บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑. ปาราชิกกัณฑ์

๒.สัตตรสกัณฑ์

๓.นิสสัคคิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยบาตร
...๒.ว่าด้วยจีวร

๔.ปาจิตติยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยกระเทียม
...๒.ว่าด้วยเวลากลางคืน
...๓.ว่าด้วยเปลือยกาย
...๔.ว่าด้วยการนอนร่วม
...๕.ว่าด้วยอาคารอันวิจิตร>
...๖.ว่าด้วยอาราม
...๗.ว่าด้วยหญิงมีครรภ์
...๘.ว่าด้วยหญิงที่ยังไม่มีสามี
...๙.ว่าด้วยร่มและรองเท้า

๕.ปาฏิเทสนียกัณฑ์

๖.เสขิยกัณฑ์

๗.อธิกรณสมถะ

 

ปาจิตติยกัณฑ์

(ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)

              (ในเล่มนี้แสดงเฉพาะที่เป็นของนางภิกษุณีแท้ ๆ ๙๖ สิกขาบท ส่วนอีก ๗๐ สิกขาบทนำของภิกษุมาใช้ จึงรวมเป็น ๑๖๖ สิกขาบท ใน ๙๖ สิกขาบทนี้ แบ่งออกเป็น ๙ วรรค วรรคที่ ๑ ถึงวรรคที่ ๗ มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท วรรคที่ ๘ และที่ ๙ วรรคละ ๑๓ สิกขาบท).

ลสุณวรรคที่ ๑
(วรรคว่าด้วยกระเทียม)

สิกขาบทที่ ๑ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉันกระเทียม)

              อุบาสกผู้หนึ่งอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ขอกระเทียมได้ พร้อมทั้งสั่งคนเฝ้าไร่ให้จัดถวาย วันหนึ่งนางภิกษุณีหลายรูปไปขอกระเทียม เผอิญกระเทียมที่บ้านหมด เขาจึงให้ไปเก็บเอาเองที่ไร่. นางถุลลนันทาภิกษุณี ไม่รู้จักประมาณ ใช้คนเก็บไปเสียมากมาย. คนเฝ้าไร่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ฉันกระเทียม. (คงเพื่อป้อนกันไม่ให้ไปเที่ยวขอกระเทียมชาวบ้านอีก).

สิกขาบทที่ ๒ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนำขนในที่แคบออก)

              นางภิำกษุณีไปอาบน้ำเปลือยกายในท่าน้ำอันเดียวกับหญิงแพศยา (โสเภณี) ถูกพวกหญิงแพศยายกโทษติเตียนว่า นำขนในที่แคบออกเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัิติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ให้นำขนในที่แคบออก.

สิกขาบทที่ ๓ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้ฝ่ามือตบกันด้วยความกำหนัด)

              นางภิกษุณี ๒ รูปเกิดความกำหนัด จึงเข้าห้องใช้ฝ่ามือตบ (ตามเนื้อตัวของกันและกัน) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัิตปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๔ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้)

              นางภิกษุณีมีความกำหนัดใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้ใส่ในองค์กำเนิด. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น. (คำว่า ยางไม้ กินความถึงไม้, แป้ง, ดินเหนียว โดยที่สุด แม้ใบบัว-คำอธิบายท้ายสิกขาบท).

สิกขาบทที่ ๕ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามชำระลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว)

              พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้นางภิกษุณีใช้น้ำชำระได้เมื่อปัสสาวะ ภิกษุณีบางรูปใช้น้ำชำระลึกเกินไปทำให้เป็นแผล. จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้น้ำชำระลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว. (เพื่อป้องกันการกระทำด้วยความกำหนัด-คำอธิบายท้ายสิกขาบท)

สิกขาบทที่ ๖ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเข้าไปยืนถือน้ำและพัดในขณะที่ภิกษุกำลังฉัน)

              มหาอำมาตย์ผู้หนึ่งออกบวช ภริยาก็ออกบวชเป็นนางภิกษุณีด้วย เวลาฉัน นางภิกษุณีที่เคยเป็นภริยามายืนถือภาชนะน้ำดื่มและถือพัดปฏิบัติอยู่. ภิกษุที่เคยเป็นสามีเห็นไม่เหมาะจึงห้ามปราม นางโกรธจึงเอาภาชนะน้ำคว่ำลงไปบนศีรษะและเอาพัดตีภิกษุนั้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เข้าไปยืนถือภาชนะน้ำและพัดเมื่อภิกษุกำลังฉัน.

สิกขาบทที่ ๗ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทำการหลายอย่างกับข้าวเปลือกดิบ)

              นางภิกษุณีไปขอข้าวเปลือกดิบได้มา แต่ถูกแย่งชิงที่ประตูเมือง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ขอเอง, ใช้ให้ขอ, ฝัดเอง, ใช้ให้ฝัด, ตำเอง, ใช้ให้ตำ ซึ่งข้าวเปลือกดิบ. หุงต้มเอง ใช้ให้หุงต้ม ฉันข้าวนั้น. (คือฉันข้าวที่ตนทำ หรือใช้ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับข้าวเปลือกดิบนั้น ต้องอาบัติ).

สิกขาบทที่ ๘ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทิ้งของนอกฝานอกกำแพง)

              นางภิกษุณีถ่ายอุจจาระใส่ภาชนะ เทลงไปนอกฝา ตกใส่ศีรษะของพราหมณ์คนหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทิ้ง หรือใช้ให้ทิ้งอุจจาระ, ปัสสาวะ, ขยะ, หรือของที่เป็นเดน นอกฝาหรือนอกกำแพง.

สิกขาบทที่ ๙ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามทิ้งของเช่นนั้นลงบนของเขียวสด)

              นางภิกษุณีทิ้งอุจจาระ เป็นต้น ลงในนาของพราหมณ์ผู้หนึ่ง พราหมณ์ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่ทิ้ง หรือใช้ให้ทิ้งอุจจาระ, ปัสสาวะ, หรือของที่เป็นเดน ในของเขียวสด.

สิกขาบทที่ ๑๐ ลสุณวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามไปดูฟ้นอรำขับร้อง)

              มีงานมหรสพบนยอดเขากรุงราชคฤห์ นางภิกษุณีไปดู มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณผู้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง การบรรเลง.


๑. คำว่า ที่แคบ หมายถึงรักแร้ทั้งสองและองค์กำเนิด
๒. มีคำอธิบายท้ายสิกขาบทว่า เมื่อกำหนัดยินดีสัมผัส แม้ใช้ใบบัวตีที่องค์กำเนิด ต้องปาจิตตีย์

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ