บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ  



๑. ปาราชิกกัณฑ์

๒.สัตตรสกัณฑ์

๓.นิสสัคคิยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยบาตร
...๒.ว่าด้วยจีวร

๔.ปาจิตติยกัณฑ์
...๑.ว่าด้วยกระเทียม
...๒.ว่าด้วยเวลากลางคืน
...๓.ว่าด้วยเปลือยกาย
...๔.ว่าด้วยการนอนร่วม
...๕.ว่าด้วยอาคารอันวิจิตร>
...๖.ว่าด้วยอาราม
...๗.ว่าด้วยหญิงมีครรภ์
...๘.ว่าด้วยหญิงที่ยังไม่มีสามี
...๙.ว่าด้วยร่มและรองเท้า

๕.ปาฏิเทสนียกัณฑ์

๖.เสขิยกัณฑ์

๗.อธิกรณสมถะ

 

เล่มที่ ๓ ชื่อภิกขุนีวิภังค์ (เป็นวินัยปิฎก)

              ในเล่ม ๑ และ ๒ แห่งบาลีวินัยปิฎก ซึ่งย่อมาแล้ว ว่าด้วยศีลของภิกษุ ซึ่งมีอยู่ ๒๒๗ ข้อ อันจะต้องสวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน บัดนี้จึงมาถึงบาลีวินัยปิฎก เล่ม ๓ ซึ่งชื่อว่าภิกขุนีวิภังค์ อันแปลว่า ข้อแจกแจงอันเกี่ยวด้วยนางภิกษุณี พูดง่าย ๆ ก็คือ แสดงถึงศีล ๓๑๑ ข้อของนางภิกษุณี ซึ่งจะต้องสวดในที่ประชุมภิกษุณีสงฆ์ทุกกึ่งเดือนเช่นเดียวกับภิกษุสงฆ์.

              ในศีล ๓๑๑ ของนางภิกษุณีนั้น เป็นของนางภิกษุณีแท้ ๆ เพียง ๑๓๐ ข้อ ส่วนอีก ๑๘๑ ข้อ นำมาจากศีล ๒๒๗ ของภิกษุ เหตุที่นำมา ๑๘๑ ข้อ ก็เพราะได้เลือกเฉพาะที่ใช้กันได้ทั้งภิกษุและภิกษุณี อันใดที่เป็นของเฉพาะภิกษุแท้ ก็ไม่นำมาใช้สำหรับนางภิกษุณี.

              บาลีวินัยปิฎก เล่ม ๓ ที่ชื่อว่าภิกขุนีวิภังค์นี้ แบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ ๗ หัวข้อ คือ

              ๑. ปาราชิกกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาราชิก คืออาบัติที่ต้องเข้าแล้ว ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุณี อาบัติปราชิกของนางภิกษุณีมี ๘ แต่แสดงไว้ในที่นี้เพียง ๔ ส่วน อีก ๔ ข้อ อนุโลมตามของภิกษุ.

              ๒. สัตตรสกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ๑๗ ข้อ (สัตตรส แปลว่า ๑๗) อาบัติสังฆาทิเสสนั้นต้องเข้าแล้ว ต้องประพฤติมานัตต์ ๑๕ วัน (คือ ๑ ปักษ์) ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ พูดง่าย ๆ ก็คือ ต้องประจานตัวเองแก่สงฆ์ทั้งสองฝ่าย และตลอดเวลา ๑๕ วันนั้น ต้องเสียสิทธิหลายอย่าง อาบัติสังฆาทิเสสสำหรับภิกษุมี ๑๓ ข้อ ใช้ได้แก่นางภิกษุณีเพียง ๗ ข้อ เป็นของนางภิษุณีแท้ ๆ ที่แสดงไว้ในบาลีวินัยปิฎก เล่ม ๓ นี้เพียง ๑๐ ข้อ.

              ๓. นิสสัคคิยกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ที่ต้องสละสิ่งของ เรียกเต็มว่า อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ เท่ากับของภิกษุ แต่ของภิกษุมาใช้เพียง ๑๘ ข้อ อีก ๑๒ ข้อที่แสดงไว้ในที่นี้ เป็นของนางภิกษุณีโดยตรง.

              ๔. ปาจิตติยกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ตามปกติ ที่ไม่ต้องสละสิ่งของ รวม ๑๖๖ ข้อ ในจำนวนนี้ ที่แสดงไว้ในที่นี้อันเป็นของนางภิกษุณีโดยตรงมี ๙๖ ข้อ นำของภิกษุมาใช้ ๗๐ ข้อ (๙๖+๗๐ = ๑๖๖) อาบัติปาจิตตีย์ของภิกษุมี ๙๒ ข้อ.

              ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ ว่าด้วยอาบัตปกฏิเทสนียะ คืออาบัติที่ควรแสดงคืน รวม ๘ ข้อ ซึ่งไม่ซ้ำกับของภิกษุเลย อาบัติปกฏิเทสนียะของภิกษุมี ๔ ข้อ มีที่น่าสังเกตก็คือ อาบัตินี้ของนางภิกษุณี เนื่องด้วยการขอของบริโภคทั้งแปดข้อ.

              ๖. เสขิยกัณฑ์ ว่าด้วยระเบียบมารยาทที่ต้องศึกษา รวม ๗๕ ข้อ เป็นการนำของภิกษุมาใช้ทั้ง ๗๕ เป็นแต่ว่าในที่นี้ได้แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในเรื่องนุ่งห่มไม่เรียบร้อย กับเรื่องถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ และบ้วนเขฬะ (น้ำลาย) ลงในน้ำ ซึ่งก็มีที่ห้ามอยู่แล้วในเสขิยวัตร ๗๕ ของภิกษุ.

              ๗. อธิกรณสมถะ วิธีระงับอธิกรณ์ คงมี ๗ ข้ออย่างเดียวกับของภิกษุ.


๑. คำว่า บาลีวินัยปิฎก หมายถึงวินัยปิฎก ฉบับภาษาบาลี. อนึ่ง คำว่า ภิกขุนี เป็นภาษาบาลี ภิกษุณีเป็นภาษาสันสกฤต
๒. อาบัติปาจิตตีย์ แปลว่า การละเมิดที่ยังกุศลคือความดีให้ตก

บทนำ   ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก  เอกสารทางประวัติศาสตร์   ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก   พระวินัยปิฎก  

พระสุตตันตปิฎก   พระอภิธรรมปิฎก   พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม   ชาดก  คำค้นหาพระไตรปิฎก  ธรรมปฏิบัติ