บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑. ปาราชิกกัณฑ์

๒.สัตตรสกัณฑ์

๓.นิสสัคคิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยบาตร
...๒.ว่าด้วยจีวร

๔.ปาจิตติยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยกระเทียม
...๒.ว่าด้วยเวลากลางคืน
...๓.ว่าด้วยเปลือยกาย
...๔.ว่าด้วยการนอนร่วม
...๕.ว่าด้วยอาคารอันวิจิตร>
...๖.ว่าด้วยอาราม
...๗.ว่าด้วยหญิงมีครรภ์
...๘.ว่าด้วยหญิงที่ยังไม่มีสามี
...๙.ว่าด้วยร่มและรองเท้า

๕.ปาฏิเทสนียกัณฑ์

๖.เสขิยกัณฑ์

๗.อธิกรณสมถะ

 

ตุวัฏฏวรรคที่ ๔
(วรรคว่าด้วยการนอนร่วมกัน)

สิกขาบทที่ ๑ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามนอนบนเตียงเดียวกันสองรูป)

              นางภิกษุณีสองรูปนอนร่วมกันบนเตียงเดียวกัน พวกมนุษย์พากันติเตียนว่าทำเหมือนคฤหัสถ์. พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่นอนบนเตียงเดียวกันสองรูป.

สิกขาบทที่ ๒ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามใช้เครื่องปูลาดและผ้าห่มร่วมกันสองรูป)

              นางภิำกษุณีสองรูปนอนร่วมกัน ใช้เครื่องปูลาดและห่มผืนเดียวกัน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๓ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามแกล้งก่อความรำคาญแก่นางภิกษุณี)

              มนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญนางภัททากาปิลานีภิกษุณีด้วยประการต่าง ๆ. นางถุลลนันทาภิกษุณีริษยา จึงเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมา) บ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง สอนธรรมบ้าง ใช้ให้สอนบ้าง ทำการท่องบ่นบ้าง เบื้องหน้า นางภัททากาปิลานี (เพื่อก่อความรำคาญให้). พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้แกล้งก่อความรำคาญแก่นางภิกษุณี.

สิกขาบทที่ ๔ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเพิกเฉยเมื่อศิษย์ไม่สบาย)

              นางถุลลนันทาภิกษุณีไม่พยาบาลเอง ไม่ขวนขวายเพื่อให้ผู้อื่นพยาบาลสหชีวินี (คือนางภิกษุณีที่ตนเป็นอุปัชฌายะ บวชให้) ผู้เป็นไข้ เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๕ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามฉุดคร่านางภิกษุณีออกจากที่อยู่)

              นางถุลลนันทาภิกษุณี ให้ที่อยู่แก่นางภัททากาปิลานีภิกษุณีแล้ว ภายหลังมีจิตริษยา โกรธเคืองฉุดคร่านางภัททากาปิลานี จากที่อยู่ เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ให้ที่อยู่แก่นางภิกษุณีแล้ว โกรธเคือง ฉุดคร่าเองหรือใช้ให้ฉุดคร่าออกไป.

สิกขาบทที่ ๖ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามคลุกคลีกัลคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี)

              นางจัณฑกาลีภิกษุณีคลุกคลีกับคฤหบดีบ้าง บุตรคฤหบดีบ้าง เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีที่คลุกคลีกับคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เป็นผู้อันนางภิกษุณีทั้งหลายตักเตือนแล้ว ไม่ฟัง ภิกษุณีสงฆ์สวดประกาศให้ละเลิก ครบ ๓ ครั้ง แล้วก็ยังไม่ละเลิก.

สิกขาบทที่ ๗ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเดินทางเปลี่ยวตามลำพัง)

              นางภิกษุณีเดินทางเปลี่ยว มีภัยเฉพาะหน้า ภายในแว่นแคว้น โดยมิได้ไปกับหมู่เกวียน ถูกพวกนักเลงประทุษร้าย เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้เดินทางเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๘ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเดินทางเช่นนั้นนอกแว่นแคว้น)

              ความในสิกขาบทนี้เหมือนกับสิกขาบทที่ ๗ ต่างแต่ห้ามเดินทางเช่นนั้นนอกแว่นแคว้น คือออกนอกรัฏฐะ (เช่น จากแคว้นกาสีไปสู่แคว้นมคธ).

สิกขาบทที่ ๙ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามเดินทางภายในพรรษา)

              นางภิกษุณีเดินทางภายในพรรษา เป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น.

สิกขาบทที่ ๑๐ ตุวัฏฏวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

(ห้ามอยู่ประจำที่เมื่อจำพรรษาแล้ว)

              นางภิกษุณีอยู่จำพรรษในกรุงราชคฤห์. ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ก็คงอยู่ประจำในที่นั้นเป็นที่ติเตียน. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่นางภิกษุณีผู้จำพรรษาแล้วไม่หลีกไปสู่ที่จาริก แม้สิ้นระยะทาง ๕-๖ โยชน์.

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ