู้นั้นจงมาเอาเถิด ถ้า ผู้ใดมา พึงถามผู้นั้นว่า ของอย่างไรของท่านหายไป ถ้าเขากล่าวถูก ตามหมายไซร้ ก็พึงให้ ถ้าเขากล่าวไม่ถูกไซร้ พึงว่ากะเขาว่าท่านจง หาเอาเถิด ถ้าภิกษุจะไปจากอาวาสนั้น พึงฝากไว้ในมือภิกษุผู้สมควร เมื่อภิกษุเช่นนั้นไม่มี พึงฝากไว้ในมือคฤหบดีผู้สมควรแล้วจึงไป ก็แลภิกษุใด ไม่ไปจากอาวาส และไม่เห็นเจ้าของ เธอนั้นพึงเอาของ นั้นให้เขาทำเสนาสนะ หรือเจดีย์ หรือสระโบกขรณี ซึ่งเป็นของถาวร ถ้าล่วงกาลนานไป เจ้าของมาไซร้ พึงแสดงของถาวรนั้นว่า ให้อนุ โมทนาเอาเถิด ถ้าเขาไม่อนุโมทนา เขาทวงจะเอาไซร้ พึงยังผู้อื่น ให้ถือเอาเป็นของ ๆ ตนแล้วใช้ของเขา ของเขาตกในภายในอาราม หรือที่พักอาศัย ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ไม่ถือเอาเก็บไว้ ด้วยไม่เอื้อเฟื้อ เป็นทุกกฏ ของเขาตกในที่ ๆ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ถือเอาเก็บไว้ และของใดซึ่งเป็นอามาสควรถูกต้องได้ ถือเอาของ นั้นด้วยคุ้นเคย หรือทำเป็นของยืม หรือถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๔ ใช่เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ๑ เป็นของ ๆ ผู้อื่น ๑ ไม่มีแห่ง ความถือเอาด้วยวิสาสะและบังสุกุลสัญญา ๑ ถือเอาเองหรือให้ผู้อื่น ถือเอาของนั้น ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือนด้วยสัญจริตตะสิกขาบท.

ทุติย? จบ

            ในวิกาลคามปเวสนะสิกขาบทที่ ๓ ความว่า ภิกษุใด ไม่บอก กล่าวลาภิกษุอื่นที่มีอยู่ ดังกล่าวแล้วในจาริตตะสิกขาบท เข้าไปบ้าน ในเวลาวิกาล คือตั้งแต่ล่วงเที่ยงแล้วจนอรุณใหม่ ถ้าบ้านล้อม ล่วงที่ล้อมเข้าไป ถ้าบ้านไม่ได้ล้อมล่วงอุปจารบ้าน ในเท้าที่แรก เป็น ทุกกฏ ในเท้าที่ ๒ เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่กิจด่วน คือเพื่อภิกษุ ด้วยกันงูกัด ถ้าแม้มากด้วยกันจะเข้าไปบ้านด้วยการสิ่งหนึ่งไซร้ ทั้ง หมดพึงบอกลากันและกัน การในบ้านยังไม่สำเร็จ จะไปบ้านอื่นกิจซึ่ง จะลาอีกไม่มี ถ้าแลเมื่อรำงับอุตสาหะนั้นแล้วเดินไปวิหารอยู่ อยาก จะไปบ้านอื่นในระหว่างทางไซร้ ต้องบอกลาเป็นแท้ ฉันในเรือน ตระกูลหรือในโรงฉันแล้ว อยากจะไปเที่ยวบิณฑบาตน้ำมันหรือสัปปิ ถ้าภิกษุข้างซ้าย ข้างขวามีอยู่ไซร้ พึงบอกลา เมื่อไม่มีพึงคิดว่าไม่มี แล้วไปเถิด ครั้นลงถนนแล้ว แม้เห็นภิกษุ กิจซึ่งจะลาไม่มี ก็แล หนทางใดไปกลางบ้าน เมื่อเดินไปตามทางนั้น ถ้าจิตคิดว่าจะเที่ยว บิณฑบาตน้ำมันเป็นต้นเกิดขึ้นไซร้ เห็นภิกษุข้างซ้าย ข้างขวา พึง บอกลา เมื่อไม่แวะออกจากทางเดินไป กิจซึ่งจะบอกลาไม่มี คำบอก ลาดังนี้ว่า "วิกาเล คามปฺปเวสน? อาปุจฺฉามิ" บอกเป็นภาษาไทยว่า เราบอกการเข้าไปในบ้านในเวลาวิกาล ในวิกาลเป็นติกกปาจิตตีย์ ในกาลสำคัญว่าวิกาลหรือเคลือบแคลงอยู่ เป็นทุกกฏ รู้อยู่ว่าเป็น กาลเช้า เป็นอนาบัติ มีการด่วนหรือบอกลาภิกษุที่มีอยู่ หรือภิกษุไม่มี ไม่บอกลาเข้าไป หรือไปอารามในระหว่างบ้าน และที่อยู่นางภิกษุณี ที่อยู่เดียรถีย์ โรงฉัน แห่งใดแห่งหนึ่งก็ดี หรือเดินไปตามทางซึ่งไป ตามละแวกบ้าน หรือมีอันตราย และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ ไม่เป็น อาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ ๑ ไม่มีเหตุ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ๑ เข้าไปบ้านในวิกาล ๑ พร้อมด้วย องค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนปฐมกฐินะ สิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้ เป็นกิริยากิริยะ เท่านั้น.

ตติย? จบ

            ในสูจิฆระสิกขาบทที่ ๔ ความว่า ภิกษุใด ทำเองหรือให้ผู้อื่น ทำซึ่งกล่องเข็มแล้วด้วยกระดูก หรืองา หรือเขา ในประโยคที่ทำอยู่ เป็นทุกกฏ ทำแล้วได้มา เป็นเภทนกปาจิตตีย์ ต้องต่อยกล่องเข็มนั้น เสียแล้ว จึงแสดงอาบัตินั้นตก เป็นจตุกกปาจิตตีย์ คือตนทำค้างอยู่ ตนเองทำให้แล้วลง หรือให้ผู้อื่นทำให้แล้วลง หรือผู้อื่นทำค้างอยู่ ตนเองมาทำให้แล้วลง หรือให้ผู้อื่นทำต่อไปให้แล้วลง ทั้ง ๔ อย่างนี้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วได้มา เป็นปาจิตตีย์ ทำเองหรือให้ผู้อื่นทำเพื่อ คนอื่นก็ดี และคนอื่นทำได้มาบริโภคก็ดี เป็นทุกกฏ ทำลูกดุมและธนู ไม้สีไฟ และลูกถวิน และกระบอกยาตา และไม้ดามยาตา และธรรม กรก เหล่านี้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วด้วยกระดูก เป็นต้นก็ดี และภิกษุบ้า เป็นต้น เป็นอนาบัติ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๓ เป็นกล่องเข็ม ๑ แล้วด้วยกระดูกเป็นต้น ๑ ทำเองหรือให้ผู้อื่นทำเพื่อตนได้มา ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือน ด้วยสัญจริตตะสิกขาบท.

จตุตฺถ? จบ

            ในเฉทนกะสิกขาบทที่ ๕ ความว่า ภิกษุเมื่อจะทำเองหรือให้ ผู้อื่นทำซึ่งเตียงหรือตั่ง พึงทำให้เท้าสูง ๘ นิ้วด้วยนิ้วพระสุคต เว้น ไว้แต่แม่แคร่ข้างล่าง เมื่อทำเท้าให้สูงกว่าประมาณนั้น เป็นเฉทนก ปาจิตตีย์ ต้องตัดเท้าให้พอประมาณก่อนจึงแสดงอาบัติตก ตั่งนั้นรี ไม่ยาวนักดังเตียง ไม่สี่เหลี่ยมดังอาสันทิ ให้เขาทำให้พอประมาณ หรือเกินประมาณ ได้มาตัดเสียให้พอประมาณ และฝั่งลงไปในพื้นให้ เหลืออยู่พอประมาณ หรือทำเป็นเพดานผูกเป็นร่างร้านบริโภคก็ดี และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ มีองค์ ๒ เตียงหรือตั่งล่วง ประมาณ ๑ ทำเองหรือให้ผู้อื่นทำเพื่อตนแล้วได้มา ๑ พร้อมด้วย องค์ ๒ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ วินิจฉัยนอกนี้ เหมือนด้วยสูจิฆระสิกขาบท.

ป?ฺจม? จบ

            ในตูโลนัทธะสิกขาบทที่ ๖ ความว่า ภิกษุใด ทำเองหรือให้ ผู้อื่นทำซึ่งเตียงหรือตั่งหุ้มนุ่มข้างใน เป็นอุททาลนกปาจิตตีย์ ต้อง เลิกนุ่นออกเสียก่อนจึงแสดงอาบัติตก ในอาโยคและประคด สายโยค บาตร และถุงบาตร ผ้ากรองน้ำ หมอน เหล่านี้ยัดนุ่นไม่มีโทษ เตียง ตั่ง คนอื่นทำหุ้มนุ่น ได้มาเลิกเสียบริโภค ก็ดี และภิกษุบ้าเป็นต้น เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๒ เตียงตั่งหุ้มนุ่น ๑ ทำเอง หรือให้ผู้อื่นทำเพื่อตนแล้วได้มา ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็น ปาจิตตีย์ วินิจฉัยนอกนี้ พึงรู้โดยดังกล่าวแล้วก่อนนั้นเถิด.

ฉฏฺ?? จบ

            ในนิสีทนะสิกขาบทที่ ๗ ความว่า ภิกษุจะทำเองหรือให้ผู้อื่น ทำซึ่งนิสีทนะ ผ้าสำหรับรองนั่ง พึงทำให้กอปรด้วยประมาณ ๆ นั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง ชายอีกคืบหนึ่ง ด้วยคืบพระสุคต เมื่อทำให้กว้างยาวเกินนั้น ต้องเฉทนกปาจิตตีย์ ตัดเสียให้พอประมาณ ก่อน จึงแสดงอาบัติตก นิสีทนะนั้น เป็นผ้ารองนั่งอย่างหนึ่งมีชาย ด้วยชายที่ลาดลงดังสันถัดแล้วผ้าเข้าไป ๒ แห่งในที่สุดข้างหนึ่งสักคืบ พระสุคต ทำให้เป็น ๓ ชาย ทำให้พอประมาณหรือหย่อนกว่าประมาณ และคนอื่นทำเกินประมาณได้มา ตัดเสียให้พอประมาณแล้วบริโภค จะเอาทำเพดานเป็นต้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ เป็นอนาบัติ มีองค์ ๒ ผ้านิสีทนะนั้นล่วงประมาณ ๑ ทำเองหรือให้ ผู้อื่นทำแล้วได้มา ๑ พร้อมด้วยองค์ ๒ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ วินิจฉัย นอกนั้น พึงรู้โดยนัยดังกล่าวแล้ว.

สตฺตม? จบ

            ในกัณฑุปฏิจฉาทิสิกขาบทที่ ๘ ความว่า ภิกษุทำเองหรือให้ ผู้อื่นทำซึ่งผ้าปิดฝี พึงทำให้กอปรด้วยประมาณ ๆ นั้น โดยยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบพระสุคต ทำให้กว้างยาวกว่านั้น ต้องเฉทนก ปาจิตตีย์ ตัดเสียให้พอประมาณก่อนจึงแสดงอาบัติตก ผ้าปิดฝีนี้ พระองค์ทรงอนุญาตแก่ภิกษุซึ่งเป็นหิต เป็นฝี แผลเปื่อย ใต้สะดือ ลงไป เหนือเข่าขึ้นมา เพื่อจะปิดแผลเหล่านั้น.

อฏฺ?ม? จบ

            ในวัสสิกสาฏิกะสิกขาบทที่ ๙ ความว่า ภิกษุทำเองหรือให้ผู้อื่น ทำซึ่งวัสสิกสาฏิกา ผ้าอาบน้ำฝน พึงทำให้กอปรด้วยประมาณ ๆ นั้น โดยยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง ด้วยคืบพระสุคต ทำให้กว้างยาว กว่านั้น ต้องเฉทนกปาจิตตีย์ ตัดเสียให้พอประมาณก่อน จึงแสดง อาบัติตก.

นวม? จบ

            ในนันทะสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า ภิกษุใด ทำเองหรือให้ผู้อื่น ทำซึ่งจีวรใหญ่ ประมาณเท่าจีวรพระสุคต หรือเกินกว่านั้น ต้อง เฉทนกปาจิตตีย์ ตัดเสียให้ต่ำกว่าประมาณจีวรพระสุคต จึงแสดง อาบัติตก ประมาณแห่งจีวรพระสุคตนั้น ด้านยาว ๙ คืบ ด้านกว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบพระสุคต วินิจฉัยนอกนั้นทั้งปวง ใน ๓ สิกขาบทนี้ ให้พึงรู้โดยนัยดังกล่าวแล้วในนิสีทนะสิกขาบทนั้นเถิด.

ทสม? จบ นวโม วคฺโค จบวรรคที่ ๙

            จะกล่าวประมาณ ตามคัมภีร์สุคตวิทัตถิวิธานปกรณ์ คืบพระ สุคตนั้น ๑๖ นิ้ว กับ ๒ อนุกระเบียดแห่งช่างไม้ทุกวันนี้ ๐



๔ เท่านี้


เป็นสุคตวิทัตถิหนึ่งแล เท้าเตียงตั่งยาว ๑๐ นิ้ว กับ ๓ กระเบียด ช่างไม้ทุกวันนี้ ผ้านิสีทนะยาวศอก ๘ นิ้ว กับกระเบียดหนึ่ง กว้าง ศอกหนึ่งกับ ๓ อนุกระเบียด ชายคืบ ๔ นิ้ว กับ ๒ อนุกระเบียด แห่งช่างไม้ทุกวันนี้ ผ้าปิดฝียาว ๒ ศอกคืบ ๔ นิ้ว กับ ๒ กระเบียด กว้างศอก ๘ นิ้ว กับกระเบียดหนึ่ง แห่งช่างไม้ทุกวันนี้ ผ้าอาบ น้ำฝนยาว ๔ ศอก ๓ กระเบียด กว้างศอกคืบ ๔ นิ้ว กับกระเบียดหนึ่ง กับอนุกระเบียดหนึ่ง แห่งช่างไม้ทุกวันนี้ ผ้าสุคตะจีวรยาว ๖ ศอก กับนิ้ว ๑ กับ ๒ อนุกระเบียด กว้าง ๔ ศอก กับ ๓ กระเบียด แห่ง ช่างไม้ทุกวันนี้ กระเบียด ๑ แบ่งเป็น ๔ ส่วน ส่วนหนึ่ง ชื่อว่า อนุกระเบียด.

สุทฺธิกปาจิตฺติยวณฺณนา นิฏฺ?ิตา จบสุทธิกปาจิตตีย์

            จักพรรณนาในสิกขาบทแห่งปาฏิเทสนียาบัติ ๆ มีสิกขาบท ๔ ในสิกขาบทที่ ๑ ความว่า นางภิกษุณีอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายผู้ใช่ ญาติ อยู่ในละแวกบ้านมีตรอกเป็นต้น ถวายของเคี้ยวของฉันซึ่งเป็น อามิสด้วยมือตน ภิกษุใด อยู่ในบ้านหรือในที่อื่นก็ตาม รับแต่มือ นางภิกษุณีนั้น ด้วยมือตนเพื่อจะฉันเป็นอาหาร เป็นทุกกฏ เพราะ รับ กลืนกิน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกทีกลืน.

            ในสิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุทั้งหลายมากด้วยกัน ทายก นิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ฉันอยู่ในตระกูล ในตระกูลนั้น ถ้ามีนางภิกษุณีมาเตือนทายก ให้เติมแกงเติมข้าวสุก แก่ภิกษุตามมิตร ตามสหาย ภิกษุทั้งหลายพึงขับนางภิกษุณีนั้นให้ไปเสีย กว่าจะฉันแล้ว ถ้าแม้ภิกษุแต่องค์หนึ่งไม่ขับเสียไซร้ ครั้นเธอทั้งหลายรับอามิสเพื่อ จะกลืนกิน เป็นทุกกฏเพราะรับ กลืนกิน ต้องปาฏิเทสนียะทุกทีกลืน.

            ในสิกขาบทที่ ๓ ความว่า ตระกูลใด เป็นโสดาบัน สงฆ์ให้ เสกขสมมติด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาแล้ว ภิกษุใด เขายังไม่ได้นิมนต์ ก่อน แต่ลงสู่อุปจารเรือน และไม่เป็นไข้ ลงสู่อุปจารเรือน รับอามิส ในเสกขะตระกูลนั้น เป็นทุกกฏเพราะรับก่อน รับแล้วฉันในที่อันใด อันหนึ่ง ต้องปาฏิเทสนียะทุกทีกลืน.

            ในสิกขาบทที่ ๔ ความว่า อารัญญิกเสนาสนะ คือวัดป่าอันใด กอปรไปดวยความรังเกียจและภัย ดังกล่าวแล้วในสาสังกะสิกขาบท ภิกษุใด อยู่ในเสนาสนะเช่นนั้น ของเคี้ยวของฉันอันใดซึ่งสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ และนักบวช ผู้ใดผู้หนึ่ง ยังไม่ได้เข้ามาอารามหรืออุปจาร อาราม บอกให้รู้แจ้งว่า ตระกูลชื่อนี้จักนำของมาถวายดังนี้ก่อน เธอ ไม่เป็นไข้ รับของนั้นในอาราม หรืออุปจารอาราม เพื่อจะกลืนกิน เป็นทุกกฏเพราะรับ กลืนกิน ต้องปาฏิเทสนียะทุกทีกลืน.

            อาบัติปาฏิเทสนียะใน ๔ สิกขาบทนี้ คำแสดงในเบื้องต้น ว่าดังนี้ "คารยฺห? อาวุโส ธมฺม? อาปชฺชึ อสปฺปาย? ปาฏิเทสนีย?, ภนฺเต ต? ปฏิเทเสมิ." ถ้าหลายองค์ว่า ปาฏิเทเสม แทน ปาฏิเทเสมิ เป็นคำไทยว่า ข้าพเจ้าได้ต้องซึ่งธรรมอันพระพุทธเจ้าพึงติเตียน ไม่ เป็นที่สบาย ชื่อว่าปาฏิเทสนียะ จะพึงกลับแสดงหรือจะพึงแสดง เฉพาะ ข้าพเจ้าแสดงธรรมนั้น คำถามและคำรับต่อไป เหมือนคำ แสดงอาบัติอื่น ๆ.

ปาฏิเทสนียวณฺณนา นิฏ?ิตา จบปาฏิเทสนียะ

๑ ตามอรรถกถา สงเคราะห์การรับของฝากของคฤหัสถ์ เก็บไว้ในสิกขาบทนี้ด้วย.
๒ ตามอรรถกถาว่า ของมารดาบิดาที่เป็นกัปปิยะ.

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ