บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑. ปาราชิกกัณฑ์

๒.สัตตรสกัณฑ์

๓.นิสสัคคิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยบาตร
...๒.ว่าด้วยจีวร

๔.ปาจิตติยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยกระเทียม
...๒.ว่าด้วยเวลากลางคืน
...๓.ว่าด้วยเปลือยกาย
...๔.ว่าด้วยการนอนร่วม
...๕.ว่าด้วยอาคารอันวิจิตร>
...๖.ว่าด้วยอาราม
...๗.ว่าด้วยหญิงมีครรภ์
...๘.ว่าด้วยหญิงที่ยังไม่มีสามี
...๙.ว่าด้วยร่มและรองเท้า

๕.ปาฏิเทสนียกัณฑ์

๖.เสขิยกัณฑ์

๗.อธิกรณสมถะ

 

ขยายความ

๑. ปาราชิกกัณฑ์

(ว่าด้วยอาบัติปาราชิก ๘ สิกขาบท)

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑

(ห้ามกำหนัดยินดีการจับต้องของบุรุษ)

              มีเรื่องเล่าว่า นางภิกษุณีชื่อสุนทรีนันทา มีความกำหนัดยินดีการจับต้องการแห่งหลานชายของนางวิสาขา ผู้มีนามว่าสาฬหะ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า

              นางภิกษุณีมีความกำหนัดยินดีการลูบ, การคลำ, การจับ, การต้อง, การบีบ, ของชายผู้มีความกำหนัด เบื้องบนตั้งแต่ใต้รากขวัญลงไป เบื้องต่ำตั้งแต่เข่าขึ้นมา ต้องอาบัติปาราชิก.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒

(ห้ามปกปิดอาบัติปาราชิกของนางภิกษุณีอื่น)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีรู้ว่านางสุนทรีนันทาภิกษุณีมีครรภ์กับสาฬหะมาณพ ก็ไม่โจทท้วงบอกกล่าว. นางสุนทรีนันนทาปกปิดการมีครรภ์ของตน จนครรภ์แก่จึงสึกไปคลอด พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า

              นางภิกษีณีรู้ว่านางภิกษุณีอื่นต้องอาบัติปาราชิก ไม่โจทด้วยตนเอง ไม่บอกแก่หมู่คณะ ต้องอาบัติปาราชิก.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

(ห้ามเข้าพวกภิกษุที่สงฆ์ขับจากหมู่)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีประพฤติตามภิกษุชื่ออริฏฐะผู้ประพฤติไม่ดี สงฆ์จึงสวดประกาศยกเสียจากหมู่ (ไม่ให้ร่วมกินร่วมนอน). พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ความว่า

              นางภิกษุณีประพฤติตามภิกษุที่สงฆ์สวดประกาศยกเสียจากหมู่ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืน ไม่ทำตนให้เป็นสหายกับพระธรรม พระวินัย คำสอนของพระศาสดา. นางภิกษุณีนั้น อันสงฆ์พึงตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือนชี้แจง ถ้าสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติปาราชิก.

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔

(ห้ามเกี่ยวข้องนัดหมาย เป็นต้น กับบุรุษ)

              นางภิกษุณีที่เป็นคณะเดียวกัน ๖ รูป ประพฤติตนไม่สมควร มียินดีการจับมือบ้าง การจับชายสังฆาฏิบ้าง ของบุรุษ ยืนกับบุรุษบ้าง พูดจากับเขาบ้าง นัดหมายกับเขาบ้าง ยินดีการมาตามนัดหมายของเขาบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายให้เขาเพื่อเสพอสัทธรรมบ้าง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาราชิกแก่นางภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนั้น.

              (หมายเหตุ : ปาราชิกอีก ๔ ข้อ คือตั้งแต่ข้อ ๕ ถึงข้อ ๘ อนุโลมตามของภิกษุ


๑. รากขวัญ คือไหปลาร้าหรือหลุมคอ
๒. ภิกษุหรือภิกษุณีที่ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ จะต้องถูกลงโทษ ที่เรียกว่าอุขเขปนียกรรม คือการประกาศไม่ให้ร่วมกินร่วมนอน ไม่ให้เข้าหมู่ เมื่อประพฤติดีแล้ว จึงถอนประกาศนั้น

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ