บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑. ปาราชิกกัณฑ์

๒.สัตตรสกัณฑ์

๓.นิสสัคคิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยบาตร
...๒.ว่าด้วยจีวร

๔.ปาจิตติยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยกระเทียม
...๒.ว่าด้วยเวลากลางคืน
...๓.ว่าด้วยเปลือยกาย
...๔.ว่าด้วยการนอนร่วม
...๕.ว่าด้วยอาคารอันวิจิตร>
...๖.ว่าด้วยอาราม
...๗.ว่าด้วยหญิงมีครรภ์
...๘.ว่าด้วยหญิงที่ยังไม่มีสามี
...๙.ว่าด้วยร่มและรองเท้า

๕.ปาฏิเทสนียกัณฑ์

๖.เสขิยกัณฑ์

๗.อธิกรณสมถะ

 

คัพภินีวรรคที่ ๗
(วรรคว่าด้วยหญิงมีครรภ์)

สิกขาบทที่ ๑ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่หญิงมีครรภ์)

              นางภิกษุณีให้หญิงมีครรภ์บวช. นางออกบิณฑบาต. มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า จงถวายภิกษาแก่นางเถิด เพราะนางมีครรภ์ มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้หญิงมีครรภ์บวช ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๒ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนม)

              นางภิำกษุณีให้หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนมบวช. นางออกบิณฑบาต. มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า จงถวายภิกษาแก่นางเถิด เพราะนางมีคนที่สอง. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนมบวช ต้องปาจิตตีย์. (หญิงเช่นนี้ หมายรวมทั้งผู้เป็นมารดาและแม่นม).

สิกขาบทที่ ๓ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาซึ่งศึกษายังไม่ครบ ๒ ปี)

              นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง ครบ ๒ ปี. นางก็เป็นผู้เขลาไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอธิบายวิธีที่นางสิกขมานาจะขอสิกขาสมมติ (การสวดประกาศให้การศึกษา) จากภิกษุณีสงฆ์ และการสวดสมมติของภิกษุณีสงฆ์ ตลอดจนการเปล่งวาจาสมาทานและการไม่ประพฤติล่วงธรรม ๖ ข้อ. ครั้นแล้วได้ทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาที่ยังมิได้ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง ครบ ๒ ปี ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๔ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาที่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ)

              นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาที่ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงวิธีที่นางสิกขมานาผู้ศึกษาครบ ๒ ปีแล้ว จะพึงเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์เพื่อขอวุฏฐานสมมติ (การสวดประกาศให้ความเห็นชอบที่จะอุปสมบทได้) แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้บวชแก่นางสิกขมานาที่ศึกษาในธรรม ๖ อย่าง ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๕ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒)

              นางภิกษุณีให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒ ขวบ นางไม่อดทนต่อหนาว, ร้อน, หิว, ระหาย, เหลือบ, ยุง, ลม, แดด, สัตว์เสือกคลาน, คำพูดล่วงเกินและเวทนากล้า. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒ ขวบ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๖ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นอายุครบ ๑๒ แล้ว แต่ยังมิได้ศึกษา ๒ ปี)

สิกขาบทที่ ๗ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นที่ศึกษา ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ)

              สองสิกขาบทนี้ มีข้อความคล้ายสิกขาบทที่ ๓ และสิกขาบทที่ ๔ คือจะต้องขอสิกขาสมมติ และขอวุฏฐานสมมติจากนางภิกษุณีสงฆ์ จึงจะให้บวชได้ ถ้าให้บวชผู้ยังมีคุณสมบัติไม่สมบูรณ์ ต้องปาจิตตีย์.

สิกขาบทที่ ๘ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเพิกเฉยไม่อนุเคราะห์ศิษย์ที่บวชแล้ว)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีให้สหชีวินี (สัทธิวิหาริก คือผู้เป็นศิษย์ที่อุปัชฌายะ หรือปวัตตินี บวชให้) บวชแล้วมิได้สงเคราะห์เอง หรือให้ผู้อื่นสงเคราะห์ (ด้วยการสอนธรรม, การสอบถาม, การให้โอวาท, การพร่ำสอน) ตลอดเวลา ๒ ปี. นางจึงเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌายะ (ปวัตตินี) ผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๙ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนางภิกษุณีแยกจากอุปัชฌายะ คือไม่ติดตามครบ ๒ ปี)

              นางภิกษุณีทั้งหลายมิได้ติดตาม ปวัตตินี (อุปัชฌายะ) ผู้บวชให้ตนตลอด ๒ ปี จึงเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร. มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่นางภิกษุณีผู้เป็นสหชีวินี (สัทธิวิหาริก) ผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๑๐ คัพภินีวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเพิกเฉยไม่พาศิษย์ไปที่อื่น)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีให้สหชีวินี (สัทธิวิหาริก) บวชแล้ว มิได้พาไปที่อื่น มิได้ใช้ให้พาไปที่อื่น สามี (ของนางภิกษุณีนั้น) รับตัวไป (คือพาให้สึกไป). มีผู้ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า นางภิกษุณีให้สหชีวินีบวชแล้ว ไม่พาไปที่อื่น โดยที่สุดแม้เพียง ๕-๖ โยชน์ ต้องปาจิตตีย์.


๑. ธรรม ๖ อย่าง คือศีล ๕ กับเว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิการ. อนึ่ง เฉพาะศีลที่ ๓ เว้นจากการประพฤติล่วงพรหมจรรย์
๒. คำว่า ไม่ติดตามนี้ คำท้ายสิกขาบท หมายถึงไม่รับใช้. พึงสังเกตว่า นางภิกษุณีบวชแล้ว จะต้องติดตามรับใช้อุปัชฌายะ เพื่อได้ศึกษา เพื่ออยู่ในปกครอง ๒ ปี แต่ภิกษุต้องถือนิสสัย คืออยู่ในปกครองของอุปัชฌายะหรืออาจารย์ ๕ ปี

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ