บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑. ปาราชิกกัณฑ์

๒.สัตตรสกัณฑ์

๓.นิสสัคคิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยบาตร
...๒.ว่าด้วยจีวร

๔.ปาจิตติยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยกระเทียม
...๒.ว่าด้วยเวลากลางคืน
...๓.ว่าด้วยเปลือยกาย
...๔.ว่าด้วยการนอนร่วม
...๕.ว่าด้วยอาคารอันวิจิตร>
...๖.ว่าด้วยอาราม
...๗.ว่าด้วยหญิงมีครรภ์
...๘.ว่าด้วยหญิงที่ยังไม่มีสามี
...๙.ว่าด้วยร่มและรองเท้า

๕.ปาฏิเทสนียกัณฑ์

๖.เสขิยกัณฑ์

๗.อธิกรณสมถะ

 

จิตตาคารวรรคที่ ๕
(วรรคว่าด้วยอาคารอันวิจิตร )

สิกขาบทที่ ๑ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามไปดูพระราชวังและอาคารอันวิจิตร เป็นต้น)

              มนุษย์ทั้งหลายพากันไปดูอาคารอันวิจิตร (ด้วยลวดลาย) ในอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล นางภิกษุณีพวก ๖ ก็พากันไปดูบ้าง. มีผู้ติเตียนว่าทำตนเหมือนคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ไปดูพระราชวังก็ตาม, อาคารอันวิจิตรก็ตาม, ป่าก็ตาม, สวนก็ตาม, สระน้ำก็ตาม.

สิกขาบทที่ ๒ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้อาสันทิและบัลลังก์)

              นางภิำกษุณีใช้อาสันทิ (ม้ายาว) บ้าง บัลลังก์ (เก้าอี้นวมบุด้วยขนสัตว์) บ้าง มีผู้ติเตียนว่า ใช้ของอย่างคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้อาสันทิและบัลลังก์. (อาสันทิ ตัดเท้าออก, บัลลังก์ รื้อนวมขนสัตว์ออก ใช้ได้ ไม่เป็นอาบัติ).

สิกขาบทที่ ๓ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามกรอด้าย)

              นางภิกษุณีพวก ๖ กรอด้าย มีผู้ติเตียนว่า ทำการเหมือนคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้กรอด้าย.

สิกขาบทที่ ๔ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรับใช้คฤหัสถ์)

              นางภิกษุณีทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์ (รับใช้). มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้รับใช้คฤหัสถ์ (เช่น หุงข้าว หรือซักผ้าให้เขา).

สิกขาบทที่ ๕ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามรับปากแล้วไม่ระงับอธิกรณ์)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีรับปากว่าจะระงับอธิกรณ์แล้วไม่ระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อให้ระงับ. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้นในเมื่อไม่มีเหตุขัดข้อง.

สิกขาบทที่ ๖ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้ของกินแก่คฤหัสถ์ เป็นต้น ด้วยมือ)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีให้ของเคี้ยวขอบริโภคด้วยมือของตนแก่นักแสดงละครบ้าง, นักฟ้อนบ้าง, นักกระโดดบ้าง, นักเล่นกลบ้าง, นักเล่นกลองบ้าง เพื่อให้เขาสรรเสริญตนในที่ชุมนุมชน. พวกนั้นก็พากันสรรเสริญต่าง ๆ. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณี ผู้ให้ข้องเคี้ยวของบริโภคด้วยมือของตนแก่คฤหัสถ์ก็ตาม แก่นักบวชชายก็ตาม หญิงก็ตาม.

สิกขาบทที่ ๗ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้ผ้านุ่งสำหรับผู้มีประจำเดือนเกิน ๓ วัน)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีใช้ผ้านุ่งสำหรับผู้มีประจำเดือนแล้วไม่สละ (คือไม่ซักแล้วเฉลี่ยให้ผู้อื่นใช้บ้าง). นางภิกษุณีที่มีประจำเดือนก็ไม่ได้ใช้ มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ใช้สำหรับผู้มีประจำเดือนครบ ๓ วันแล้วไม่สละ (มีความจำเป็น เช่น ผ้าอื่นถูกโจรลักไปหรือหายเสีย หรือไม่มีภิกษุณีผู้มีประจำเดือน ไม่เป็นอาบัติ).

สิกขาบทที่ ๘ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามครอบครองที่อยู่เป็นการประจำ)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีไม่สละที่อยู่ หลีกไปสู่ที่จาริก. ที่อยู่ถูกไฟไหม้. ไม่มีใครกล้าช่วยขนของออก ด้วยเกรงว่าจะถูกหาว่าทำให้ของหาย. นางถุลลนันทาภิกษุณีกลับมาถาม ทราบความ กลับยกโทษติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ไม่สละที่อยู่ หลีกไปสู่ที่จากริก. (เมื่อจะเดินทางไปที่อื่น ต้องมอบที่อยู่ให้นางภิกษุณีหรือนางสิกขมานา หรือนางสามเณรี).

สิกขาบทที่ ๙ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเรียนติรัจฉานวิชชา)

              นางภิกษุณีพวก ๖ เรียนติรัจฉานวิชชา (วิชาภายนอกที่ไม่มีประโยชน์) มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เรียนติรัจแนวิชชา.

สิกขาบทที่ ๑๐ จิตตาคารวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามสอนติรัจฉานวิชชา)

              นางภิกษุณีพวก ๖ สอนติรัจฉานวิชชา มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้สอนติรัจฉานวิชชา.


๑. คำว่า จิตตาคาร หรืออาคารอันวิจิตรนี้ ฝรั่งมีความเห็นว่า ควรแปลว่า อาคารที่แสดดงจิตรกรรม (Picture Gallery). คำอธิบายท้ายสิกขาบทว่า เป็นที่เล่นที่รื่นรมย์ของมนุษย์ทั้งหลาย
๒. ในสมัยนั้นผ้าหายาก จึงมีผู้ถวายไว้เป็นของกลาง สำหรับใช้เฉพาะผู้มีประจำเดือน เมื่อใช้แล้วต้องซักทำความสะอาด แล้วให้ผู้อื่นใช้บ้าง

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ