บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            ในโอวาทวรรคที่ ๓ ประดับด้วยสิกขาบท ๑๐ โอวาทะสิกขาบท เป็นที่แรก ความว่า ภิกษุใด อันสงฆ์ไม่ได้สมมติให้เป็นผู้สอน และ กล่าวสอนนางภิกษุณี ด้วยครุธรรม ๘ เป็นปาจิตตีย์ ภิกษุพร้อม ด้วยองค์ ๘ ดังนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ๑ เป็นพหุสุต ๑ ปาติโมกข์ทั้ง ๒ มาด้วยดี ๑ เสียงเพราะสละสลวย ๑ เป็นที่รักของ นางภิกษุณี ๑ มีกำลังพอจะสอนนางภิกษุณีได้ ๑ ไม่เคยล่วงครุ ธรรมกับนางผู้เฉพาะพระผู้มีพระภาค บวชนุ่งผ้ากาสายะแต่ครั้งเป็น คฤหัสถ์ ๑ มีพรรษายี่สิบ หรือเกินยี่สิบ ๑ พร้อมด้วยองค์ ๘ นี้ ควรสมมติเป็นผู้สอนนางภิกษุณี ครุธรรม ๘ ดังนี้ ภิกษุณีแม้มี พรรษาร้อยหนึ่ง พึงทำอภิวาทเป็นต้น แก่ภิกษุแม้อุปสมบทในวัน นั้น ๑ อย่าพึงอยู่พรรษาในอาวาสไม่มีภิกษุ ๑ พึงหวังการถาม อุโบสถและการเข้าไปเพื่อโอวาท แต่ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ๑ อยู่ พรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ๑ ต้องครุธรรม คือสังฆา ทิเสสแล้ว พึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ๑ พึงแสวงหา อุปสมบทแก่นางสิกขมานาผู้ศึกษาในธรรม ๖ สิ้น ๒ ปีแล้ว ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ๑ อย่าพึงด่าปริภาษภิกษุโดยปริยายอันหนึ่ง ๑ ปิดคลอง คำนางภิกษุณีไม่ให้สอนภิกษุ เปิดให้ภิกษุสอนนางภิกษุณีแต่วันต้น ไป ๑ ๘ นี้ละสิ่ง ๆ นางภิกษุณีพึงเคารพนับถือ อย่าพึงล่วงจน ตราบเท่าสิ้นชีพ.

ป?ม? จบ

            ในอัตถังคตะสิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุแม้สงฆ์สมมติให้เป็น ผู้สอนแล้ว เมื่ออาทิตย์อัสดงคตไปแล้ว และสอนนางภิกษุณีด้วย ครุธรรม หรือด้วยธรรมอื่น เป็นปาจิตตีย์.

ทุติย? จบ

            ในอุปัสสยะสิกขาบทที่ ๓ ความว่า ภิกษุเข้าไปยังที่อยู่ นางภิกษุณี กล่าวสอนนางภิกษุณีด้วยครุธรรม เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้ แต่สมัย คือ นางภิกษุณีเป็นไข้มาไม่ได้.

ตติย? จบ

            ในอามิสะสิกขาบทที่ ๔ ความว่า ภิกษุใด กล่าวติเตียนว่า ภิกษุทั้งหลายกล่าวสอนนางภิกษุณี เพราะอามิส มีปัจจัย ๔ เป็นต้น ดังนี้ เป็นปาจิตตีย์.

จตุตฺก? จบ

            ในจีวรทานะสิกชาบทที่ ๕ ความว่า ภิกษุใด ให้จีวรแม้ควรวิกัป เป็นอย่างต่ำ แก่นางภิกษุณีผู้ใช่ญาติ เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลก เปลี่ยนกัน แม้ด้วยของเล็กน้อย ไม่เป็นอาบัติ.

ป?ฺจม? จบ

            ในจีวรสิพพนะสิกขาบทที่ ๖ ความว่า ภิกษุใดเย็บผ้าแห่ง นางภิกษุณีผู้ใช่ญาติเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเย็บให้ เป็นปาจิตตีย์.

ฉฏฺ?? จบ

            ในสังวิธานะสิกขาบทที่ ๗ ความว่า ภิกษุใด ชักชวนนัดหมาย เวลา และทางเดินกับนางภิกษุณีแล้ว เดินทางอันเดียวกัน โดยที่สุด แม้สิ้นระหว่างบ้านอันหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย คือ ทางจะต้องไปด้วยหมู่เกวียน เป็นทางกอปรด้วยรังเกียจ คือโอกาส โจรตั้งอยู่ เป็นต้น ปรากฏอยู่ และเป็นทางประกอบด้วยภัยกล้า คือ โจรฆ่ามนุษย์เห็นปรากฏอยู่ มีสมัยดังนี้ ไม่เป็นอาบัติ.

สตฺตม? จบ

            ในนาวาภิรูหนะสิกขาบทที่ ๘ ความว่า ภิกษุใด ชักชวน นัดหมายกับนางภิกษุณี ขึ้นเรือลำเดียวกันไปเหนือน้ำ หรือไปตามน้ำ เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามแต่ฝั่งนี้ไปฝั่งโน้นโดยขวาง.

อฏฺ?ม? จบ

            ในปริปาจนะสิกขาบทที่ ๙ ความว่า ภิกษุใด รู้อยู่ และฉันบิณฑ บาต ที่นางภิกษุณีชักชวนทายกให้จัดถวาย เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ คฤหัสถ์ผู้ทายกเขาเริ่มจะถวายก่อน หรือเขาเป็นญาติและคนปวารณา แห่งภิกษุ ไม่เป็นอาบัติ.

นวม? จบ

            ในรโหนิสัชชะ สิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า ภิกษุใด แต่ผู้เดียว ไม่มีชายรู้ความอยู่ด้วย และสำเร็จการนั่งนอน ในที่ลับตากับด้วย นางภิกษุณีผู้เดียว ไม่มีนางอื่นอยู่ด้วย เป็นปาจิตตีย์.

ทสม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๑๐ นี้ ภิกษุณีอุปสมบทในอุภโตสงฆ์ เป็น ปาจิตติยวัตถุ อุปสมบทในเอกโตสงฆ์ เป็นทุกกฏวัตถุ.

ตติโย วคฺโค จบวรรคที่ ๓

            ในโภชนวรรคที่ ๔ ประดับด้วยสิกขาบท ๑๐ สิกขาบทที่ต้น ชื่ออาวสถะ ความว่า ก้อนข้าวในโรงทาน คือโภชนะ ๕ อย่างคือ ข้าวสุก ๑ ขนมกุมมาส ๑ ข้าวสัตตุ ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑ เหล่านี้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มนุษย์ผู้ปรารถนาบุญ ตระกูลเดียวกันหรือต่างตระกูล รวมกันเข้าเป็นทุนเดียว ตั้งไว้พอกินอิ่ม ในศาลาหรือมณฑปหรือ โคนไม้หรือที่แจ้ง แห่งเดียวกัน หรือในที่ต่าง ๆ กัน หรือย้ายที่ วันนี้ตั้งในที่แห่งหนึ่ง พรุ่งนี้ตั้งในที่แห่งหนึ่ง ดังนี้ ไม่เฉพาะผู้รับว่า ให้คนเหล่านี้ ให้แก่คนเพียงนี้ หรือไม่เฉพาะของกิน ให้ทั่วไป ในโภชนะ ดังนี้ ภิกษุไม่เป็นไข้ คืออาจไปได้แม้กึ่งโยชน์ พึงรับฉัน ได้ในที่แห่งเดียวในวันเดียวเท่านั้น แต่วันที่ ๒ ไปแล้ว ถ้ารับของ คนเหล่านั้นในที่นั้น หรือในที่อื่นอีกด้วยหวังจะฉัน เป็นทุกกฏ กลืนกิน เป็นปาจิตตีย์ ทุกทีกลืน ๆ ไม่เป็นไข้ เป็นติกกปาจิตตีย์ เป็น ไข้สำคัญว่าไม่เป็นไข้ หรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ เป็นไข้รู้ว่าเป็นไข้ก็ดี และเธอได้ฉันแต่คราวเดียว หรือเมื่อจะไปฉันในกลางทางวันหนึ่ง ฉันในที่ถึงแล้ววันหนึ่ง แม้เมื่อจะกลับฉันในกลางทางวันหนึ่ง มา ถึงแล้ว ฉันในที่มาถึงแล้ววันหนึ่ง ก็ดี และคิดจะไปฉันแล้วออกไป กลับเสียด้วยอันตรายอันหนึ่งแล้ว รู้ว่าเป็นทางเกษม เมื่อจะไป ฉัน อีกวันหนึ่ง ก็ดี หรือเจ้าของเขานิมนต์มาถวาย หรือฉันของที่เขา เฉพาะภิกษุตั้งไว้ และฉันของที่เขาตั้งไว้ไม่พอประโยชน์ หรือฉัน ของอื่นพ้นโภชนะ ๕ และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ เป็น อนาณัตติกะ มีองค์ ๓ เป็นก้อนข้าวในโรงทาน ๑ ไม่เป็นไข้ ๑ เฝ้าฉันอยู่ ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือนเอฬกโลมสิกขาบท.

ปม?? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๒ ชื่อคณโภชนะ ความว่า เป็นปาจิตตีย์ เพราะ ฉันคณโภชนะ ภิกษุแต่ ๔ รูปขึ้นไป ชื่อคณะ ถ้าทายกเขามาหาภิกษุ ๔ รูป แห่งเดียวกันหรือต่าง ๆ กัน นิมนต์ ด้วยโภชนะ ๕ อย่าง สิ่งใด สิ่งหนึ่ง คือผู้นิมนต์ถือเอาโภชนะทั้ง ๕ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขึ้นนิมนต์ด้วย โวหารเป็นอกัปปิยะ เป็นต้นว่า นิมนต์ฉันข้าวสุก ฉันเนื้อ ฉันปลา ท่านจงรับข้าวสุก เนื้อ ปลา ของข้าพเจ้า ดังนี้ เป็นภาษามคธ หรือ ภาษาอื่นก็ดี เธอเหล่านั้น ถ้าเขานิมนต์แห่งเดียวกันหรือต่าง ๆ กัน ดังนี้แล้ว และเธอไปแห่งเดียวคราวพร้อมกัน หรือไปแต่ที่ ต่าง ๆ กัน คนละคราว แต่รับแห่งเดียวคราวเดียวกัน ภายหลังฉัน แห่งเดียวกัน หรือฉันในที่ต่าง ๆ กัน ก็ตาม ดังนี้ ชื่อว่าเป็นคณโภชนะ เป็นหมู่กันฉัน ด้วยว่าเอารับในที่แห่งเดียวกันเป็นประมาณ ถ้าแม้ ภิกษุถือเอาชื่อแห่งข้าวสุก เนื้อปลา ขอเขาว่า ท่านจงให้ข้าวสุก เนื้อ ปลา แต่ที่เดียวกัน หรือต่าง ๆ กัน และไปคราวเดียวกันหรือต่าง ๆ กัน แต่รับแต่ที่แห่งเดียวกัน แม้ดังนี้ ก็คงชื่อว่าเป็นคณโภชนะ คณโภชนะ ซึ่งได้แต่ที่นิมนต์หรือวิญญัติทั้ง ๒ นั้น ในขณะรับพร้อมกันดังนั้น เป็น ทุกกฏ กลืนกิน เป็นปาจิตตีย์ ทุกทีกลืน เว้นไว้แต่มีสมัย ๗ ประการ ดังนี้ คือ คิลานสมัย คราวภิกษุเป็นไข้ คือแม่เท้าแตกเที่ยวบิณฑบาต ไม่ได้ จีวรทานสมัย คราวให้จีวร คือแต่วันมหาปวารณาแล้วไป กฐินไม่ได้กราน ปลายฤดูฝนเดือนหนึ่ง กฐินได้กรานแล้ว ๕ เดือน จีวรการสมัย คราวภิกษุทำจีวร ตัด เย็บอยู่ อัทธานคมนสมัย คราวเดิน ทางไกลเพียงกึ่งโยชน์ เมื่อจะไปก็พึงฉันได้ ไปอยู่ตามทาง ก็พึงฉัน ได้ มาถึงแล้ว ก็พึงฉันได้ นาวาภิรูหนสมัย คราวขึ้นไปในเรือ เมื่อ จักขึ้นไป ก็พึงฉันได้ ขึ้นไปแล้ว ก็พึงฉันได้ ลงจากเรือ ก็พึงฉันได้ มหาสมัย คราวใหญ่ คือในที่ใดในกาลใด ภิกษุแต่ ๒ รูป ๓ รูปพอเที่ยว บิณฑบาตเลี้ยงชีพได้ ครั้งมาอีกรูป ๑ เป็นที่ ๔ ไม่พอกับเลี้ยงชีพได้ สมณภัตตสมัย คราวภัตแห่งสมณะ คือนักบวชจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ทำภัตนิมนต์ภิกษุด้วยข้าวสุก สมัยทั้ง ๗ เหล่านี้ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี ฉัน คณโภชนะได้ ไม่เป็นอาบัติ ในคณโภชนะ เป็นติกกปาจิตตีย์ ใช่ คณโภชนะสำคัญว่า คณโภชนะ หรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ ใช่ คณโภชนะ สำคัญว่าใช่คณโภชนะ หรือแต่ ๒ รูป ๓ รูปรับ แห่ง เดียวกันฉัน หรือมากเที่ยวบิณฑบาตแล้วมารวมฉันแห่งเดียวกัน หนึ่ง ในนิจภัตและสลากภัตเป็นต้น และในของฉันอื่นเว้นจาก โภชนะ ๕ และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ เป็นคณโภชนะ ๑ ไม่มีสมัย ๑ กลืนกิน ๑ พร้อมด้วย องค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนเอฬกโลมะ สิกขาบท ดังกล่าวแล้วในปฐมสหเสยยะสิกขาบท.

ทุติย? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๓ ชื่อปรัมปรโภชนะ ความว่า ภิกษุอันทายก นิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ โดยนัยดังกล่าวแล้วในคณโภชนะ ไม่วิกัปเสีย และฉันโภชนะที่ทายกนิมนต์ทีหลังก่อนกว่าโภชนะแห่งทายกนิมนต์ ก่อน ชื่อปรัมปรโภชนะ ในขณะรับ เป็นทุกกฏ กลืนกิน เป็นปาจิตตีย์ ทุกคำกลืน ๆ เว้นไว้แต่มีสมัย ๓ คือ คิลานสมัย ๑ จีวรทานสมัย ๑ จีวรการสมัย ๑ ดังกล่าวแล้วในคณโภชนะ สมัยเหล่านี้อันใดอันหนึ่ง มี ไม่เป็นอาบัติ ในปรัมปรโภชนะ เป็นติกกปาจิตตีย์ ใช่ปรับปร โภชนะหรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ รู้ว่าใช่ปรัมปรโภชนะ ไม่เป็นอาบัติ วิกัปโภชนะที่ทายกนิมนต์ก่อน แก่สหธรรมิกทั้ง ๕ ผู้ใดผู้หนึ่งก่อนในที่ ต่อหน้าดังนี้ว่า "มยฺห? ภตฺตปจฺจาส? ตุยฺห? ทมฺมิ" หรือว่า "มยฺห? ภตฺตปจฺจาส? ตุยฺห? วิกปฺเปมิ" ดังนี้ก็ดี หรือวิกัปในที่ลับหลังดังนี้ว่า "มยฺห? ภตฺตปจฺจาส? อิตฺถนฺนามสฺส ทมฺมิ" หรือว่า "มยฺห? ภตฺตปจฺจาส? อิตฺถนฺนามสฺส วิกปฺเปมิ" ดังนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้ว ฉันโภชนะซึ่งได้ในตระกูลที่นิมนต์ทีหลังก่อนได้ ไม่เป็นอาบัติ ฉันโภชนะซึ่งได้ก่อนและหลังปนกันอยู่ หรือทำโภชนะ ซึ่งเชานิมนต์ ๒ แห่ง ๓ แห่งเข้าแห่งเดียวกันฉัน หรือฉันโดยลำดับนิมนต์ และ บ้านทั้งสิ้นหรือหมู่มนุษย์ทั้งสิ้น เขานิมนต์ฉันในบ้านนั้น ในหมู่มนุษย์ เหล่านั้น แห่งใดแห่งหนึ่งก่อน หรือทายกเขานิมนต์ ภิกษุกล่าวว่า เราจะรับภิกษาดังนี้ ไม่เป็นอาบัติ ในนิจภัต และสลากภัตเป็นต้น หรือ ในของฉันอื่นยกโภชนะ ๕ เสีย หรือภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็น อาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ เป็นโภชนะของผู้อื่น ๑ ไม่มีสมัย ๑ กลืนกิน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนปฐมกฐินะสิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้เป็นกิริยากิริยะ.

ตติย? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๔ ชื่อกาณมาตา ความว่า ตระกูลเขานำขนมซึ่ง เขาตกแต่งไว้ เพื่อจะส่งลูกสาวไปสู่ตระกูลผัว หรือเขานำข้าวสัตตุ ซึ่งเขาตกแต่งไว้ เพื่อจะเป็นเสบียงเดินทาง มาปวารณาตามประสงค์ แก่ภิกษุผู้เข้าไปบิณฑบาต ภิกษุพึงรับแต่เพียงเต็ม ๒ บาตร ๓ บาตร เสมอแต่เพียงเหลี่ยมปากข้างล่าง ถ้าเธอรับบาตรที่ ๓ ให้พูน เป็นจอมขึ้นไป เป็นปาจิตตีย์ นับด้วยขนมและข้าวสัตตุ ซึ่งตั้งอยู่บน เหลี่ยมปากบาตรข้างล่าง และภิกษุองค์ใด รับแล้ว ๒ บาตร เธอองค์ นั้น ออกมาเห็นภิกษุข้างนอก พึงบอกว่า ในที่นั้นเรารับ ๒ บาตรแล้ว ท่านพึงรับแต่บาตร ๑ แม้ภิกษุนั้น เห็นภิกษุอื่นอีก ก็พึงบอกว่า เธอ ผู้มาก่อนรับเต็ม ๒ บาตรแล้ว เรารับบาตร ๑ แล้ว ท่านอย่ารับเลย ภิกษุใด รับก่อนบาตร ๑ แล้ว แม้ภิกษุนั้น ก็พึงบอกต่อ ๆ กันอย่างนั้น และภิกษุใด รับเอง ๓ บาตร เธอนั้น เห็นภิกษุอื่นแล้ว ก็พึงห้ามเสีย เมื่อไม่ห้าม เป็นทุกกฏ แม้เธอผู้ได้ยินห้ามแล้ว ขืนรับ คงเป็นทุกกฏ แล้วเธอนั้น พึงไปยังโรงฉันหรือวิหาร หรือที่เคยกลับมาประทับแห่งใด แห่งหนึ่ง ซึ่งใกล้แต่ที่ได้ของมานั้นแล้ว ตั้งไว้เพื่อตนบาตร ๑ ที่เหลือ อยู่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ ก็แลจะให้ตามมิตรสหายนั้นไม่ได้ เธอใดรับ มาบาตร ๑ เธอนั้น สักสิ่งหนึ่งไม่ปรารถนา ก็อย่าให้เลย พึงทำตาม ชอบใจเถิด.

จตุตฺถ? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๕ ชื่อปฐมปวารณา ความว่า ภิกษุใด ฉันโภชนะ ๕ สิ่งใดสิ่งหนึ่งค้างอยู่ และห้ามโภชนะ ๕ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเขาอยู่ใน หัตถบาสแล้วและน้อมเข้ามาให้ ลุกจากที่แล้ว เธอกลับฉันของเคี้ยว ของฉัน ซึ่งเป็นอนติริตตะ คือ ไม่ได้ทำวินัยกรรม และไม่เป็นเดน ภิกษุไข้อีก ในกาลในวันนั้น เป็นปาจิตตีย์ทุกทีกลืน ปวารณามีองค์ ๕ อสน? ป?ฺ?ายติ กินอยู่ ๑ โภชน? ป?ฺ?าติ ของที่ฉันและของที่ห้าม เป็นโภชนะ ๕ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ๑ หตฺถปาเส ?ิโต ผู้ให้อยู่ในหัตถบาส ๑ อภิหรติ เขาน้อมของเข้ามา ๑ ปฏิกฺเขโม ป?ฺ?ายติ ห้ามเสีย ๑ พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึงเป็นอันห้าม ชื่อว่าปวารณา.

            โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุกเกิดแต่ธัญญชาติ ๗ ขนมกุมมาส ข้าวสัตตุ ปลา เนื้อ ธัญญชาติ ๗ คือ สาลิข้าวไม่มีแกลบ วิหิ ข้าวเปลือก ยโว ข้าวแดงก็ว่า ข้าวเหนียวก็ว่า โคธูโม ข้าวละมาน กงฺกุ ข้าวฟ่าง วรโก ลูกเดือย กุทฺรูสโก หญ้ากับแก้ เขาถือเอาข้าวสารแห่งธัญญ ชาติ ๗ นี้ หุงเป็นข้าวสวยก็ตาม ต้มเป็นข้าวต้มก็ตาม ถ้าในเวลา ฉันอยู่ ร้อนก็ตามเย็นก็ตาม รอยที่ควักและตักปรากฏอยู่ ข้าวนั้น ชื่อว่า โอทโน คือเป็นข้าวสุก ให้เกิดปวารณา ก็แลข้าวปายาส หรือ ข้าวต้มเจือด้วยของเหลว พอยกลงจากเตายังร้อนอยู่ อาจกลอกดื่มได้ แม้รอยในโอกาสที่ควักไม่ปรากฏ ไม่ให้เกิดปวารณา ก็ถ้าไอร้อน สิ้นแล้ว แค่นเข้า แสดงรอยได้ไซร้ ให้เกิดปวารณาได้อีก ความที่เหลว ก่อนรักษาไม่ได้ ถ้าแม้เขาปนใบไม้ผลไม้ และหน่อไม้ลงมาก แทรก ข้าวสารแม้สักกำหนึ่ง ถ้าแลเวลาฉันรอยปรากฏไซร้ ย่อมให้เกิด ปวารณา ในที่นิมนต์ไม่มีข้าวต้ม เขาคิดจะถวายข้าวต้ม และเขาเอาน้ำ และน้ำส้ม น้ำนม เป็นต้น ปนในข้าวสุก เข้ามาถวายว่า จงรับข้าวต้ม แม้ถึงว่าเป็นของเหลว ก็ย่อมให้เกิดปวารณาได้แท้ ถ้าแม้เขาเท ข้าวสุกในน้ำซึ่งเดือดร้อนต้มมาถวายไซร้ ของนั้นสงเคราะห์ว่าเป็น ของต้ม ถ้าเขาเอาชิ้นเนื้อ ชินปลา สักเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด เติมลงใน ข้าวต้ม ย่อมให้เกิดปวารณา ข้าวสุกเขาหุงด้วยลูกขุยไผ่เป็นต้น หรือ ด้วยเง่ามันและผล สิ่งใดสิ่งหนึ่งอื่น พ้นจากข้าวสารแห่งธัญญชาติ ๗ นี้ ไม่ให้เกิดปวารณา ขนมกุมมาสนั้น เขาทำด้วยข้าว ๗ ประการ ให้ เกิดปวารณา ขนมกุมมาสและข้าวต้ม เขาทำด้วยของอื่นมีถั่วเขียว เป็นต้น ไม่ให้เกิดปวารณา ข้าวสัตตุนั้น เขาคั่วธัญญชาติ ๗ อันใด อันหนึ่งทำขึ้น โดยที่สุดแม้จุรณและรำที่เขาตำข้าวสารแห่งข้าวเปลือก ซึ่งเขาคั่วสุกเกรียมทำขึ้นนั้น คงสงเคราะห์ว่าข้าวสัตตุ ก็แลรำหรือ ข้าวสาร หรือข้าวตอก แห่งข้าวเปลือกที่เขาคั่วสุกพอดีหรือสุกแดด หรือ ข้าวสุกและข้าวสัตตุเป็นต้น ที่เขาทำด้วยข้าวสารและข้าวตอกนั้น ไม่ให้เป็นปวารณา ในเนื้อและปลาเล่า ถ้าเมื่อภิกษุฉันข้าวต้มอยู่ เขาถวายชิ้นเนื้อหรือชิ้นปลา ในภาชนะอันเดียวหรือต่าง ๆ ไซร้ ถ้าเธอ นั้นไม่ได้ฉันเนื้อปลาอยู่ และห้ามของอื่นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งพอให้เกิด ปวารณาเล่า ไม่ชื่อว่าห้าม แต่ชิ้นเนื้อปลานั้น ชิ้นหนึ่งเธอเคี้ยวกิน อยู่แล้ว ชิ้นหนึ่งอยู่ในมือ หรืออยู่ในบาตร ถ้าเธอห้ามเนื้อปลาอื่นไซร้ ชื่อว่าห้ามทั้งสองชิ้น เธอเคี้ยวกินแล้ว ในปากแม้สักเท่าเมล็ดพันธุ์ ผักกาดไม่เหลืออยู่ ถ้าห้ามเนื้อปลาอื่นไซร้ ไม่ชื่อว่าห้าม ก็แลภิกษุ ใด ฉันของฉันเป็นกัปปิยะหรือเป็นอกัปปิยะอื่นอยู่ ห้ามอกัปปิยมังสะ และอกัปปิยโภชนะ ซึ่งเกิดแต่กุลทูสกเวชชกรรม และเกิดแต่อวด อุตตริมนุสสธรรม และยินดีรูปิยะเป็นต้น เธอนั้นไม่ชื่อว่าห้าม ข้าว แม้เมล็ดหนึ่ง เธอได้กลืนกินแล้ว โภชนะในบาตรและปากและมือ แห่งใดแห่งหนึ่ง ถ้าเธอนั้นยังอาลัยอยู่ และห้ามซึ่งโภชนะอื่น มีลักษณะดังกล่าวแล้วไซร้ ชื่อว่าห้าม ถ้าเธอไม่อาลัย คือสิ่งใดซึ่งยัง เหลืออยู่ในบาตรเป็นต้น สิ่งนั้นเธอไม่อยากจะกลืนกิน หรืออยากจะให้ ผู้อื่นเสีย หรืออยากจะไปฉันในที่อื่น เธอนั้นแม้ห้าม ก็ไม่เป็นอันห้าม

            จะว่าด้วยหัตถบาส ถ้าภิกษุนั่งอยู่ กำหนดแต่ส่วนสุดข้างหลัง ถ้ายืนอยู่ กำหนดแต่ที่สุดส้นไป ถ้านอนอยู่ นอนโดยซึกข้างใด กำหนดแต่ที่สุดหลังซีกข้างนั้นไป ถึงส่วนสุดอวัยวะที่ใกล้แห่งผู้ให้ ซึ่งนั่งหรือยืนหรือนอนอยู่ เว้นแต่มือที่เขาเหยียดออกมาจะให้ ๆ ได้ ๒ ศอกคืบ ชื่อว่าหัตถบาส เขายืนในหัตถบาสแล้วน้อมเข้ามา ห้าม เสีย จึงเป็นปวารณา พ้นหัตถบาสนั้นออกไป ไม่เป็นปวารณา.

            จะว่าด้วยน้อมของเข้ามา ถ้าแม้ภิกษุนั่งเป็นลำดับกัน ไม่น้อม บาตรซึ่งอยู่ในมือหรืออยู่ในเชิงเลย เป็นแต่บอกให้ว่า ท่านจงถือเอา ข้าวสุก ดังนี้ไซร้ ภิกษุห้ามเสีย ไม่เป็นปวารณา แม้ในของซึ่งเขา ยกกระเช้าข้าวสุกเข้ามาวางไว้ในพื้นข้าวหน้า แล้วบอกให้ดังนั้น ก็เหมือนกัน ครั้นเขายกขึ้นหรือน้อมเข้ามาหน่อยหนึ่งแล้วว่า ท่านจง รับ เมื่อห้ามเสีย จึงเป็นปวารณา ผู้หนึ่งถือกระเช้าข้าวสุกอังคาสอยู่ ผู้หนึ่งว่าจะช่วยยกเป็นแต่จับเท่านั้น ผู้อังคาสนั้นเอง ยกกระเช้าข้าว นั้นไว้ เพราะเหตุนั้น ของนั้นชื่อว่า เป็นอันเขาน้อมเข้ามาแท้ เมื่อห้าม เขาผู้ถือเอาด้วยจะได้แต่กระเช้านั้น เป็นปวารณา ถ้าแลผู้อังคาสเป็น แต่ถูกกระเช้าเท่านั้น ก็แต่ผู้นอกนั้นยกกระเช้านั้นไว้ เมื่อห้ามเขา ผู้ถือเอาหวังจะให้แต่กระเช้านั้น ไม่เป็นปวารณา ครั้นเขาตักด้วย ทรพียกขึ้น ห้ามเขาเสีย จึงเป็นปวารณา แม้ครั้นคนทั้ง ๒ เขายก เสมอกันอยู่ เมื่อห้ามเสีย เป็นอันห้ามแท้ ครั้นเขาให้ภิกษุซึ่งเป็น ลำดับอยู่ ภิกษุนอกนั้นช่วยปิดบาตรเสีย ชื่อว่าห้ามของซึ่งเขาน้อม เข้ามาแก่ผู้อื่น เพราะเหตุนั้น ไม่เป็นปวารณา.

            จะว่าด้วยห้ามในของที่เขาน้อมมาด้วยวาจา ห้ามไม่ขึ้น ของเขา น้อมเข้ามาด้วยกาย ครั้นห้ามกายวิการมีกระดิกนิ้ว เป็นต้น หรือ ห้ามด้วยวจีวิการเป็นต้นว่า พอแล้วอย่าให้เลย ดังนี้ จึงเป็นปวารณา ผู้หนึ่งน้อมแกงมีเนื้ออยู่ด้วยเข้ามาว่าจงรับแกง ภิกษุผู้ได้ยินห้ามเขา ผู้นั้นเสีย ไม่เป็นปวารณา ครั้นเขากล่าวว่า ท่านจงรับแกงเนื้อ ห้ามเสีย จึงเป็นปวารณา ถ้าเขากล่าวว่า จงรับของนี้ ห้ามเสียก็คงเป็นปวารณา แม้เขาทำเนื้อให้ต่างออกไปกล่าวว่า จงรับแกงเนื้อ ถ้าชิ้นเนื้อสักเท่า เมล็ดพันธุ์ผักกาดมีอยู่ไซร้ เมื่อห้ามของนั้นเสีย ย่อมเป็นปวารณา ถ้าไม่มีไซร้ ควรอยู่ ข้าว แกง ปลา เนื้อ เจือด้วยขนุน และหน่อไม้ เป็นต้น แล้วถือเอามาว่า ท่านจงรับแกงขนุนแกงหน่อไม้ แม้ดังนี้ ถึงจะห้ามไม่ชื่อว่าห้าม เพราะกล่าวด้วยชื่อของซึ่งไม่ควรให้เกิด ปวารณา ครั้งเขากล่าวว่าจงรับแกงปลาแกงเนื้อ หรือว่าจงรับของนี้ จึงให้เกิดปวารณา ในอิริยาบถ ๔ ยืนเดินนั่งนอนนี้ ภิกษุห้ามใน อิริยาบถใด อย่าให้อิริยาบถนั้นกำเริบพึงฉันเถิด ของฉันซึ่งยังไม่ได้ ทำวินัยกรรมโดยอาการ ๗ และไม่เป็นเดนภิกษุไข้ ชื่อว่าอนติริตตะ ของไม่เหลือเกิน ฉันไม่ได้ ของซึ่งทำวินัยกรรมแล้ว และเป็นเดน ภิกษุไข้ ชื่อว่าอติริตตะ ของเหลือเกิน ฉันได้

            อาการแห่งวินัยกรรม ๗ ดังนี้ กปฺปิยกต? โหติ ของซึ่งจะทำ วินัยกรรมเป็นผลหรือเง่าและราก เป็นต้น ทำกัปปิยะเสียด้วย สมณกัปปะ ๕ และของนอกนั้นไม่เป็นอกัปปิยมังสะและอกัปปิยโภนะ ปฏิคฺคหิตกต? โหติ ของนั้นภิกษุรับประเคนเสียก่อนจึงทำวินัยกรรม อุจฺจาริตกต? โหติ ภิกษุผู้ห้าม เข้ามาเพื่อจะยังภิกษุอื่นให้ทำกัปปิยะ ได้ยกขึ้นหรือน้อมเข้าไปหน่อยหนึ่งทำกัปปิยะ หตฺถปาเส ?ิเตน กต? โหติ ภิกษุผู้ทำกัปปิยะอยู่ในหัตถบาสแห่งภิกษุผู้มาเพื่อจะให้ทำกัป ปิยะแล้วจึงทำ ภุตฺตาวินา กต? โหติ ภิกษุผู้จะทำวินัยกรรมให้ได้ฉัน โภชนะ ซึ่งให้เกิดปวารณา โดยที่สุดแม้ข้าวสุกเมล็ด ๑ หรือเนื้อชิ้น ๑ แต่บาตรภิกษุซึ่งนั่งอยู่ใกล้แล้วทำให้ ภุตฺตาวินา ปวาริเตน อาสนา อวุฏฺ?ิเตน กต? โหติ ภิกษุผู้ทำวินัยกรรม ถ้าฉันแล้วห้ามข้าวแล้ว ยังไม่ลุกจากอาสนะทำให้ อลเมต? สพฺพนฺติ วุตฺต? โหติ ภิกษุผู้จะทำ ให้เปล่งวาจาว่า อลเมต? สพฺพ? แปลว่าของทั้งปวงพอควร ครั้น ของนั้น ทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว ด้วยอาการแห่งวินัยกรรม ๗ ดังนี้ เมื่อ ภิกษุฉันอยู่ ถ้าเขาเอาอามิสอื่นมาเติมลงไซร้ เธอนั้นจะทำกัปปิยะ ของนั้นอีกไม่ได้ ด้วยท่านกล่าวไว้ว่า ของสิ่งใด ไม่ได้ทำกัปปิยะ พึงทำของนั้น เธอองค์ใดไม่ได้ทำ เธอองค์นั้นพึงทำ เพราะเหตุนั้น ของซึ่งทำอยู่ในภาชนะ จะเป็นอันทำกับด้วยของที่ทำแล้วก่อน จะทำ กัปปิยะของนั้นไม่ควร ก็แลภิกษุนั้น หรือภิกษุอื่นจะทำในภาชนะอื่น ควรอยู่ ทำแล้วดังนี้ จะปนกับของที่ทำก่อน ฉันก็ควร ก็แล จะควรแก่ ภิกษุนั้นผู้เดียวหามิได้ แม้ถึงภิกษุอื่นซึ่งห้ามข้าวแล้ว เว้นไว้แต่ภิกษุ ผู้ทำวินัยกรรมให้ จะฉันก็ควร ก็แต่จะไม่ปนกับของที่ไม่ได้ทำกัปปิยะ อย่างใด พึงทำปากและมือให้หมดเสียอย่างนั้นแล้วฉันเถิด

            ก็แลของที่เป็นเดนภิกษุไข้นั้น ใช่จะเป็นแต่ของที่ภิกษุไข้ฉัน เหลืออย่างเดียวหามิได้ ถึงของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เขาเฉพาะภิกษุไข้นำมา ไว้ว่า เธออยากวันนี้หรือเมื่อใด จะได้ฉันเมื่อนั้นของทั้งปวงนั้นก็ ชื่อว่าเดนภิกษุไข้

            ภิกษุห้ามข้าวแล้วโดยนัยดังกล่าวมา ให้อิริยาบถกำเริบแล้ว รับอามิสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นอนติริตตะ เพื่อจะกลืนกิน เป็นทุกกฏ เพราะรับ กลืนกิน เป็นปาจิตตีย์ทุกทีกลืน ในอามิสเป็นอนติริตตะ เป็นติกกปาจิตตีย์ รับยามกาลิกเป็นต้น เพื่ออาหาร กลืนกินปราศจาก อามิสเพื่ออาหาร หรืออามิสเป็นอติริตตะ สำคัญว่าเป็นอนติริตตะและ สงสัยอยู่ เหล่านี้เป็นทุกกฏ รับอามิสเป็นอนติริตตะ ด้วยคิดว่าจะให้ ภิกษุอื่นทำกัปปิยะให้แล้วฉัน และรับเพื่อผู้อื่น และฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกปราศจากอามิส โดยความบริโภคซึ่งพระองค์ ทรงอนุญาต และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ เป็น อนาณัตติกะ มีองค์ ๓ เป็นผู้ห้ามข้าวลุกจากอาสนะแล้ว ๑ อามิส ไม่ได้ทำกัปปิยะเป็นอนติริตตะอยู่ ๑ กลืนกินในกาล ๑ พร้อมด้วย องค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วยปฐมกฐินะ สิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้เป็นกิริยากิริยะ.

ป?ฺจม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๖ ชื่อ ทุติยปวารณา ความว่า ภิกษุใดรู้อยู่ว่า ภิกษุอื่นห้ามข้าวแล้ว ดังสิกขาบทก่อน และเอาอามิสของฉันซึ่งเป็น อนติริตตะ ไม่ได้ทำกัปปิยะ มาข่มขืนและอ้อนวอนให้เธอฉัน ด้วย หวังจะข่มขืนยกโทษโจทท้วง เมื่อน้อมเข้าไป หรือเมื่อเธอนั้นรับจะฉัน เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้น้อมเข้าไป เธอนั้นฉันอยู่ ก็เป็นทุกกฏ แก่ผู้น้อม เข้าไปทุกทีกลืนแห่งผู้นั้น เธอนั้นฉันแล้ว ผู้น้อมเข้าไปต้องปาจิตตีย์ เธอห้ามข้าวแล้วรู้อยู่ว่าเธอห้ามข้าวแล้ว เป็นปาจิตตีย์ สงสัยอยู่ เป็น ทุกกฏ เมื่อน้อมยามกาลิกเข้าไป เพื่อจะให้เป็นอาหารก็ดี ครั้น เธอรับและกลืนกินซึ่งยามกาลิกเป็นต้นนั้น ก็ดี เธอไม่ได้ห้ามข้าว สำคัญว่าห้ามและสงสัยอยู่ก็ดี เป็นทุกกฏ ให้ทำเป็นอติริตตะแล้วให้ หรือให้ด้วยคำว่า ท่านจงให้เขาทำเป็นอติริตตะแล้วจึงฉัน หรือเอา ไปให้ผู้อื่น ก็ดี และให้ยามกาลิก เป็นต้นว่า เมื่อมีเหตุแล้วจึงฉันเถิด และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๕ เธอห้ามข้าวแล้ว ๑ รู้อยู่ว่าเธอห้ามข้าวแล้ว ๑ เพ่งเล็งในการ ยกโทษ ๑ เอาของที่เป็นอนติริตตะน้อมเข้าไปให้ ๑ เธอนั้นฉันแล้ว ๑ พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนอทินนาทานสิกขาบท แต่สิกขาบทนี้เป็นทุกขเวทนา.

ฉฏฺ?? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๗ ชื่อวิกาลโภชนะ ความว่า ในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เวลาเที่ยงแล้วไปจนอรุณใหม่ขึ้นมา ของเคี้ยวซึ่งเป็นอามิส สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่รากไม้ผลไม้ไป หรือของฉันโภชนะ ๕ เหล่านั้น ภิกษุรับเพื่อกลืนกิน เป็นทุกกฏเพราะรับ กลืนกิน ต้องปาจิตตีย์ ทุกทีกลืน ในเวลาวิกาล เป็นติกกปาจิตตีย์ รับยามกาลิกเป็นต้น เพื่ออาหาร หรือกลืนกินเพื่ออาหาร ในวิกาล หรือกาลคือเช้าชั่วเที่ยง สำคัญว่าวิกาลและสงสัยอยู่ เหล่านี้ เป็นทุกกฏ ในกาลรู้อยู่ว่าเป็นกาล ไม่เป็นอาบัติ เมื่อเหตุมี ฉันยามกาลิกเป็นต้นในวิกาลได้ และภิกษุบ้า เป็นต้น เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ แม้ภิกษุเป็นคนมักอ้วกมักเรอ อาหาร ออกมาถึงลำคอแล้วกลับเข้าไป ก็ไม่เป็นอาบัติ โดยอนุญาตมาใน ขันธกะ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ คือเป็นเวลาวิกาล ๑ ของฉันเป็น ยาวกาลิก ๑ กลืนกิน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนเอฬกโลมะสิกขาบท ดังกล่าวแล้วใน ปฐมสหเสยยะ.

สตฺตม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๘ ชื่อสันนิธิการกะ ความว่า ของเคี้ยวของฉัน ซึ่งเป็นยาวกาลิก สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ภิกษุรับประเคนวันนี้แรมคืนไว้พรุ่งนี้ ชื่อว่าเป็นสันนิธิ รับของสันนิธินั้นเพื่อจะฉัน ต้องทุกกฏเพราะรับ กลืนกิน ต้องปาจิตตีย์ทุกทีกลืน ถ้าแม้บาตรล้างไม่หมด ครั้นสีด้วย นิ้วมือรอยปรากฏอยู่ หรือยางข้าวสุกเข้าไปอยู่ในระหว่างแห่งบาตร ซึ่งเป็นปม ยางข้าวนั้นครั้นเอาบาตรตากในที่ร้อน หรือรับข้าวต้มอัน ร้อน มันไหลออกมา ภิกษุฉันแม้ในบาตรเช่นนั้นในวันรุ่งเช้า เป็น ปาจิตตีย์ ก็ของใด ภิกษุเสียสละแก่สามเณรขาดไม่เหลียวแลแล้ว สามเณรเก็บไว้ เธอได้มาฉัน ของนั้นควรอยู่ ในอามิสเป็นสันนิธิ เป็นติกปาจิตตีย์ รับยามกาลิกและสัตตาหกาลิก ยาวชีวิกซึ่งเป็น สันนิธิ เพื่ออาหาร หรือกลืนกินเพื่ออาหาร หรือในอามิสที่ไม่ได้เป็น สันนิธิ สำคัญว่าเป็นสันนิธิหรือสงสัยอยู่ เหล่านี้ เป็นทุกกฏ รู้ว่าไม่ เป็นสันนิธิ เป็นอนาบัติ เก็บยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตหกาลิกไว้ ไม่ให้ล่วงกาลของตน ๆ ฉันตามกาล อนึ่ง แม้เมื่อเหตุมีและฉัน ยาวชีวิกก็ดี และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๓ อามิสเป็นยาวกาลิก ๑ อามิสนั้น รับประเคนแรมคืนไว้เป็น สันนิธิ ๑ กลืนกิน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐาน วิธีเป็นต้น เหมือนเอฬกโลมะสิกขาบท ดังกล่าวแล้วในปฐมสหเสยยะ.

อฏฺ?ม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๙ ชื่อปณีตโภชนะ ความว่า ข้าวสุกซึ่งเกิดแต่ ธัญญชาติ ๗ ระคนด้วยของประณีต ๙ คือ เนยใส เนยก้อน น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ชื่อว่าปณีต โภชนะ ภิกษุใดไม่เป็นไข้ ขอปณีตโภชนะกะผู้ใช่ญาติคนปวารณา ด้วยคำเป็นต้นว่า ท่านจงให้ข้าวสุกทั้งเนยใสด้วย หรือว่า ท่านจงให้ ข้าวสุกทั้งปลาด้วย ดังนี้ เป็นอาบัติทุกกฏ เพราะวิญญัติก่อน ได้มา รับจะฉันเป็นทุกกฏเพราะรับ กลืนกิน เป็นปาจิตตีย์ทุกทีกลืน ขอมา ฉันทั้ง ๙ สิ่ง เป็นปาจิตตีย์ ๙ ตัว ภิกษุใดไม่เป็นไข้ ขอเนยใส เนยก้อน น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ล้วน ไม่เจือด้วยข้าวสุก เพื่อเภสัช พึงปรับอาบัติ เธอด้วยมหานามะสิกขาบท ขอปลาเป็นต้น ๔ อย่าง ล้วนไม่เจือ พึง ปรับเธอด้วยสูโทนวิญญัติในเสขิยะ ขอโภชนะระคนด้วยสัปปิ เป็นต้น พึงปรับเธอด้วยสิกขาบทนี้ ขอข้าวสุกทั้งปลาด้วย เขาให้ ข้าวสุกกับเนื้อ ผิดสังเกต ไม่เป็นอาบัติด้วยสิกขาบทนี้ ไม่เป็นไข้ เป็นติกกปาจิตตีย์ เป็นไข้สำคัญว่าไม่เป็นไข้ หรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ รู้ว่าเป็นไข้ เป็นอนาบัติ ขอในคราวเมื่อเป็นไข้ หายไข้แล้วฉัน หรือ ฉันของเหลือภิกษุไข้ หรือขอแต่ญาติและคนปวารณา หรือขอเพื่อ ผู้อื่น หรือแลกเอาด้วยทรัพย์ของตน และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๔ เป็นปณีตโภชนะ ๑ ไม่ เป็นไข้ ๑ ได้มาด้วยวิญญัติ ๑ กลืนกิน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึง เป็นปาจิตตีย์ เป็นอัทธานสมุฏฐาน อาบัติเกิดแต่กาย แต่กายวาจา แต่กายจิต แต่กายวาจาจิต เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ เป็นกายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓.

นวม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๑๐ ชื่อทันตโปณะ ความว่า ของจะพึงกลืนกิน ทั้งปวง อนุปสัมบันไม่ได้อยู่ในหัตถบาส ให้ด้วยกาย หรือของ เนื่องด้วยกาย หรือโยนให้แก่ภิกษุซึ่งรับด้วยกาย หรือของเนื่องด้วย กาย ของนั้นชื่อว่าเขาไม่ได้ประเคนให้ ภิกษุใดถือเอาเองซึ่งของ ที่ไม่ได้รับประเคนเช่นนั้น แม้เป็นของป่นละเอียดดังธุลี เพื่อจะ กลืนกิน เป็นทุกกฏ เพราะรับ กลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปโดยช่องปาก หรือช่องจมูก เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่น้ำและไม้สีฟัน น้ำดื่มกินได้ ตามสบาย ไม้สีฟันเป็นของไม่ล่วงลำคอ ถ้าล่วงลำคอเข้าไปพึงไม่รู้ ก็คงเป็นปาจิตตีย์ ในของที่ไม่ได้รับประเคนเป็นติกกปาจิตตีย์ ในของ ที่รับประเคนแล้วสำคัญว่ายังไม่ได้รับ หรือสงสัยอยู่ เป็นทุกกฏ รู้ว่า รับประเคนแล้ว เป็นอนาบัติ ในน้ำและไม้สีฟันก็ดี หรือยามหาวิกัติ ๔ คือ มูตร คูถ เถ้า ดิน เมื่อเหตุคืองูกัดมีขึ้น กัปปิยการกไม่มี ถือเอา มาฉันเอง และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้เป็นอนาบัติ กัปปิยการกแม้ ใช้ยาก หรือไม่อาจทำได้ ก็ตั้งอยู่ในฝักฝ่ายว่าไม่มี เมื่อเป็นเช่นนี้ ครั้นเถ้าไม่มี ภิกษุจะเผาไม้แห้ง หรือไม้แห้งไม่มี แม้จะตัดไม่สดแต่ ต้นไม่มาทำเป็นเถ้าก็ควร แม้จะขุดแผ่นดิน เพื่อจะต้องการดินก็ควร ก็แลยามหาวิกัติทั้ง ๔ นี้ ชื่อกาโลทิสสะ เฉพาะกาลงูกัด ในขณะงูกัด อย่างเดียว จะถือเอาเองก็ควร ในกาลอื่นพึงรับประเคนฉัน เป็น อนาณัตติกะ มีองค์ ๔ ของไม่ได้รับประเคน ๑ ของนั้นใช่ของ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ๑ ของนั้นไม่เป็นของอัพโพหาริกดังควันไฟ เป็นต้น ๑ กลืนเข้าไปในลำคอ ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงเป็น ปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนเอฬกโลมะสิกขาบท ดังกล่าว แล้วในปฐมสหเสยยะ.

ทสม? จบ จตุตฺโถ วคฺโค จบวรรคที่ ๔

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ