บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



บุพพสิกขาวรรณณา

สารบัญ

คำนำ

รตนัตตยบัพพะ

อาปัตตินามาทิบัพพะ

ปฏิปัตติมุขบัพพพะ

กาลิกบัพพะ

พินทวาธิฏฐานาทิบัพพะ

วิชหนาทิบัพพะ

อาปัตติเทสนาทิบัพพะ

มาตรากถา

 

            ในภูตคามวรรคที่ ๒ ประดับด้วยสิกขาบท ๑๐ สิกขาบทที่ ต้น ชื่อภูตคามะสิกขาบท ความว่า ภิกษุทำภูตคาม คือต้นไม้ ต้นหญ้า เถาวัลย์ให้ตกไป คือให้กำเริบ เป็นปาจิตตีย์ ต้นไม้ ต้นหญ้า เถาวัลย์ ซึ่งเกิดอยู่ในบกและน้ำ ที่ต้นไม้และกำแพงแห่งใดแห่งหนึ่ง โดย ที่สุดแม้ติณชาติ คือหญ้าอันสุขุมละเอียดยิ่งนัก ดังของเกิดที่กำแพง และหิน และเสวาลชาติ สาหร่ายจอกแหนเล็ก ดังเมล็ดพรรณผักกาด ยังสดเขียวอยู่ ตั้งอยู่ในที่แห่งตน ชื่อว่าภูตคามสิ้น ภิกษุรู้อยู่ทำให้ กำเริบ คือถอนขึ้นจากที่ ยกขึ้นจากน้ำ และตัดต่อยฟันแทงเผาเอง หรือให้ผู้อื่นทำให้กำเริบ โดยนัยดังกล่าวแล้วในปฐวีขณนสิกขาบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ต้นไม้ต้นหญ้าเถาวัลย์ทั้งปวงนั้น เขาพรากออก จากภูตคามแล้ว คือถอนตัดมาจากที่แล้ว จะเป็นของมีราก และลำต้น และข้อและยอด และเมล็ด สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นพืชก็ตาม ชื่อว่าพีชคาม ๆ เหล่านั้น เขาเอามาไว้ในภาชนะ หรือเขาทำเป็นกองไว้ หรือเขาปลูก ไว้ในพื้นอีก แตกแต่รากอย่างเดียว ยังไม่แตกหน่อ หรือแตกแต่หน่อ อย่างเดียวยังไม่แตกราก ถ้าแม้เกลียวใบประมาณสักคืบหนึ่งแตกออก รากยังไม่แตกออก หรือรากแตกออกแล้ว หน่อยังไม่เขียวตราบใด ก็ชื่อว่าพีชคามอยู่ตราบนั้น เมื่อให้พีชคามเหล่านั้นกำเริบ เป็นทุกกฏ สงสัย อยู่ในภูตคามและพีชคามก็ดี ใช่ภูตคามใช่พีชคาม สำคัญว่า ภูตคามพีชคาม หรือสงสัยอยู่ และให้กำเริบ เป็นทุกกฏ เป็นภูตคาม และพีชคาม ภิกษุสำคัญว่ามิใช่แล้วให้กำเริบ และภิกษุบ้าเป็นต้น ไม่เป็นอาบัติ ไม่แกล้ง ดังกลิ้งหินและต้นไม้เป็นต้น หรือลากกิ่งไม้ และเอาไม้เท้าจดพื้นเดินไป หญ้าเป็นต้นขาดไป ไม่เป็นอาบัติ เพราะไม่แกล้งจะให้ขาด ไม่มีสติ ดังส่งจิตไปอื่นพูดอยู่กับผู้หนึ่ง เอาศีรษะแม่เท้า หรือมือตัดเด็ดหญ้า หรือเถาวัลย์อยู่ ไม่เป็นอาบัติ ด้วยไม่มีสติ ไม่รู้ ดังไม่รู้ว่า พีชคามหรือภูตคามอยู่ข้างใน และไม่รู้ว่า ตนทำให้ขาดอยู่ เป็นแต่เอาเหล็กไช หรือจอบ หรือเสียม แทงเข้าไป ในรูลอมฟาง เพื่อจะเก็บ หรือไฟไหม้มือทิ้งไฟลง ถ้าหญ้าเป็นต้นใน ที่นั้นขาดไปหรือไหม้ไป ไม่เป็นอาบัติ และไม่นิยมว่าไม้ต้นนี้ต้นนั้น เป็นแต่กล่าวว่า ท่านจงตัดต้นไม้ ตัดเถาวัลย์ ก็ดี และกล่าวว่า ท่านจง รู้ดอกไม้นี้ ผลไม้นี้ ท่านจงให้ดอกไม้นี้ ผลไม้นี้ ท่านจงเอากดอกไม้ ผลไม้นี้มา เราต้องการด้วยดอกไม้นี้ ผลไม้นี้ ท่านจงทำดอกไม้นี้ ผลไม้นี้ให้เป็นกัปปิยะ กล่าวดังนี้ก็ดี ไม่เป็นอาบัติ ในสิกขาบทนี้ ในบาลี ภูตคาม ท่านเรียกว่าพีชะ ไม่เรียกพีชคาม ในอรรถกถาสอน ให้ถือเอาเนื้อความว่า ภูตคามที่เกิดแต่พืชมีรากเป็นต้น เรียกว่าพีชะ เหมือนคำว่า สาลีน? โอทโน แปลตามศัพท์ที่มีอยู่ว่า ข้าวสุกแห่งข้าว สาลี แต่สอนให้ถือเอาความว่า สาลิตณฺฑุลาน? โอทโน ว่าข้าวสุก แห่งข้าวสารแห่งข้าวสาลี ชื่อว่า สาลีน? โอทโนว่าข้าวสุกแห่งข้าว สาลี และอาศัยคำในพระสูตรว่า พีชคาม ภูตคาม สมารมฺภา ปฏิวิร โต แปลว่า ภิกษุย่อมเป็นคนเว้นจากความปรารภ คือทำพีชคาม ภูตคามให้กำเริบ แล้วกล่าวว่า พืชมีรากเป็นต้น เกิดอยู่ในที่ ชื่อว่า ภูตคาม พรากให้พ้นจากภูตคามแล้ว ชื่อว่าพีชคาม เป็นวัตถุแห่ง ทุกกฏ พีชคามนั้น เมื่อจะบริโภค พึงให้อนุปสัมบันทำกัปปิยะเสียอีก เพื่อจะให้พ้นจากพีชคาม ก็แลอาการซึ่งจะทำกัปปิยะนั้น จักกล่าว ในเบื้องหน้า สิกขาบทนี้เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๓ เป็นภูตคาม ๑ รู้อยู่ว่าเป็นภูตคาม ๑ ให้กำเริบเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นทำให้กำเริบ ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือน ด้วยปฐวีขณสิกขาบท.

ป?ม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๒ ชื่อ อัญญวาทกะ ความว่า ภิกษุใด ต้องอาบัติ เป็นสาวเศษ เมื่อสงฆ์ซักไซ้ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะแจ้ง ความนั้น พูดจากลบเกลื่อนซัดไปว่า ใครต้อง ๆ อย่างไร ต้องที่ไหน เป็นต้นก็ดี หรือนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบากก็ดี ต้องทุกกฏ ครั้งสงฆ์ยก อัญญวาทกกรรมแล้ว เพราะพูดกลบเกลื่อน หรือยกวิเหสกกรรมแล้ว เพราะเธอนิ่งเสีย ทำให้สงฆ์ลำบาก ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาแล้ว สงฆ์ซักไซ้อีก กล่าวคำกลบเกลื่อนเสีย หรือนิ่งเสีย เป็นปาจิตตีย์ ทำทั้ง ๒ อย่าง เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว.

ทุติย? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๓ ชื่ออุชฌาปนกะ ความว่า ภิกษุชวนภิกษุอื่น ให้ดูถูกซึ่งภิกษุอันสงฆ์สมมติ ให้เป็นผู้ทำการสงฆ์ มีปูอาสนะและแจก ลาภ เป็นต้น หรือติเตียนภิกษุเช่นนั้น ในสำนักภิกษุด้วยกันว่า เธอ ทำด้วยฉันทาคติเป็นต้นดังนี้ ด้วยปรารถนาอวรรณโทษแก่เธอนั้น และเธอนั้นไม่ได้ทำด้วยอคติ ๔ มีฉันทาคติเป็นต้น เธอผู้ติเตียน ต้อง ปาจิตตีย์ ทำทั้ง ๒ อย่าง ต้องปาจิตตีย์ ๒ ตัว ในสมมติกรรม ซึ่งสงฆ์ ทำแก่ภิกษุผู้ทำการสงฆ์นั้นเป็นธรรม เป็นติกกปาจิตตีย์ ในการไม่ เป็นธรรมเป็นติกกทุกกฏ ติเตียนในสำนักอนุปสัมบัน หรือติเตียน กล่าวโทษอนุปสัมบันที่สงฆ์ไม่ได้สมมติ ในสำนักผู้ใดผู้หนึ่ง ก็ดี หรือ ติเตียนอนุปสัมบันที่สงฆ์สมมติก็ตาม ไม่ได้สมมติก็ตาม ทำการสงฆ์ โดยธรรมนั้น ในสำนักแห่งผู้ใดผู้หนึ่งก็ดี เหล่านี้เป็นทุกกฏอย่างเดียว ชวนภิกษุให้ดูหมิ่นหรือติเตียนผู้ทำการสงฆ์อยู่ด้วยอคติ ๔ มีฉันทาคติ เป็นต้น ไม่ชอบธรรมโดยปกติ และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็น อาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๖ ผู้ทำการสงฆ์ ได้สมมติด้วยกรรม เป็นธรรม ๑ ผู้ทำการนั้นเป็นอนุปสัมบัน ๑ ไม่มีความถึงอคติ ๑ ใคร่อวรรณโทษแก่ผู้นั้น ๑ พูดในสำนักผู้ใด ผู้นั้นเป็นอุปสัมบัน ชวนให้ดูหมิ่นหรือติเตียน ๑ พร้อมด้วยองค์ ๖ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วยอทินนาทานสิกขาบท แปลกแต่สิกขา บทนี้ เป็นทุกขเวทนาอย่างเดียว.

ตติย? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๔ ชื่อปฐมเสนาสนะ ความว่า ภิกษุใด แต่งตั้ง ปูลาดเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นแต่งตั้งปูลาด ซึ่งเตียงหรือตั่ง หรือฟูกหนัง ฟูกผ้า หรือเก้าอี้ ในอัชโฌกาส คือที่แจ้ง ในฤดูฝน ๔ เดือน และมณ ฑปที่ฝนรั่วได้และโคนไม้ เป็นที่อยู่เนืองนิตย์แห่งกาและนกตะกรุม เป็นต้น เมื่อจะหลีกไป ไม่รื้อเก็บเอง หรือไม่วานผู้อื่นให้รื้อ เก็บของ นั้นไว้ที่สมควร หรือไม่สั่งเสียมอบหมายแก่ภิกษุและสามเณรและคน รักษาวัดและอุบาสกซึ่งเป็นลัชชี สำคัญประหนึ่งว่าธุระของตัวเหล่านี้ ผู้ใดผู้หนึ่งก่อนและไป ล่วงเลฑฑุบาตที่ตกก้อนดินแห่งมัชฌิมบุรุษ ขว้างแต่เสนาสนะนั้นไป ด้วยเท้าทีแรก เป็นทุกกฏ ด้วยเท้าที่ ๒ เป็นปาจิตตีย์ พระองค์ทรงอนุญาตให้ตั้งและปูเตียงตั่งเป็นต้น ใน ฤดูหนาว ๔ เดือน ฤดูร้อน ๔ เดือน ๘ เดือนนี้สังเกตว่าใช่กาลฝน หรือในมณฑปและโคนไม้ ซึ่งกาและนกตะกรุมไม่ถ่ายเว็จลง ในที่ เหล่านี้ ไม่รื้อเก็บก่อนและไป ไม่มีโทษ ภิกษุตั้งไว้ปูไว้เพื่อผู้อื่น ๆ นั้น ยังไม่มานั่งในที่นั้น หรือยังไม่กล่าวว่าท่านจงไปเถิด ตราบใด ยัง เป็นภาระแก่ผู้ลาดอยู่ตราบนั้น อุปสัมบันนั่งในเตียงตั่งเป็นต้น ที่ตน ตั้งเอง หรือเขาลาดไว้แล้วโดยปกติอันใด ของทั้งปวงนั้นเป็นภาระ แก่ผู้นั่งแท้ ภิกษุยืนอยู่ ณ โรงฉันบังคับว่า ท่านจงไปตั้งไว้ลาดไว้ ในที่อยู่กลางวันชื่อโน้นแล้วจงไปเถิด แล้วเธอผู้บังคับออกจากโรง ฉันนั้นไปเสียในที่อื่น พระวินัยธรพึงปรับอาบัติเธอด้วยยกเท้า ใน เสนาสนะเป็นของสงฆ์ เป็นติกกปาจิตตีย์ ในของบุคคลเป็นติกกทุกกฏ เครื่องลาดรักษาสีพื้น เครื่องลาดบนเตียง เครื่องลาดพื้น เสื่อลำแพน เสื่ออ่อน ท่านหลัง ผ้าเช็ดเท้า ตั่งกระดาน หรือเครื่องไม้ เครื่องดิน โดยที่สุดแม้เครื่องรองทำด้วยใบไม้ เหล่านี้ ภิกษุตั้งไว้ในอัชโฌกาส มีลักษณะดังว่าแล้วไปเสีย เป็นทุกกฏ ก็แลภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อที่ฝนไม่ตก ทับได้ไม่มี และจะเอาของทั้งปวงแขวนต้นไม้ไว้ หรือสัตว์มีปลวก เป็นต้น จะไม่กัดได้อย่างใด แม้จะทำไว้อย่างนั้น แล้วจึงไป ก็ควร ภิกษุผู้ถืออัพโภกาสิกธุดงค์อยู่ที่แจ้ง ก็พึงทำกุฏีด้วยจีวรรักษาเตียงตั่ง ไว้ ในเสนาสนะของตน และของบุคคลผู้คุ้นเคยกันไม่เป็นอาบัติ เก็บเองหรือวานผู้อื่นให้เก็บ หรือบอกกล่าวไว้แล้วจึงไป ก็ดี เอาออก ตาก หรือไปด้วยคิดจะกลับมาเก็บ หรือมีผู้มากางกั้นเสนาสนะนั้นไว้ คือภิกษุผู้แก่มาไล่ให้ลุก อมนุษย์มานั่ง คนเป็นอิสระมาถือเอา สัตว์ร้ายมีราชสีห์เป็นต้น มายืนอยู่ที่นั้น เหล่านี้ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีแล้วไม่ เก็บก็ดี หรือไปเสียเพราะกลัวอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์เป็นต้น ก็ดี และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๖ เตียงตั่งเป็นต้น เป็นของสงฆ์ ๑ ลาดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ลาดในที่มี ลักษณะดังกล่าวแล้ว ๑ ไม่มีสิ่งใดกาลกั้นอยู่ ๑ ไม่มีอันตราย ๑ ไม่เหลียวแลในที่จกลับมาเก็บ ๑ ล่วงเลฑฑุบาตไป ๑ พร้อมด้วย องค์ ๖ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วยปฐมกฐิน สิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้ เป็นกิริยากิริยะ.

จตุตฺถ? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๕ ชื่อทุติยเสนาสนะ ความว่า ภิกษุใด ถือเอา เครื่องปูนอน ๑๐ อย่าง คือ ฟูก ๑ เครื่องลาดรักษาสีพื้น ๑ เครื่อง ลาดบนเตียงตั่งเป็นต้น ๑ เครื่องลาดพื้น ๑ เสื่อใบตาลเป็นต้น ๑ หนังอันใดอันหนึ่ง ๑ ผ้านิสีทนะมีชาย ๑ ปัจจัตถรณะ คือผ้าปาวาร และผ้าโกเชาว์ ๑ เครื่องลาดแล้วด้วยหญ้า ๑ เครื่องลาดแล้วด้วย ใบไม้ ๑ ๑๐ นี้เป็นของสงฆ์ แม้แต่สิ่งหนึ่ง ถือเอาโดยลำดับพรรษา ตนมา ปูลาดเอง หรือให้ผู้อื่นปูลาดในวิหาร คือห้องบังรอบหมด ซึ่งเป็นของสงฆ์ จะหลีกไปสู่ทิศ และตั้งไว้อย่างไร ปลวกจะไม่กัด เป็นต้นได้ ไม่รื้อเก็บเองหรือไม่ให้ผู้อื่นรื้อเก็บ ตั้งไว้อย่างนั้น หรือ ไม่บอกกล่าวมอบหมายผู้ใดผู้หนึ่ง ดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน ล่วง ที่ล้อมอารามออกไป อารามไม่ได้ล้อม ล่วงอุปจารอารามออกไป ใน เท้าที่แรกเป็นทุกกฏ ในเท้าที่ ๒ เป็นปาจิตตีย์ ก็แลในที่ใด ความ รังเกียจด้วยปลวกไม่มี แม้จะไม่บอกกล่าวมอบหมายผู้ใดผู้หนึ่ง แล้ว แลไปจากที่นั้น ควรอยู่ ก็แต่บอกกล่าวมอบหมายเสียนั้นเป็นวัตร ในวิหารเป็นของสงฆ์ เป็นติกกปาจิตตีย์ในของบุคคล เป็นติกกทุกกฏ ปูลาดเองหรือให้ผู้อื่นปูลาดที่นอน ในอุปจารแห่งวิหาร คือที่ใกล้ภาย นอก หรือในโรงฉัน หรือในมณฑปที่บังและไม่ได้บัง หรือในรุกขมูล ที่เป็นที่ประชุมชนมาก อนึ่ง ตั้งเองและใช้ให้ผู้อื่นตั้ง ซึ่งเตียงตั่งใน วิหารและอุปจารแห่งวิหารดังว่าแล้ว ไม่ทำการเก็บเสียเอง เป็นต้น แล้วแลไป เป็นทุกกฏอย่างเดียว ในวิหารเป็นของตน หรือเป็นของ บุคคลผู้คุ้นเคย ไม่เป็นอาบัติ ทำการเก็บเสียเอง เป็นต้น และมีผู้มา กางกั้นดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน ทิ้งเสียไปก็ดี คิดว่าจะมาเก็บใน วันนี้แล้ว ไปยังแม่น้ำหรือละแวกบ้าน คิดว่าจะไปต่อไป หยุดอยู่ ณ ที่นั้น บอกกล่าวมอบหมาย ก็ดี หรือน้ำท่วมและโจรเป็นต้นกางกั้น อยู่ กลับมาไม่ได้ ก็ดี หรือกลัวอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์ ก็ดี และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๗ ที่นอน มีลักษณะดังกล่าวแล้ว ๑ ที่นอนนั้นเป็นของสงฆ์ ๑ ลาดเอง หรือให้ผู้อื่นลาดในวิหารมีลักษณะดังกล่าวแล้ว ๑ ไม่มีผู้กางกั้น ๑ ไม่มีอันตราย ๑ หลีกไปยังทิศไม่คิดจะกลับ ๑ ล่วงอุปจารสีมา ๑ พร้อมด้วยองค์ ๗ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เช่นดังกล่าว แล้วในสิกขาบทเป็นลำดับมาแล.

ป?ฺจม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๖ ชื่อ อนูปขัชชะ ความว่า ภิกษุใด รู้อยู่ว่าภิกษุ ผู้เข้าไปก่อน เป็นคนไม่ควรจะให้ลุก คือ เป็นภิกษุแก่พรรษาและเป็น ภิกษุไข้ และภิกษุที่สงฆ์กำหนดคุณวิเศษ คือเป็นผู้รักษาเรือนคลัง เป็น ธรรมกถึก เป็นวินัยธร เป็นอาจารย์ ผู้บอกคณะ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วสมมติวิหารให้อยู่เป็นนิตย์ ๓ จำพวกนี้ อยู่ในวิหารเป็นของสงฆ์ ชื่อว่าเป็นคนไม่ควรจะให้ลุก เธอรู้อยู่ดังนี้ และปรารถนาจะให้คับแคบ ใจหลีกไปเองแล้ว เอาที่นอนปูลาดเองหรือให้ผู้อื่นปูลาด ในอุปจาร เตียงตั่ง หรือในอุปจารแห่งที่เข้าออก เป็นทุกกฏ ครั้งนั่งหรือนอนลง ในที่นอนนั้น เป็นปาจิตตีย์ ทำทั้ง ๒ อย่าง เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว ทำบ่อย ๆ เป็นปาจิตตีย์นับด้วยประโยค ในวิหารใหญ่โดยรอบเตียงตั่งศอกคืบ ในวิหารเล็กพอตั้งเตียงตั่งได้ ณ ที่ใด แต่ที่นั้นศอกคืบ ชื่อว่าอุปจาร เตียงตั่ง แต่หินเป็นที่ล้างเท้ามาเตียงตั่ง ชื่อว่าอุปจารที่เข้า แต่ เตียงตั่งมาที่ถ่ายปัสสาวะ ชื่อว่าอุปจารที่ออก ในวิหารเป็นของสงฆ์ เป็นติกกปาจิตตีย์ ในของบุคคลเป็นติกกทุกกฏ ลาดเองหรือให้ผู้อื่น ลาดซึ่งที่นอนหรือที่นั่ง และนอนในภายนอกอุปจารดังว่าแล้ว หรือ ในโรงฉันเป็นต้น หรือในอุปจารแห่งกุฎีวิหาร เหล่านี้ เป็นแต่ทุกกฏ ปูลาดนั่งนอนในเสนาสนะเป็นของตน หรือเป็นของคนคุ้นเคย ก็ดี ภิกษุไข้ หรือภิกษุหนาวร้อนเบียดเบียนแล้วเข้าไป ก็ดี หรืออันตรายมี และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ไม่เป็นอาบัติ เป็นอนาณัตติกะ มีองค์ ๔ วิหารที่อยู่เป็นของสงฆ์ ๑ รู้อยู่ว่าผู้อยู่ก่อนไม่ควรจะให้ลุก ๑ ปรารถนา จะให้ภิกษุนั้นคับแคบ ๑ นั่งหรือนอนในอุปจาร ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วยปฐมปาราชิก แปลกแต่สิกขาบทนี้ เป็นทุกขเวทนาอย่างเดียว.

ฉฏฺ?? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๗ ชื่อ นิกกัฑฒนะ ความว่า ภิกษุใด โกรธภิกษุ แล้วฉุดคร่าเอง หรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดคร่าออกจากวิหาร คือกุฎีซึ่งเป็น ของสงฆ์ ให้ล่วงประตูออกไป เป็นปาจิตตีย์ ปราสาทหลายชั้น หรือ เรือนสี่มุขมีซุ้มมาก ในเสนาสนะเช่นนี้ ฉุดคร่าด้วยประโยคอันเดียว ไม่หยุดในระห่าง เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว ฉุดคร่าด้วยประโยคต่าง ๆ หยุดในระหว่าง เป็นปาจิตตีย์นับด้วยประตู แม้ไม่ถูกต้องด้วยมือ ไล่ให้ออกด้วยวาจา ก็อย่างนั้นและบังคับให้ผู้อื่นคร่าออก พอบังคับ เป็นทุกกฏ บังคับคราวเดียว เขาฉุดคร่าให้ล่วงประตูไปแม้มาก เป็น ปาจิตตีย์แก่ผู้บังคับตัวเดียว ถ้าใช้กำหนดว่า จงฉุดคร่าให้พ้นประตู เท่านี้ หรือจงคร่าให้ถึงประตูใหญ่ดังนี้ เป็นปาจิตตีย์นับด้วยประตู ในวิหารเป็นของสงฆ์ เป็นติกกปาจิตตีย์ ในของบุคคลเป็นติกกทุกกฏ และฉุดคร่าภิกษุหรือบริขารแห่งภิกษุ ออกจากอุปจารวิหารมีโรงฉัน เป็นต้น และฉุดคร่าอนุปสัมบัน หรือบริขารแห่งอนุปสัมบัน ออกจาก วิหาร หรืออุปจารแห่งวิหาร เหล่านี้ เป็นแต่ทุกกฏนับตามบริขาร ฉุดคร่าออกจากวิหารของตน หรือของคนผู้คุ้นเคย และฉุดคร่าผู้มัก ทะเลาะ หรือบริขารของผู้มักทะเลาะ แม้ออกจากอารามสงฆ์ทั้งสิ้น ก็ดี หรือฉุดคร่าอลัชชี และภิกษุบ้า และสัทธิวิหาริกอันเตวาสิกผู้ไม่ปฏิบัติ ชอบ หรือฉุดคร่าบริขารของคนเหลานั้น ออกจากที่อยู่ แห่งตน ก็ดี และภิกษุบ้า เป็นต้น เหล่านี้ ไม่เป็นอาบัติ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๓ วิหารเป็นของสงฆ์ ๑ เป็นอุปสัมบันพ้นโทษมีความเป็นคนมักทะเลาะ เป็นต้น ๑ ฉุดคร่าเองหรือให้ผู้อื่นฉุดคร่าอุปสัมบันนั้น ด้วยความ โกรธ ๑ พร้อมด้วยองค์ ๓ นี้ จึงเป็นปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธี เป็นต้น เหมือนด้วยอทินนาทานสิกขาบท แปลกแต่สิกขาบทนี้ เป็นทุกข เวทนา.

สตฺตม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๘ ชื่อ เวหาสกุฎี ความว่า ในวิหารเป็นของสงฆ์ เวหาสกุฎี คือกุฎี ๒ ชั้น หรือ ๓ ชั้น พื้นบนไม่ได้เลียบ ชั้นล่างเป็น ที่บริโภค สูงพอศีรษะมัชฌิมบุรุษไม่กระทบรอด ขื่อ พื้นบน ภิกษุใด นั่งหรือนอนบนเตียงหรือตั่งที่มีเท้าอันจด คือร้อยเข้าในแม่แคร่ไม่ได้ กรึงสลัก ซึ่งเขาตั้งไว้ในเบื้องบน ขื่อ รอด ชั้นบน เป็นปาจิตตีย์ นับด้วยประโยค โดยนัยอันกล่าวแล้วในอนูปขัชชสิกขาบท

อฏฺ?ม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๙ ชื่อ มหัลลกวิหาร ความว่า ภิกษุจะทำเอง หรือ ให้ผู้อื่นทำ หรือซ่อมแปลง ซึ่งวิหารคือกุฎี ทาบวกทั้งข้างนอกข้างใน เบื้องบนเบื้องต่ำด้วยปูนและดิน ซึ่งเป็นวิหารใหญ่คือมีเจ้าของ พึง ทาบวก หรือให้ผู้อื่นทาบวกซ้ำบ่อย ๆ ในที่ ๒ ศอกคืบ โดยรอบเช็ด หน้าประตู เพื่อจะให้ที่ผูกประตูกับทั้งบานแน่นไม่คลอน ด้วยที่นั้น เป็นที่กระทบบานประตูในเวลาเปิดและปิด และพึงทาเองหรือให้ผู้อื่น ทาซ้ำ ซึ่งโอกาสแห่งหน้าต่างกว้างเท่าบานโดยรอบ เพื่อจะทำ บริกรรมหน้าต่างให้มีสีต่าง ๆ พึงมุงหลังคา ด้วยปูน หรือกระเบื้อง หรือ ศิลา หรือหญ้า หรือใบไม้ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มุงเอง ๒ ชั้น ๆ ที่ ๓ พึงใช้ ให้ผู้อื่นมุง ถ้ามุงให้เกิน ๓ ชั้นไปไซร้ เป็นปาจิตตีย์ พึงยืนในที่ ปราศจากของเขียว คือให้พ้นนาไร่ที่เขาเพาะหว่านถั่วเป็นต้น ถ้ายืน ในที่มีของเขียวเช่นนั้น ทำการทาและมุง ต้องทุกกฏ กำหนดที่ยืนดังนี้ คนนั่งอยู่บนอกไก่ หรือยอดแห่งเรือนยอด แลลงมาตามชายคาเห็น คนข้างล่างยืนอยู่ในส่วนพื้นอันใด และคนอยู่ในส่วนพื้นข้างล่างอันใด แลดูขึ้นไปเห็นคนนั่งข้างบนเช่นนั้น พึงยืนในส่วนพื้นเช่นนี้ทำการมุง.

นวม? จบ

            ในสิกขาบทที่ ๑๐ ชื่อสัปปาณกะ ความว่า ภิกษุรู้อยู่ว่าน้ำมี ตัวสัตว์ เอารดหญ้ารดดินเอง หรือให้ผู้อื่นเอารด เป็นปาจิตตีย์ เท ไม่ให้ขาดสาย น้ำหม้อเดียว เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว รดให้ขาด สายน้ำ เป็นปาจิตตีย์นับด้วยประโยค ทำคลองให้ตรงไป น้ำไหล แม้สิ้นวัน ๑ เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น กั้นทำนบนำน้ำไปที่อื่น เป็นอาบัตินับด้วยประโยค ทิ้งหญ้าและใบไม้เป็นต้นแม้มากในน้ำ น้อย สัตว์จะตายตัวทิ้งหญ้าและใบไม้ น้ำแห้งไปนั้น ทิ้งด้วยประโยค อันเดียว เป็นอาบัติตัวเดียว ทิ้งทีละสิ่งเป็นอาบัติ นับด้วยประโยค ใช้ให้รด เป็นทุกกฏด้วยบังคับ ผู้รับบังคับนั้นรดแม้มาก เป็นปาจิตตีย์ ตัวเดียวแก่ผู้บังคับ ในน้ำไม่มีตัวสัตว์ สำคัญว่ามีตัวสัตว์ หรือสงสัย อยู่ในน้ำที่มีตัวสัตว์ และไม่มีตัวสัตว์ เป็นทุกกฏ รดด้วยสำคัญว่าไม่มี ตัวสัตว์ ด้วยไม่แกล้ง หรือไม่มีสติและไม่รู้ และภิกษุบ้าเป็นต้น เหล่านี้ เป็นอนาบัติ เป็นสาณัตติกะ มีองค์ ๔ น้ำมีตัวสัตว์ ๒ รู้อยู่ว่า สัตว์จะตายด้วยการรดเท ๑ น้ำคงจะแห้งไป ๑ รดหญ้าเป็นต้น ด้วยกิจอันหนึ่ง เว้นจากวธกเจตนา ๑ พร้อมด้วยองค์ ๔ นี้ จึงเป็น ปาจิตตีย์ สมุฏฐานวิธีเป็นต้น เหมือนด้วยอทินนาทานสิกขาบท ก็แต่ สิกขาบทนี้ เป็นปัณณัติวัชชะ มีจิต ๓ มีเวทนา ๓.

ทสม? จบ ทุติโย วคฺโค จบวรรคที่ ๒

         

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ